posttoday

ลิฟท์เทคนิคตรังติดค้างนศ.เจ็บเพียบ

05 กรกฎาคม 2553

ลิฟท์ในอาคารวิทยาลัยเทคนิคตรังเกิดติดค้าง ขณะที่นักศึกษาเกือบ 20 คนเข้าไปใช้บริการ ทำให้เกิดอุบัติเหตุบาดเจ็บจำนวนมาก นายปรีชา ทวีชาติ ผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคนิคตรัง ได้รับแจ้งจากอาจารย์ว่า มีเหตุนักศึกษาติดค้างอยู่ในลิฟท์ ของอาคารสำนักงานวิทยาลัย จำนวน 18 คน ซึ่งหลังจากนั้นได้เกิดเหตุวุ่นวายขึ้นอย่างหนัก เนื่องจากนักศึกษาทั้งหมดพยายามเบียดเสียดกันออกมาจากลิฟท์ โดยทุกคนอยู่ในอาการหวาดกลัวและตกใจกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น บางคนปวดศรีษะ หน้ามืด ตาลาย และเป็นลมหมดสติไป 1 คน เจ้าหน้าที่ต้องช่วยกันงัดแงะประตูลิฟท์อยู่นานกว่าครึ่งชั่วโมง ก่อนที่จะช่วยนักศึกษาทั้งหมดนำส่งโรงพยาบาลตรัง   น.ส.หนึ่งฤดี พลเพ็ชนะ นักเรียนชั้น ปวช. 1 สาขาการโรงแรม เล่าว่า นักศึกษาทั้ง 18 คนได้เรียนวิชาศิลปะและวัฒนธรรมไทยเสร็จ ขณะกำลังจะเดินทางเพื่อกลับบ้าน และได้ใช้ลิฟท์เพื่อลงมายังชั้น 1 แต่เมื่อขึ้นลิฟท์ปรากฏว่า ได้ยินเสียงเหมือนมีอะไรขาด ทำให้ลิฟท์ตกลงมาจากชั้น 3 และมาค้างอยู่ระหว่างชั้น 1 กับชั้นใต้ดิน ซึ่งทำให้ประตูเปิดไม่ออก จึงได้กดสัญญาณฉุกเฉินหลายครั้ง จากนั้นทุกคนช่วยกันตะโกนร้องขอความช่วยเหลือ รวมถึงทุบและงัดประตูลิฟ

ลิฟท์ในอาคารวิทยาลัยเทคนิคตรังเกิดติดค้าง ขณะที่นักศึกษาเกือบ 20 คนเข้าไปใช้บริการ ทำให้เกิดอุบัติเหตุบาดเจ็บจำนวนมาก
 
นายปรีชา ทวีชาติ ผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคนิคตรัง ได้รับแจ้งจากอาจารย์ว่า มีเหตุนักศึกษาติดค้างอยู่ในลิฟท์ ของอาคารสำนักงานวิทยาลัย จำนวน 18 คน ซึ่งหลังจากนั้นได้เกิดเหตุวุ่นวายขึ้นอย่างหนัก เนื่องจากนักศึกษาทั้งหมดพยายามเบียดเสียดกันออกมาจากลิฟท์ โดยทุกคนอยู่ในอาการหวาดกลัวและตกใจกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น บางคนปวดศรีษะ หน้ามืด ตาลาย และเป็นลมหมดสติไป 1 คน เจ้าหน้าที่ต้องช่วยกันงัดแงะประตูลิฟท์อยู่นานกว่าครึ่งชั่วโมง ก่อนที่จะช่วยนักศึกษาทั้งหมดนำส่งโรงพยาบาลตรัง 
 
น.ส.หนึ่งฤดี พลเพ็ชนะ นักเรียนชั้น ปวช. 1 สาขาการโรงแรม เล่าว่า นักศึกษาทั้ง 18 คนได้เรียนวิชาศิลปะและวัฒนธรรมไทยเสร็จ ขณะกำลังจะเดินทางเพื่อกลับบ้าน และได้ใช้ลิฟท์เพื่อลงมายังชั้น 1 แต่เมื่อขึ้นลิฟท์ปรากฏว่า ได้ยินเสียงเหมือนมีอะไรขาด ทำให้ลิฟท์ตกลงมาจากชั้น 3 และมาค้างอยู่ระหว่างชั้น 1 กับชั้นใต้ดิน ซึ่งทำให้ประตูเปิดไม่ออก จึงได้กดสัญญาณฉุกเฉินหลายครั้ง
จากนั้นทุกคนช่วยกันตะโกนร้องขอความช่วยเหลือ รวมถึงทุบและงัดประตูลิฟท์ แต่ก็ไม่เป็นผลสำเร็จ จนเวลาต่อมามีผู้เปิดช่องระบายอากาศด้านบนเพื่อใช้หายใจ ก่อนที่เจ้าหน้าที่จะเดินทางมาให้ความช่วยเหลือได้สำเร็จ
 

น.ส.หนึ่งฤดี กล่าวอีกว่า เหตุการณ์ในลักษณะนี้เคยเกิดขึ้นมาแล้ว แต่ครั้งก่อนๆ จะเกิดขึ้นเนื่องจากกระแสไฟฟ้าดับ และสามารถงัดประตูลิฟท์ออกมาได้ทุกครั้ง แต่ครั้งนี้ไม่สามารถงัดได้ เพราะประตูลิฟท์อยู่ระหว่างชั้นที่ 1 และชั้นใต้ดิน ซึ่งสันนิษฐานว่าอาจเกิดจากลิฟท์ ที่ไม่สามารถรับน้ำหนักของจำนวน 18 คนได้ รวมไปถึงสัญญานในการเตือนว่า น้ำหนักเกิน ก็ไม่ทำงาน จึงอาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุดังกล่าว
 
นายปรีชา ทวีชาติ ผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคนิคตรัง กล่าวว่า สาเหตุที่เกิดอุบัติเหตุลิฟท์ติดค้างในครั้งนี้ เบื้องต้นน่าจะเกิดมาจากระบบเตือนน้ำหนักขัดข้อง ซึ่งปกติลิฟท์โดยทั่วไปจะบรรทุกผู้โดยสารได้ไม่เกิน 15 คน แต่ปรากฎว่าขณะเกิดเหตุมีนักศึกษาเข้าไปใช้บริการถึง 20 คน และระบบเตือนน้ำหนักไม่มีเสียงออกมา เมื่อลิฟท์เคลื่อนตัวจึงเกิดอุบัติเหตุติดค้างขึ้นดังกล่าว  ซึ่งงหลังเกิดเหตุตนได้โทรศัพท์แจ้งไปยังบริษัท ฮาวเออร์ จำกัด ที่กรุงเทพฯ เพื่อให้เร่งส่งพนักงานลงมาแก้ไขลิฟท์เป็นการด่วนแล้ว

นอกจากนี้ยังได้ตรวจสอบลิฟท์อีก 1 ตัว ซึ่งยังใช้การอยู่ โดยมอบหมายให้อาจารย์ 2 คน ดูแลรับผิดชอบโดยตรง และติดตามการทำงานของทางบริษัทผู้รับเหมา เพราะไม่ต้องการให้เกิดอุบัติเหตุดังกล่าวขึ้นมาอีก รวมไปถึงลิฟท์ในอาคารอื่นๆ ของวิทยาลัยด้วย
 
นายปรีชา กล่าวอีกว่า สำหรับอาคารสำนักงานวิทยาลัยเทคนิคตรังนั้น มีขนาด 5 ชั้น และก่อสร้างขึ้นด้วยงบประมาณ 80 กว่าล้านบาท แต่ในช่วงระยะเวลา 2-3 ปีที่ผ่านมาได้เกิดปัญหาโดยตลอด โดยเฉพาะในส่วนของครุภัณฑ์บางอย่าง เช่น ลิฟท์ ต้องมาซื้อติดตั้งในภายหลัง และบางส่วนก็ถูกทิ้งไว้ไม่ได้งาน แถมยังไม่ได้มีการทำสัญญาประกันความเสียหายไว้กับทางบริษัทผู้รับเหมาด้วย 

อย่างไรก็ตามในช่วงที่ตนมารับตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการ จึงได้ให้ฝ่ายพัสดุพยายามค้นหาจนทราบชื่อบริษัทผู้รับเหมา แล้วประสานเข้ามาซ่อมแซมลิฟท์ในบางส่วนที่ชำรุด เช่น มอเตอร์ พัดลม ซึ่งทางวิทยาลัยก็ต้องยอมจ่ายเงินค่าซ่อมแซมในส่วนนี้เอง หลังจากนั้น จึงได้ทำสัญญาประกันความเสียหายกับทางบริษัทผู้รับเหมา และทดลองใช้งานลิฟท์มาตั้งแต่ต้นปี 2553
 
"อุบัติเหตุลิฟท์ค้างครั้งนี้ ส่วนหนึ่งเกิดมาจากการไม่ได้ใช้งานมานาน และอาจจะเกี่ยวพันถึงการประมูลจัดซื้อครุภัณฑ์เมื่อครั้งอดีต แต่เรื่องที่ผ่านมาตนเองไม่อยากจะไปพูดถึง เพราะคงไม่มีประโยชน์ใดๆ สิ่งที่ต้องทำในภายภาคหน้าก็คือ การดูแลระบบลิฟท์ทั้งหมด ซึ่งทางบริษัทผู้รับเหมาเองก็เข้าใจปัญหาที่เกิดขึ้น และพร้อมมาแก้ไขปรับปรุงให้กับทางวิทยาลัยอย่างเต็มที่"  ผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคนิดตรัง กล่าว
 
ทั้งนี้ หากพบส่วนไหนชำรุด ทางบริษัทผู้รับเหมาก็จะมาซ่อมแซมให้ทันที เพื่อจะได้ไม่เกิดอุบัติเหตุลิฟท์ติดค้างขึ้นมาอีก สำหรับนักศึกษาที่ได้รับความเสียหายจากเหตุการณ์ดังกล่าว ทางวิทยาลัยพร้อมดูแลช่วยเหลืออย่างเต็มที่ ซึ่งทั้งตนเองและอาจารย์ก็ได้ไปติดตามอาการโดยตลอด แล้วรายงานไปให้ผู้บังคับบัญชารับทราบตามขั้นตอน