posttoday

คุยกับ “ปราโมทย์ ชื่นขำ” หนุ่มตาบอดเดินขึ้นภูกระดึงเพื่อพิสูจน์ "คนพิการก็ใช้ชีวิตปกติได้"

03 กันยายน 2562

สัมผัสการหลับตาเที่ยวเดินป่าของอดีตนักศึกษาธรรมศาสตร์ผู้พิการทางสายตาวัย 25 ปี ที่แบกเป้ขึ้นสัมผัสยอดภูกระดึงแบบคนปกติธรรมดาจนใครพบต่างว้าวในความสามารถ

สัมผัสการหลับตาเที่ยวเดินป่าของอดีตนักศึกษาธรรมศาสตร์ผู้พิการทางสายตาวัย 25 ปี ที่แบกเป้ขึ้นสัมผัสยอดภูกระดึงแบบคนปกติธรรมดาจนใครพบต่างว้าวในความสามารถ

*********************

โดย…รัชพล ธนศุทธิสกุล

ในระดับความสูงพันกว่ากิโลเมตรเหนือระดับน้ำทะเล หมุดหมายยอดภูเขาอาจจะเพียงวัดระดับความสามารถของตัวเองหรือสัมผัสความงดงามของธรรมชาติ

หากแต่ “มอส-ปราโมทย์ ชื่นขำ” ทำสิ่งที่เหนือขึ้นไปกว่านั้นร่วมกับ “บุ๋มบิ๋ม-เพ็ญเพ็ชร น้อยยาสูง” ในนามของเพจ “หลับตาเที่ยว” เพื่อสร้างยูนิเวอร์แซล ดีไซน์ (การออกแบบเพื่อคนทั้งมวล) ให้เกิดขึ้นในสังคมไทย

“ผมคิดว่าตัวเองธรรมดามากเที่ยวป่า ผมก็เหมือนคนขึ้นเขาปกติคนหนึ่งขึ้นเขาเที่ยว แค่คนส่วนใหญ่คิดว่าคนตาบอดทำไม่ได้ ซึ่งหากคนตาบอดสามารถเดินไปไหมมาไหนได้ด้วยถนนเบรลล์บล็อก สรุปว่าผมตาบอด ผมพิการหรือเปล่า” มอสเริ่มต้นพูดสิ่งที่ทำให้ว้าว!! ต่อในม่านมืดดำของดวงตาที่ประกายจ้าด้วยคุณค่า

คุยกับ “ปราโมทย์ ชื่นขำ” หนุ่มตาบอดเดินขึ้นภูกระดึงเพื่อพิสูจน์ "คนพิการก็ใช้ชีวิตปกติได้"

คุยกับ “ปราโมทย์ ชื่นขำ” หนุ่มตาบอดเดินขึ้นภูกระดึงเพื่อพิสูจน์ "คนพิการก็ใช้ชีวิตปกติได้" “มอส-ปราโมทย์ ชื่นขำ” และ “บุ๋มบิ๋ม-เพ็ญเพ็ชร น้อยยาสูง”

ยูนิเวอร์แซล ดีไซน์ ‘ยุติพิการ’

“มันเป็นเรื่องของการอธิบายคำว่าพิการในมุมใหม่ของสังคม แสดงให้เห็นว่ามีคนพิการบางคนที่ไม่ใช่สังคมต้องเป็นผู้ให้เพียงฝ่ายเดียว แต่คนพิการสามารถเป็นผู้ให้ได้เหมือนกัน”

การแทนที่ทัศนคติ ‘เวทนานิยม’ ของผู้คนที่มองต่อผู้พิการด้วยมุมมองใหม่นี้ มอสบอกว่าในขั้นแรกจะช่วยปลดล็อคสิทธิในฐานะคนเหมือนกัน และเปิดประตูการอยู่ร่วมกันที่จะช่วยให้คนพิการใช้ชีวิตได้อย่างคนปกติ

“เรามักจะมองผู้พิการเป็นผู้รับอย่างเดียว คนในสังคมจะเป็นคนให้ คนตาบอดไม่มีข้าวกินต้องเอาข้าวมาให้ สุดท้ายสิ่งที่พิการคือสิ่งแวดล้อม อย่างฟุตบาทที่ควรจะเป็นรูปธรรมเอื้อคนพิการที่เกิดขึ้น คนพิการจะใช้ชีวิตได้จริงๆ ซึ่งหากคนตาบอดสามารถเดินไปไหมมาไหนได้ด้วยถนนเบรลล์บล็อก สรุปว่าผมตาบอด ผมพิการหรือเปล่า”

ขณะที่ในขั้นต่อมาเมื่อสิทธิพื้นฐานเท่าเทียม จะเกิดการเปลี่ยนแปลงเป็นการสร้างสังคมให้เอื้อต่อทุกคนโดยปริยาย ไม่ว่าจะเรื่องสาธารณูปโภคหรืออุปโภคและบริโภค

“คนพิการคนหนึ่งอย่างผมออกไปทำอะไรที่สังคมไม่คาดหมายว่าจะทำได้ เป็นเรื่องมหัศจรรย์ ร้องว้าว เพราะตาบอดทำไมไม่อยู่บ้าน ผมก็เหมือนคนขึ้นเขาปกติคนหนึ่งขึ้นเขาเที่ยว ไม่แปลกเลยที่จะทำต่อไปนี้คือการสื่อให้เห็นเรากำลังหลงทางกับสิ่งที่ความเป็นจริงของโลกหรือเปล่า” หนุ่มตาบอดผู้พิชิตภูกระดึงกล่าว

“อนาคตที่จะทำตอนนี้จะบุกป่าให้หนักขึ้น แสดงให้เห็นคนตาบอดก็เดินป่าได้ ตั้งใจป่าในเมืองไทยลุยหมดทุกสภาพ พิสูจน์ว่าคนพิการทำอะไรได้มากกว่าที่คิด และที่สำคัญถ้าคนพิการมีโอกาสช่วยเหลือคน เขาจะไม่มองเราเป็นผู้รับ เขาจะมองเราเป็นเพื่อน เป็นคนแบบเขา”

คุยกับ “ปราโมทย์ ชื่นขำ” หนุ่มตาบอดเดินขึ้นภูกระดึงเพื่อพิสูจน์ "คนพิการก็ใช้ชีวิตปกติได้"

คุยกับ “ปราโมทย์ ชื่นขำ” หนุ่มตาบอดเดินขึ้นภูกระดึงเพื่อพิสูจน์ "คนพิการก็ใช้ชีวิตปกติได้"

บอดตา-แต่ใจไม่บอด

เบื้องหลังรอยยิ้มของสิ่งที่มอสทำอยู่ผ่านสื่อเสียงเล็กๆ อย่างเพจ “หลับตาเที่ยว” ที่ก่อตั้งเมื่อไม่นานมานี้ เกิดขึ้นจาก 3 วัตถุประสงค์ โดยข้อ 1 คือ การพิสูจน์ความไม่แตกต่าง ถ่ายทอดให้สังคมรู้ว่าคนพิการทำอะไรได้บ้าง สิ่งที่คนพิการทำได้ไม่เพียงเล่นดนตรี ขอทาน หมอนวด ฯลฯ

“ผมชอบท่องเที่ยวแต่เด็ก พอโตมีโอกาสมหาวิทยาลัยก็เป็นนักกิจกรรม และชมรมที่เป็นประธานเรามีคอนเซ็ปต์ต้องการให้เพื่อนพิการและไม่พิการมาเป็นเพื่อนกัน โดยการพากันไปบำเพ็ญประโยชน์เพื่อสังคม สร้างแทงค์น้ำไป ช่วยเหลือบ้านคนชรา ช่วยเหลือชาวบ้านกะเหรี่ยงบนดอยหรือปลูกป่า”

กิจกรรมตลอด 4 ปี แสดงให้เห็นการอยู่ร่วมกันระหว่างผู้พิการ-คนปกติของทุกคนในชมรม จนมอสได้รับเชิญไปเป็นวิทยากรพูดถึงนิยามคนพิการหลายต่อหลายที่เพื่อให้สังคมเกิดการเปลี่ยนแปลง แต่บ้านเราก็ยังไปไม่ถงจุดนั้น จึงต้องลุกขึ้นมาทำให้เห็นว่า “คนพิการทำได้ไม่แพ้คนปกติ”

“น้องน้องบุ๋มบิ๋ม (เพ็ญเพ็ชร น้อยยาสูง) เลขาฯ ชมรม ก็เลยชวนกันไปเที่ยวภูกระดึง เดือนตุลาคม 2561 ไปทำอะไรยากๆ แบบขึ้นภูหรือไต่เขา เพราะเราทำกิจกรรมเข้าป่าอะไรก็เคยไปมาแล้ว” หนุ่มหลับตาเที่ยวเผยถึงดูโอ้ที่มีอุดมการณ์เดียวกันที่ไม่อยากให้สังคมมองคนพิการแตกต่าง

“เราตกลงไปตอนนั้นไม่มีอุปกรณ์อะไรเลย กระเป๋าเป้ที่เสื้อผ้าก็ใช้ใส่เรียนหนังสือ รองเท้าผ้าใบ ขึ้นไปก็มีคนทักทายเราเจ๋ง แต่มันเกิดคำถามทำไม? ต้องชื่นชมเราคนเดียว พอยิ่งขาลงเห็นเรายิ่งชมเราใหญ่ มาขอถ่ายรูป แต่น้องบุ๋มบิ้มเป็นคนขับรถมอเตอร์ไซค์ซ้อนท้ายพาไปจะขึ้นเขาตอนฝนตกมืดๆ เป็นคนนำทางเป็นตาให้เรา ไม่ได้รับการปฏิบัติคำชมว่าเจ๋ง ทุกคนว้าวเพียงเพราะไม่เคยเห็นว่าคนพิการจะไปไต่เขาได้ ไม่เคยคาดหวังว่าคนพิการจะแบกขอหนักได้ มันเหมือนตลกร้ายที่ทำให้เราต่างจากพวกเขา จริงๆ เราก็คนพิการเหมือนกัน ว้าวชื่นชมได้แต่ไม่ควรเลือกปฏิบัติ”

คุยกับ “ปราโมทย์ ชื่นขำ” หนุ่มตาบอดเดินขึ้นภูกระดึงเพื่อพิสูจน์ "คนพิการก็ใช้ชีวิตปกติได้"

คุยกับ “ปราโมทย์ ชื่นขำ” หนุ่มตาบอดเดินขึ้นภูกระดึงเพื่อพิสูจน์ "คนพิการก็ใช้ชีวิตปกติได้"

คุยกับ “ปราโมทย์ ชื่นขำ” หนุ่มตาบอดเดินขึ้นภูกระดึงเพื่อพิสูจน์ "คนพิการก็ใช้ชีวิตปกติได้"

มิตรภาพและความเชื่อใจ

ต่อจากบทพิสูจน์ความสามารถคนพิการที่ไม่ต่างจากคนปกติ ยังมีอีก 2 สิ่งที่มอสได้เรียนรู้ในการขึ้นภูกระดึง 3 ครั้ง อุทยานแห่งชาติภูสอยดาว ยอดดอยขุนตาลและจุดชมวิวป้อมปี่อุทยานแห่งชาติเขาแหลม ฯลฯ นั้นก็คือ ‘มิตรภาพ’ และ ‘ความเชื่อใจ’

“นอกจากเพื่อนที่ได้เพิ่มทีละคน 2 คน ป่าเขามันละลายพฤติกรรม ถ้าไปด้วยกันจะรู้ว่าเราช่วยกันและกัน คนพิการที่จะมีสักกี่คนที่เข้าป่า จุดไฟ ทำอาหาร กางเต้นท์ แบกสิ่งของจำเป็นทั้งๆ ที่มองไม่เห็น ผมตัวใหญ่ก็จะเป็นคนที่แบกเต้นท์ เสบียง น้ำเยอะกว่าคนอื่นได้ ของกองกลางหลักคือเรา ถึงที่พักน้องบุ๋มบิ๋มตัวเล็กที่เป็นตาให้เราแล้ว ขับรถให้เราแล้ว เขาก็ตระเตรียมเสบียงอาหาร หรือกรณีน้ำของน้องหมด เราก็แบ่งของเรา มันทำให้รู้คนปกติบ้างครั้งก็ต้องพึ่งพาคนพิการได้”

ขณะที่ข้อที่ 3 ‘ความเชื่อใจ’ เป็นกุญแจที่จะไขสู่ความสำเร็จเรื่องดังกล่าว โดยยกตัวอย่างการเดินป่าว่า คนนำเชื่อว่าคนพิการไปไม่ได้ ทั้งๆ ที่คนพิการก็อยากไป มันก็ไม่ได้ไป หรือ คนนำเชื่อว่าไปได้ แต่คนพิการเชื่อว่าไปไม่ได้ มันก็ไปไม่ได้

“ผมกับบุ๋มบิ๋มเชื่อใจกัน ขับมอเตอร์ไซค์ซ้อนท้ายขึ้นเขาตอนฝนตกมืดๆ เราก็ทำมาแล้ว ถามว่าเสี่ยงไหม คำตอบคือเสี่ยง แต่เราไว้ใจคนข้างหน้าเราไหม แล้วคนที่ขับอยู่ไว้ใจเราไหมว่าเราจะเป็นเพื่อนเขาได้ ทั้ง 3 ข้อนี้ มองย้อนกลับมาสังคมมันก็เหมือนกัน คนพิการสามารถช่วยเหลือคนปกติได้ และต่อมาก็อยู่ที่ว่าสังคมสร้างเวที สังคมสร้างพื้นที่ให้คนพิการแสดงหรือไม่ เพราะยังมีคนพิการอีกไม่น้อยที่มีศักยภาพและต้องการโอกาส”

คุยกับ “ปราโมทย์ ชื่นขำ” หนุ่มตาบอดเดินขึ้นภูกระดึงเพื่อพิสูจน์ "คนพิการก็ใช้ชีวิตปกติได้"

‘กล้า’เรียนรู้ที่จะทำ

พื้นฐานการเป็นนักเดินป่าที่มองไม่เห็นเริ่มขึ้นตั้งแต่สมัยวัยเด็กที่ครอบครัวได้เลี้ยงให้เติบโตโดยไม่มองว่าเขาคือ ‘ผู้พิการทางสายตา’

“ที่บ้านทำอาชีพเกษตรกรรม พ่อชาวไร่จ.กาญจนบุรี พาทำทุกอย่างบนรถไถ่ เข้าเกียร์รถ ขับรถในไร่ ไปยิงนก ตกปลา พาไปทำทุกอย่าง ช่วง 7 ขวบชีวิตเหมือนเด็กปกติทั่วไป แต่สิ่งหนึ่งที่พ่อทำให้ต่างไปคือเรื่องการเรียนรู้ เช่นอยากรู้ว่ารถยนต์เป็นยังไง แกจะเอาดินน้ำมันมาปั้นให้เหมือนและให้เราจับและอธิบาย กระทั่งแผนที่โลกก็ไปเอาโฟมแผ่นๆ มาตัดฉลุให้เป็นแผนที่โลกให้จับ”

หรืออย่างกรณีล่าสุดก่อนการขึ้นภูสอยดาว พ่อฝันว่าลูกจะตกเขาจนแขนหัก ถ้าพ่อแม่คนอื่นคงห้ามไม่ให้ไปแล้ว แต่กลับได้ความรู้และวิธีการเอาตัวรอดเช่น การเข้าหาแหล่งน้ำ การบอกเพื่อนให้พยาบาลอย่างถูกวิธี นั้นแหล่ะคือพ่อของมอส

คุยกับ “ปราโมทย์ ชื่นขำ” หนุ่มตาบอดเดินขึ้นภูกระดึงเพื่อพิสูจน์ "คนพิการก็ใช้ชีวิตปกติได้"

การเรียนรู้จึงติดเป็นนิสัยในตัว และเมื่อมีคนบอกว่าเขาทำไม่ได้เพราะไม่ปกติ จะยิ่งผลักให้เขาลองทำมัน “ผมคิดเสมอว่าถ้าผมกลัว ผมจะไม่ได้ทำอะไร แต่ถ้าผมไม่กลัวผมได้ทำอะไรอีกเยอะ”

“ผมไม่เคยกลัวอะไรเลย เล่นมันมาทุกอย่าง ก่อไฟด้วยฝืน บางคนกลัวจะไหม้บ้านถูกผู้ปกครองว่า บ้านผมไม่ เล่นมีด ผ่าไม้ไผ่เอง หุงข้าวพ่อก็ไม่ได้สอนโดยตรง แค่เราถามว่าหุงด้วยฝืนทำยังไง เราก็เอามาลองทำเองมันก็ได้

“ทุกอย่างอยู่ที่มุมมองแม้ว่าหลายคนจะถามบ่อยมองไม่เห็นเที่ยวไปก็เท่านั้น พาคนตาบอดไปดูพระอาทิตย์ขึ้น แต่ถามว่าไปยืนอยู่ตรงนั้น กาแฟสักแก้ว อากาศที่ปะทะ หมอกเย็นๆ ไม่เห็นพระอาทิตย์ขึ้นหรอก น้องบอกหันหน้ามาหน่อยขอถ่ายรูปกับพระอาทิตย์มันมีก็ความสุข ทำให้รู้สึกเป็นคนปกติ เป็นคนเดินป่าขึ้นเข้าช่วงที่อยู่ที่นั้น อยู่ในเมืองก็เป็นเด็กจบนิติกฎหมาย"

คุยกับ “ปราโมทย์ ชื่นขำ” หนุ่มตาบอดเดินขึ้นภูกระดึงเพื่อพิสูจน์ "คนพิการก็ใช้ชีวิตปกติได้"

คุยกับ “ปราโมทย์ ชื่นขำ” หนุ่มตาบอดเดินขึ้นภูกระดึงเพื่อพิสูจน์ "คนพิการก็ใช้ชีวิตปกติได้"

คุยกับ “ปราโมทย์ ชื่นขำ” หนุ่มตาบอดเดินขึ้นภูกระดึงเพื่อพิสูจน์ "คนพิการก็ใช้ชีวิตปกติได้"

คุยกับ “ปราโมทย์ ชื่นขำ” หนุ่มตาบอดเดินขึ้นภูกระดึงเพื่อพิสูจน์ "คนพิการก็ใช้ชีวิตปกติได้"