posttoday

“SaveUbon Web App” แอพฯจาก "มรภ.อุบลฯ" เชื่อมผู้รับกับผู้ให้ ร่วมสู้ภัยน้ำท่วม

17 กันยายน 2562

แอพพลิเคชั่นจากฝีมือของอาจารย์ "ม.ราชภัฏอุบลราชธานี" ที่ช่วยให้ผู้ประสบภัยสามารถขอความช่วยเหลือสิ่งของและจำนวนที่ต้องการ เพื่อประสานข้อมูลระหว่างผู้ให้และผู้รับ

แอพพลิเคชั่นจากฝีมือของอาจารย์ "ม.ราชภัฏอุบลราชธานี" ที่ช่วยให้ผู้ประสบภัยสามารถขอความช่วยเหลือสิ่งของและจำนวนที่ต้องการ เพื่อประสานข้อมูลระหว่างผู้ให้และผู้รับ

***********************

โดย…รัชพล ธนศุทธิสกุล

“บางครั้งสิ่งที่ผู้ประสบภัยได้รับการให้การช่วยเหลือไม่ใช่สิ่งของที่จำเป็นที่สุดในเวลานั้น ท่านอธิการบดี รศ.ธรรมรักษ์ ละอองนวล จึงได้มอบหมายให้ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศตรวจสอบข้อมูลและรวบรวมสารสนเทศเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม เราก็เลยฟอร์มทีมกันขึ้นมา” ผศ.ดร.กชกร เจตินัย ผู้ช่วยอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี กล่าวเปิดใจถึงการพัฒนา ‘SaveUbon’ 2 แอพพลิเคชั่นเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติน้ำท่วมใหญ่สุดในรอบ 17ปี ของจังหวัดอุบลราชธานีครั้งนี้

ซึ่งนับว่าเป็นการให้ความช่วยเหลือครั้งแรกของประเทศไทยในการนำเทคโนโลยีแอพพลิเคชั่นมาเป็นตัวเชื่อมในการประสานงานระหว่างผู้ประสบภัยน้ำท่วมขอความช่วยเหลือสิ่งบรรเทาทุกข์ได้อย่างตรงตามความต้องการและจำนวนที่ประสงค์

ขณะที่ในอนาคตแนวคิดของแอพพลิเคชั่นดังกล่าวนี้ยังจะช่วยต่อยอดเมื่อมีภัยต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นได้อย่างมหาศาลอีกด้วย

“SaveUbon Web App” แอพฯจาก "มรภ.อุบลฯ" เชื่อมผู้รับกับผู้ให้ ร่วมสู้ภัยน้ำท่วม

แอพฯ SaveUbon สื่อกลางเรื่องช่วยน้ำท่วม

หัวหน้าทีมสารสนเทศ ระบุว่า การพัฒนาแอพพลิเคชั่น เป็นการนำเทคโนโลยีเข้าไปช่วยผู้ประสบภัยอีกแรงหนึ่ง โดยมี อ.สุรัตน์ หารวย อาจารย์ประจำคณะสาธารณสุขศาสตร์ ซึ่งอยู่ในทีมพัฒนาสารสนเทศ ได้ออกแบบและพัฒนาแอพพลิเคชั่น ‘SaveUbon’ ซึ่งมีมุมมองในเรื่องของคุณภาพชีวิต และสังคม และมีความสามารถในการเขียนโปรแกรมเป็นผู้ผุดไอเดียให้ผู้รับได้รับความช่วยเหลือตรงตามความต้องการ ทั้งเครื่องอุปโภคและบริโภค และผู้ให้ก็ให้สิ่งของตรงความต้องการของผู้รับ ตรวจสอบความต้องการได้ที่ http://ph.ubru.ac.th/saveubon/ 

“SaveUbon Web App” แอพฯจาก "มรภ.อุบลฯ" เชื่อมผู้รับกับผู้ให้ ร่วมสู้ภัยน้ำท่วม

“SaveUbon Web App” แอพฯจาก "มรภ.อุบลฯ" เชื่อมผู้รับกับผู้ให้ ร่วมสู้ภัยน้ำท่วม

ขณะที่แอพพลิเคชั่น ‘SaveUbon map’ ของ อ.ชัดชัย แก้วตา อาจารย์ประจำคณะวิทยาการคอมพิวเตอร์ มีแนวคิดจากการที่น้ำท่วมบ้านของบุคลากร และนักศึกษาของมหาวิทยาลัยที่แชร์ภาพและพิกัดน้ำท่วม จึงเกิดเป็นการรวบรวมข้อมูลจุดน้ำท่วม ร่วมกับจิตอาสาด้านสารสนเทศ โดยมี ดร.จารุณี อนุพันธ์ อาจารย์ประจำคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ เป็นแอดมินทำหน้าที่ปักหมุดแผนทีเพื่อปักหมุดในโปรแกรม Google Map แสดงจุดน้ำท่วม จุดอพยพ จุดปฐมพยาบาล ศูนย์พักพิง จุดบริการประชาชน และอัพเดทเส้นทางสัญจรที่เปิด-ปิด เพื่อให้ประชาชนที่ประสบเหตุรับทราบข้อมูลและขอความช่วยเหลือได้ง่าย และผู้ที่ประสงค์จะช่วยเหลือเองก็เข้าช่วยเหลือได้ง่ายขึ้นเช่นกัน

“SaveUbon Web App” แอพฯจาก "มรภ.อุบลฯ" เชื่อมผู้รับกับผู้ให้ ร่วมสู้ภัยน้ำท่วม

“SaveUbon Web App” แอพฯจาก "มรภ.อุบลฯ" เชื่อมผู้รับกับผู้ให้ ร่วมสู้ภัยน้ำท่วม

"เทคโนโลยี"ช่วยลดทุกข์

“แอพพลิเคชั่นนี้อาจจะเป็นแอพพลิเคชั่นเล็ก ๆ แต่มีประโยชน์มหาศาล จากเทคโนโลยีสมาร์โฟนที่ทุกคนมี ก็ทำผ่านแอพพลิเคชั่นได้ง่ายที่สุด” ดร.กชกร กล่าวถึงเทคโนโลยีที่สามารถช่วยเหลือผู้คนได้แม้กระทั่งการประสบอุทกภัยได้อย่างรวดเร็ว

“ทีมงานสารสนเทศทั้งหมดมีอาจารย์รวม 17 คน และนักศึกษา 200 คน ช่วยกันมอนิเตอร์กันทั้งคืน และอัพเดทข้อมูลทั้ง 2 แอพพลิเคชั่น เส้นทางไหนเปิดแล้วก็เปลี่ยนสีของหมุดที่ปัก SaveUbon map เพื่อให้เดินทางเข้าออกจากพื้นที่อย่างสะดวก หรือเวลามีผู้ประสบภัยแจ้งกับทางเจ้าหน้าที่และอาสาสมัครว่าจุดไหนยังเดือดร้อนขาดแคลนอาหารหรือเครื่องอุปโภคบริโภคอะไรบ้าง หรือมีคนเจ็บป่วยต้องการความช่วยเหลืออะไรบ้าง ข้อมูลตรงนี้ก็จะถูกรวบรวมไว้

“ต่อจากนั้นเจ้าหน้าที่ก็จะดำเนินการประสานไปให้แต่ละจุดที่ขาดแคลน หรือถ้าใครเห็นว่าจุดไหนยังขาดอะไรแล้วมีความประสงค์ต้องการขอความช่วยเหลือก็สามารถติดต่อผ่านแอพพลิเคชั่น SaveUbon ทีมงานก็ดำเนินการเพื่อให้การช่วยเหลือกระจายข้อมูลอย่างรวดเร็วและทั่วถึงช่วยให้การบริจาคไม่เกิดโอเวอร์ซัพพลาย ณ จุดใดจุดหนึ่ง”

ดร.กชกร บอกต่ออีกว่า การเกิดขึ้นครั้งแรกของเทคโนโลยีดังกล่าวยังครอบคลุมไปถึงการขอความช่วยเหลือแก่สัตว์เลี้ยงต่าง ๆ ของชาวบ้าน และข้อมูลเหล่านี้จะนำไปบอกถึงความต้องการฟื้นฟูหลังน้ำลดหลังก็ร้องขอ ตะปู ไม้อัด สังกะสี ได้หมดตลอดไปไม่เฉพาะตอนเกิดน้ำท่วม 

“SaveUbon Web App” แอพฯจาก "มรภ.อุบลฯ" เชื่อมผู้รับกับผู้ให้ ร่วมสู้ภัยน้ำท่วม

“SaveUbon Web App” แอพฯจาก "มรภ.อุบลฯ" เชื่อมผู้รับกับผู้ให้ ร่วมสู้ภัยน้ำท่วม

ใช้ง่ายไม่ซับซ้อนเมื่อภัยมา

วิธีการใช้แอพพลิเคชั่น SaveUbon ทั้ง 2 แอปพลิเคชั่น ขั้นแรกให้ใช้สมาร์ทโฟนสแกน QR code เข้า โดย แอปพลิเคชั่น ‘SaveUbon’ หน้าแรกเป็นรายงานข้อมูลการขอความช่วยเหลือจากศูนย์ช่วยเหลือต่าง ๆ มีจุดช่วยเหลือตำแหน่งใดบ้าง ผู้ประสงค์จะให้การช่วยเหลือสามารถเลือกเมนูที่แถบข้างบน เพื่อเลือกศูนย์พักพิงและแสดงรายการสิ่งของที่ต้องการของศูนย์พักพิงนั้น ๆ เช่น สิ่งของที่ขาดแคลน จำนวน และมีรายชื่อเจ้าหน้าที่สำหรับผู้ติดต่อประสานงาน

ส่วนแอปพลิเคชั่น ‘SaveUbon Map’ เมื่อ สแกน QR code จะสามารถเห็นเส้นทางได้ในทันที โดยแบ่งออกเป็นน้ำท่วมมาก น้ำท่วมน้อย และโซนวิกฤต ซึ่งจะมีหมุดปักบนแผนที่แบ่งออกเป็นสี ๆ แสดงที่ http://chutchai.cs.ubru.ac.th

“ในอนาคตประโยชน์จากเทคโนโลยีเหล่านี้ ทางทีมงานจะพัฒนาต่อไปเพื่อนำไปปรับใช้ในเรื่องของภัยพิบัติต่าง ๆ ของประเทศไทยที่เราจะสามารถนำเทคโนโลยีพวกนี้เข้ามาช่วยผู้ประสบภัยได้” เธอกล่าวทิ้งท้าย

“SaveUbon Web App” แอพฯจาก "มรภ.อุบลฯ" เชื่อมผู้รับกับผู้ให้ ร่วมสู้ภัยน้ำท่วม

“SaveUbon Web App” แอพฯจาก "มรภ.อุบลฯ" เชื่อมผู้รับกับผู้ให้ ร่วมสู้ภัยน้ำท่วม

“SaveUbon Web App” แอพฯจาก "มรภ.อุบลฯ" เชื่อมผู้รับกับผู้ให้ ร่วมสู้ภัยน้ำท่วม รองศาสตราจารย์ ธรรมรักษ์ ละอองนวล อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

“SaveUbon Web App” แอพฯจาก "มรภ.อุบลฯ" เชื่อมผู้รับกับผู้ให้ ร่วมสู้ภัยน้ำท่วม ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กชกร เจตินัย ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ หัวหน้าทีมสารสนเทศ มรภ.อุบลราชธานี

“SaveUbon Web App” แอพฯจาก "มรภ.อุบลฯ" เชื่อมผู้รับกับผู้ให้ ร่วมสู้ภัยน้ำท่วม อ. สุรัตน์ หารวย อาจารย์ประจำคณะสาธารณสุขศาสตร์

“SaveUbon Web App” แอพฯจาก "มรภ.อุบลฯ" เชื่อมผู้รับกับผู้ให้ ร่วมสู้ภัยน้ำท่วม อ. ชัดชัย แก้วตา อาจารย์ประจำคณะวิทยาการคอมพิวเตอร์

“SaveUbon Web App” แอพฯจาก "มรภ.อุบลฯ" เชื่อมผู้รับกับผู้ให้ ร่วมสู้ภัยน้ำท่วม ดร.จารุณี อนุพันธ์ อาจารย์ประจำคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์