posttoday

อ.จุฬาฯพบสารย้อมสีในปลาดิบร้านอาหารญี่ปุ่นยอดนิยม

25 พฤษภาคม 2559

ผอ.ศูนย์วิจัยโรคสัตว์น้ำฯ จุฬาฯเผย พบสารย้อมสีในปลาดิบ จากร้านอาหารญี่ปุ่นยอดนิยม

ผอ.ศูนย์วิจัยโรคสัตว์น้ำฯ จุฬาฯเผย พบสารย้อมสีในปลาดิบ จากร้านอาหารญี่ปุ่นยอดนิยม

เมื่อวันที่ 25 พ.ค. รองศาสตราจารย์ สัตวแพทย์หญิง ดร.นันทริกา ชันซื่อ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยโรคสัตว์น้ำ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ภาพและข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว ระบุว่า ได้เก็บตัวอย่างปลาโอกับปลาแซลมอนในเมนูปลาดิบของ ร้านอาหารญี่ปุ่นยอดนิยมแห่งหนึ่งมาทำการทดสอบเนื่องจากพบว่ามีสีสดเกินจริง ซึ่งหลังจากนำเนื้อปลาไปแช่น้ำไม่กี่นาทีก็พบว่ามีสีละลายออกมา

สำหรับข้อความที่ ดร.นันทริกา โพสต์ไว้มีดังนี้

"วันนี้ไปกินอาหารญี่ปุ่นร้านยอดนิยมที่มีสาขามากมายทุกศูนย์การค้า....

สั่งอาหารชุดที่มีปลาดิบเป็นปลาโอ 2 ชิ้น แซลมอน 2 ชิ้น...

ด้วยความเป็นหมอปลา...เห็นสีและลักษณะเนื้อปลาโอแล้ว...ไม่กล้ากินเพราะแดงชมพูสวยเกิน...

เลยจัดการเก็บมาเข้าแลปที่ ศูนย์วิจัยโรคสัตว์น้ำ จุฬา...ส่วนที่เพาะเชื้อต้องรอผลอีก 2-3 วัน แต่ที่น่าตกใจคือ....เอาเนื้อปลาไปแช่น้ำไม่กี่นาที... สีละลายออกมาชัดเจน... เนื้อที่แช่เพียง 5 นาทีกลายเป็นซีดขาว!

ทำไมต้องย้อมสีกันด้วย เป็นอันตรายเปล่าๆ จะมะเร็งหรือแค่ตับไตพังหนอ....

ช่วยกันระวัง ช่วยตรวจสอบด้วยนะคะ เราไม่ได้ตรวจว่าสารอะไร เพราะไม่ใช่โครงการวิจัย... แต่ส่งมาดูกันเพื่อความอยู่รอดปลอดภัยของทุกคน"

ขณะที่ ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ประจำคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว Jessada Denduangboripant ระบุว่า สีแดงที่ละลายออกมาจากเนื้อปลาไม่น่าใช่สีย้อม แต่เป็นสารโปรตีนตามธรรมชาติในเนื้อปลาที่ชื่อว่ามายโอโกลบิน (myoglobin) ละลายออกมา

"โปรตีนมายโอโกลบินนี้จะอยู่ตามกล้ามเนื้อของสัตว์ต่างๆ มีหน้าที่เก็บออกซิเจนไว้เป็นพลังงานกับกล้ามเนื้อ ปลาโอหรือปลาทูน่าเป็นปลาที่ว่ายน้ำเก่งมาก เร็วและอึด ทำให้มันต้องใช้ออกซิเจนสูงมากให้กับกล้ามเนื้อของมัน จึงมีมายโอโกลบินสะสมในกล้ามเนื้ออยู่เป็นปริมาณมาก มายโอโกลบินยังมีฮีม (heme) ซึ่งเป็นสารที่จับกับออกซิเจนและมีสีแดง จึงทำให้กล้ามเนื้อของสัตว์บกหลายชนิดที่ต้องเดินและวิ่งมากๆ ดังเช่น พวกเนื้อวัว เนื้อหมู รวมถึงปลาทะเลลึก อย่างปลาทูน่า ปลาดาบ ปลาฉลาม ที่ต้องว่ายน้ำมากๆ มีกล้ามเนื้อที่ค่อนข้างแข็งและเป็นสีแดงไปด้วย ดังนั้นจึงไม่แปลกที่เนื้อปลาทูน่าจะมีสีแดงเข้ม โดยเฉพาะส่วนด้านข้างลำตัวที่เนื้อค่อนข้างแข็งและไม่นิยมกินกันนัก ก็จะยิ่งแดงเข้มเข้าไปอีก นอกจากนี้ มายโอโกลบินเป็นโปรตีนที่ละลายน้ำได้ดีมาก ถ้าเอาเนื้อปลาแดงๆ มาแช่น้ำ มายโอโกลบินจะละลายออกมาในน้ำ ทำให้เนื้อเหลืองแต่สีขาวๆได้"

ที่มา https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=1024755417560651&id=158512054184996

 

อ.จุฬาฯพบสารย้อมสีในปลาดิบร้านอาหารญี่ปุ่นยอดนิยม

 

อ.จุฬาฯพบสารย้อมสีในปลาดิบร้านอาหารญี่ปุ่นยอดนิยม

 

อ.จุฬาฯพบสารย้อมสีในปลาดิบร้านอาหารญี่ปุ่นยอดนิยม