posttoday

ศบค.ห่วง กทม.ยอดป่วยโควิดพุ่งทุกวัน เปิด 10 เขตติดเชื้อสูงสุด

07 พฤษภาคม 2564

โฆษก ศบค. เปิด 10 เขต กทม.ติดเชื้อสูงสุด ห่วง ยอดพุ่งทุกวัน ทั้งอาการหนัก เสียชีวิตก็เพิ่ม จับตา คลัสเตอร์ใหญ่ เฉพาะเขตบางแคเกิด3 ระลอก เร่งควบคุมโรค เตรียมตั้งรพ.สนามรับผู้ป่วยหนัก

เมื่อวันที่ 7พค. 64 นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 หรือ ศบค. กล่าวว่า ที่ประชุมศูนย์บูรณาการการแก้ไขสถานการณ์โควิด-19 ในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล เป็นห่วงสถานการณ์ในกรุงเทพฯ ที่มีจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่มสูงขึ้นทุกวัน โดยตัวเลข เกินกว่า 500 รายมาตลอด และแนวทางยังพุ่งขึ้นอีก อย่างวันนี้วันเดียว มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ถึง 869 คน เสียชีวิตถึง 18 ราย และยังเป็นจังหวัดที่มีผู้ป่วยอาการหนักมากเช่นกัน ในวันที่ 6 พค. 496 ราย เพิ่มขึ้นจากวันที่ 5 พค. 466 รายหรือเพิ่มจากวันที่ 4 พค. ที่มีจำนวน 461 ราย ทั้งนี้จำนวนเตียงที่ต้องดูแลผู้ป่วยหนักไม่ใช่แค่พื้นที่กรุงเทพฯ แต่จะต้องนำ 5 จังหวัดคือ นนทบุรี สมุทรปราการ สมุทรสาคร นครปฐม และปทุมธานี มารวมด้วยเนื่องจากมีอัตราการเพิ่มของผู้ป่วยรุนแรงมากขึ้น ส่วนเรื่องสถานที่ฌาปนกิจศพ ซึ่งมีประเด็นดราม่าในบางพื้นที่ซึ่งขณะนี้ทางกรมศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม แจ้งว่าหากมีการติดขัดอะไรให้แจ้งไปที่เบอร์ 1765 เพื่อประสานอำนวยความสะดวกในการจัดพื้นที่ในการประกอบศาสนกิจให้ได้

โดยคลัสเตอร์สำคัญในกรุงเทพฯ พุ่งสูง คือ ชุมชนแออัด เขตคลองเตย ,ชุมชนบ่อนไก่ เคหะบ่อนไก่ เขตปทุมวัน,ชุมชนบ้านขิง และห้างสรรพสินค้า เขตบางแค, บริษัทเงินติดลิอ เขตราชเทวี, ชุมชนโมราวรรณ เขตสวนหลวง, ศูนย์การค้างPlatinum เขตราชเทวี, ตลาดสำเพ็ง เขตสัมพันธวงศ์, บ. TQM เขตลาดพร้าว และ ธนาคาร UOB เขตภาษีเจริญ

ศบค.ห่วง กทม.ยอดป่วยโควิดพุ่งทุกวัน เปิด 10 เขตติดเชื้อสูงสุด

นพ.ทวีศิลป์ กล่าวว่า ทางศูนย์อนามัยได้แจ้งข้อมูลว่า วันที่ 6 พ.ค. 2564 พบพื้นที่การระบาด กทม. ที่ติดเชื้อสูงสุด 10 อันดับแรก ได้แก่ 1. คลองเตย พบผู้ป่วย 46 ราย 2.ปทุมวัน 24 ราย 3. บางแค 24 ราย 4.ลาดพร้าว 13 ราย 5.ราชเทวี 10 ราย 6.ป้อมปราบศัตรูพ่าย 9 ราย 7.บึงกุ่ม 9 ราย 8. ภาษีเจริญ 8 ราย 9. บางขุนเทียน 8 ราย และ 10. ดินแดง 8 ราย

ศบค.ห่วง กทม.ยอดป่วยโควิดพุ่งทุกวัน เปิด 10 เขตติดเชื้อสูงสุด

โดยที่ประชุมได้ให้ผู้อำนวยการเขตบางแค รายงานสถานการณ์ที่เกิดขึ้น โดยระบุว่า คลัสเตอร์ในเขตบางแค เกิดตั้งแต่มี.ค. โดยเป็นร้านอาหารแห่งหนึ่งที่เชื่อมโยงสถานบันเทิง ระลอกนั้นพบ 57 ราย จากนั้นช่วง มี.ค.ต่อ เม.ย. เกิดการระบาดในตลาดบางแคจำนวนถึง 485 ราย กระทั่งพบคลัสเตอร์ชุมชน ห้างสรรพสินค้า หมู่บ้าน โดยระลอกนี้ 191 ราย ซึ่งกำลังควบคุมอยู่ อยู่ระหว่างควบคุมโรค ตอนนี้ได้ทำงานเชิงรุก ลงไปในแต่ละพื้นที่แล้วเพื่อแยกผู้ติดเชื้อเข้าสู่โรงพยาบาล โดยผู้ติดเชื้อ 1 คน มีข้อมูลว่าจะมีผู้สัมผัสเสี่ยงสูงเฉลี่ย 6 คน จะให้กักตัวที่บ้าน โดยมีเจ้าหน้าที่คอยติดตามอาการ

ศบค.ห่วง กทม.ยอดป่วยโควิดพุ่งทุกวัน เปิด 10 เขตติดเชื้อสูงสุด

ดังนั้นที่ประชุมฯ จึงให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการผู้ป่วย โดยเฉพาะผู้ป่วยสีเหลืองและสีแดง โดยจะติดตั้งระบบต่างๆในโรงพยาบาลสนามที่ศูนย์การประชุมแถวแจ้งวัฒนะ ที่คาดว่าจะสามารถจุผู้ป่วยได้ประมาณ 1,000 เตียง เพื่อรองรับผู้ป่วยหนักที่มีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้น ยืนยันตรงกันว่ายังมีความต้องการเตียงจากนี้ไปถึงกลางเดือนพฤษภาคมมีแนวโน้มพุ่งขึ้น ดังนั้นจึงต้องมีการสร้างเตียงที่อยู่นอกโรงพยาบาล ซึ่งมีการมองไว้ว่าจะเป็นศูนย์การประชุมที่อยู่แถวแจ้งวัฒนะ

นอกจากนี้การนำแผนและกระจายวัคซีน ซึ่งทางที่ประชุมได้ทราบข้อมูลการรายงานจากกระทรวงสาธารณสุขซึ่งมีการวางแผนตั้งแต่เดือนพฤษภาคม-เดือนธันวาคม 2564 โดยที่ประชุมพิจารณาว่าเป็นไปตามแผนเป้าหมายกลุ่มต่างๆ ที่ทางกระทรวงสาธารณสุขกำหนดขึ้น และตรงตามที่นายกรัฐมนตรีในฐานะ ผอ.ศบค. ได้ให้นโยบายเอาไว้ รวมถึงได้มีการเชื่อมประสานกับกระทรวงมหาดไทย นำแผนดังกล่าวส่งต่อให้ทางจังหวัด เพื่อนำไปสู่การจัดตั้งทีมทำงานร่วมกันในระดับปฏิบัติระดับจังหวัด

ศบค.ห่วง กทม.ยอดป่วยโควิดพุ่งทุกวัน เปิด 10 เขตติดเชื้อสูงสุด

ศบค.ห่วง กทม.ยอดป่วยโควิดพุ่งทุกวัน เปิด 10 เขตติดเชื้อสูงสุด

ศบค.ห่วง กทม.ยอดป่วยโควิดพุ่งทุกวัน เปิด 10 เขตติดเชื้อสูงสุด