posttoday

ภาคประชาสังคมฯเปิดตัวหนังสือ "หลัง รอย ยิ้ม" สะท้อนปัญหาชายแดนใต้

12 มีนาคม 2560

เครือข่ายภาคประชาสังคมเปิดตัวหนังสือ "หลัง รอย ยิ้ม" สะท้อนประเด็นปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นภายในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้

เครือข่ายภาคประชาสังคมเปิดตัวหนังสือ "หลัง รอย ยิ้ม" สะท้อนประเด็นปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นภายในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้

เครือข่ายผู้หญิงภาคประชาสังคมเพื่อสันติภาพชายแดนใต้ และองค์กรภาคี ร่วมกับสำนักสันติวิธีและธรรมาภิบาล สถาบันพระปกเกล้า จัดกิจกรรมเปิดตัวหนังสือ “หลัง รอย ยิ้ม” เรื่องเล่าพลิกฟื้นตัวตนและชุมชนชายแดนใต้ และวันสตรีสากล ภายในงานมีการจัดเวทีสานเสวนา “หลัง รอย ยิ้ม” เพื่อบอกเล่าเรื่องราวประเด็นปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นภายในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ 

นางเตือนใจ ดีเทศน์ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ กล่าวว่า สิ่งที่เราได้ยินได้ฟังกับสิ่งที่เกิดขึ้นภายในหนังสือ “หลัง รอย ยิ้ม” ที่ถูกเขียนขึ้นโดยผู้ที่ผ่านสถานการณ์จริงไม่เหมือนกัน ซึ่งในขณะที่ตนได้รำรงตำแหน่งคณะกรรมาธิการวิสามัญวุฒิสภาในอดีต ตนได้ติดตามสถานการณ์มานับตั้งแต่คดีปล้นปืน จนถึงกรณีการเสียชีวิตของครูจูหลิงทำให้พื้นที่เปลี่ยนไป สังคมภายนอกเกิดการตัดสินว่าพื้นที่นั้นคือพิ้นที่อันตรายต่อชาวไทยพุทธ ตนได้หาโอกาสพูดคุยกับคนในพื้นที่แต่ก็เป็นไปโดยลำบากเนื่องจากผู้คนในพื้นที่หวาดระแวงบุคคลภายนอก ในขณะเดียวกันเองบุคคลภายนอกก็หวาดระแวงคนในพื้นที่ด้วย เพราะขาดหน่วยงานกลางที่สร้างความน่าเชื่อให้แต่ละฝ่ายทั้งคนนอกและคนในพื้นที่

นางคอลิเยาะ มะลี ตัวแทนผู้ได้รับผลกระทบจากคดีความมั่นคง เปิดเผยถึงกรณีการจัดเวทีสานเสวนาในพื้นที่ว่า ที่ผ่านมาหลังจากตนผ่านเวทีสานเสวนาแล้ว ได้มีความรู้ความเข้าใจสามารถที่แก้ไขปัญหาได้ ที่ผ่านมาคนรอบตัวนั้นได้รับผลกระทบจากคดีความมั่นคงทั้งพี่ชาย สามี และผู้คนส่วนมากในหมู่บ้าน ภายหลังการเข้าร่วมเวทีสานเสวนาในชุมชนทำให้ตนสามารถเป็นกระบอกเสียงให้คนในชุมชน และยังสามารถทำให้สมาชิกชุมชนมีความกล้าที่จะพูดคุยกับเจ้าหน้าที่รัฐ โดยที่ผ่านมาคนในชุมชนไม่มีใครกล้าที่จะเจรจากับเจ้าหน้าที่รัฐ

ด้านนางละออ พรหมจินดา ตัวแทนชาวไทยพุทธที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความรุนแรง กล่าวว่า พื้นที่ดังกล่าวไม่ได้เกิดขึ้นเพราะความขัดแย้งทางศาสนา โดยปกติแล้วชาวไทยพุทธกับชาวไทยมุสลิมก็มีความรักและแน่นแฟ้นกันดีแม้ว่าจะมีจำนวนของชาวไทยพุทธที่น้องกว่า สิ่งที่สำคัญคือทั้ง 2 ศาสนาไม่มีส่วนเกี่ยวข้องที่ทำให้เกิดเหตุการณ์ความรุนาแรงในพื้นที่ ตนไม่ทราบว่าเหตุการณ์อะไรที่ทำให้พื้นที่เกิดความแตกแยกและความรุนแรงของคนทั้ง 2 ศาสนา

ในขณะที่พล.ต.ชวลิต เรียนแจ้ง อดีตผู้อำนวยการบังคับใช้กฎหมายและสิทธิมนุษยชน กอ.รมน.ภาค4 เผยว่า การแก้ไขปัญหาชายแดนภาคใต้มีการใช้นโยบายทั้งการเมืองและการทหาร โดยการสัดเวทีสานเสวนาในบุมชนมีส่วนช่วยให้ประชาชนและเจ้าหน้าที่รัฐมีความเข้าใจมากขึ้น อีกทั้งยังลดความหวาดระแวงของเจ้าหน้าที่และประชาชน ส่วนนโยบายการเมืองและการทหารนำมาใช้เพื่อคลี่คลายปัญหาและเงื่อนไขในอดีต

พล.ต.ชวลิต เผยอีกว่า พื้นที่บริเวณ 3 จังหวัดชายแดนใต้ถูกกำกับดูแลโดยกฎหมายพิเศษ 3 ฉบับ ประกอบด้วย พระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.)กฎอัยการศึก พ.ศ.2547 พระราชกฤษฎีกา(พ.ร.ก.)ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 และพ.ร.บ.ความมั่นคง พ.ศ.2551 เพื่อระงับเหตุการณ์ความรุนแรงและก่อให้เกิดความรวดเร็วในการคลี่คลายสถานการ เพราะกฎหมายพิเศษทั้ง 3 ฉบับนี้ใช้ได้โดยไม่ต้องผ่านกระบวนการของศาลอันจะก่อให้เกิดความล่าช้า

ภาคประชาสังคมฯเปิดตัวหนังสือ "หลัง รอย ยิ้ม" สะท้อนปัญหาชายแดนใต้