posttoday

เกษตรกรปลูกผักสวนผสมทดแทนยางราคาตก

23 เมษายน 2558

พัทลุง-เกษตรกรตะโหมดลุยปลูกผักสวนผสมเสริมรายได้ แก้ปัญหาราคายางตกต่ำ

พัทลุง-เกษตรกรตะโหมดลุยปลูกผักสวนผสมเสริมรายได้ แก้ปัญหาราคายางตกต่ำ

นางชนัญชิดา  หนูสีคง   เกษตรอำเภอตะโหมด  จ.พัทลุง  เปิดเผยว่า  ทางสำนักงานเกษตรอำเภอตะโหมด ได้มีการรณรงค์ ให้เกษตรกรมีการปลูกพืชผักสวนผสมในร่องยางพารา  ยางพาราโค่นใหม่  อายุ ระหว่าง 1- 3  ปี   และพื้นที่เหมาะสมซึ่งเป็นที่ว่างทำการปลูกพืชผักสวนผสม  เพื่อเสริมสร้างรายได้ที่ดี และตลาดมีความต้องการสูงและต่อเนื่อง เช่น การปลูกผักเหรียง ถั่วหรั่ง  อ้อย ไผ่หวาน ตะไคร้  โหระพา ผักกูด  กล้วยหอมทอง กล้วยหิน  ฯลฯ ขณะนี้ชาวสวนยางพารา ได้เริ่มทยอยตื่นตัวกันมาก ไม่ต่ำกว่า 10 เปอร์เซ็นต์เพราะจากยางพาราที่ตกต่ำ

"ในพื้นที่ อ.ตะโหมด ที่ปลูกถั่วหรั่ง ในช่วงราคาต่ำสุด  20 บาท/กก. มีผลผลิตประมาณ 14,000 บาท/ปี ผักเหรียง 80 บาท/กก. มีผลผลิตประมาณ  40,000 บาท / ปี และตลาดมีความต้องการตลอด ส่วนการตลาดมีรองรับไว้ เช่น  มีศูนย์กระจายสินค้าไปยังภูมิภาคต่าง ๆ   เช่น ตลาดศูนย์ค้าส่งแม่ขรี   ตลาดหัวอิฐ  นครศรีธรรมราช  ตลาดหาดใหญ่ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ตลอดไปจนถึงประเทศมาเลเซีย  โดยจะมีพ่อค้าแม่ค้า มารับถึงพื้นที่" นางชนัญชิด กล่าว

นางชนัญชิดา  ยังกล่าวอีกว่า แต่เกษตรกรต้องเตรียมพร้อมสำหรับแหล่งน้ำไว้ในการทำเกษตรกรรปลูกพืชผักเหล่านี้  แต่ขณะนี้ยังไม่มีรายใดที่โค่นยางพารา  เช่น ประมาณ 10 ไร่  แล้วปรับเปลี่ยนวิธีใหม่ โดยหันมาปลูกพืชผักเหล่านี้  โดยจัดสรรแต่ละส่วนในการปลูกพืช ผัก  โดยที่จะให้ผลิตทั้งปี  และมีรายได้ตลอดทั้งปีเช่นกัน

“เกษตรอำเภอตะโหมด มีความพยายามรณรงค์ ให้มีการปลูกพืชผักกันมากและตลอดมา  ในพื้นที่ที่ใช้ประโยชน์ได้ เช่น พื้นที่ระหว่างร่องยาง พื้นที่ปลูกยางใหม่ อายุ 1-3 ปี และพื้นที่ว่างที่มีอยู่แล้ว ให้มีการทำสวนผักส่วนผสม  หวังแต่ยางพาราหน้าเดียวไม่ได้  แต่ปรากฏสิ่งสำคัญ คือเกษตรกรมีความเคยชินกับสวนยางพารา นอกนั้นเป็นเรื่องสำคัญยิ่ง คือใจรักการเกษตร  แต่ถึงอ่างไรขณะนี้เกษตรกร เริ่มทยอยตื่นตัวกันมาก โดยรวมประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์”

นายทศพล ขวัญรอด ประธานภาคีเครือข่ายชาวสวนยางพาราและสวนปาล์มแห่งประเทศไทย (คยปท.) เปิดเผยว่า การทำสวนยางพาราเชิงซ้อน ไม่ใช่เชิงเดี่ยวจะประสบความสำเร็จอย่างสูดสุด บางเวลาจะมีรายได้กว่าสวนยางพาราหลายเท่าตัว และชาวสวนยางพาราจะมีรายที่ในคงและดี แต่ที่ผ่านมามองไม่เห็นความสำคัญรณรงค์ให้ทำพืชเชิงซ้อนระหว่างอกสวนยางพารา 

“ทำพืชเชิงซ้อนในสวนยางพารา ประสบความสำเร็จตลอดมา  คือปลูกผักเหรียง ผักกูด ผักหวานป่า และผักหวานบ้าน  ผัก 4 ตัว  ราคาตั้งแต่ 80 บาท / กก. และ 100 บาท และถึง 200- 300 บาท / กก.  และเป็นความต้องการของตลาดที่สูงมาก”

นายทศพล กล่าวอีกว่า  ทำสวนยางพาราพืชเชิงซ้อน  ประสบความสำเร็จมากที่จังหวัดพัทลุง หลาย ๆ จังหวัดต้องสั่งซื้อ  ขอยืนยันว่าสำหรับในช่วงหน้าฝนจะมีรายได้ดีกว่ายางพาราหลายเท่าตัว  ทาง คยปท. ได้รณรงค์ทำสวนยางพาราพืชเชิงซ้อน มาตลอดระยะเวลา”