posttoday

ผู้เชี่ยวชาญชี้ปกป้องผู้สูงอายุไม่ให้ติดโควิด หัวใจสำคัญลดการสูญเสีย

10 สิงหาคม 2563

"ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ" ชี้การปกป้องผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นกลุ่มเสี่ยงที่มีอัตาาการป่วย-เสียชีวิตสูงไม่ให้ติดโควิด เป็นสิ่งสำคัญในการลดการสูญเสีย แต่สังคมไทยเป็นครอบครัวใหญ่อาจทำได้ยาก

เมื่อวันที่ 10 ส.ค. 63 ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แสดงความเห็นเกี่ยวสถานการณ์เชื้อไวรัสโควิด-19 ในประเด็นการปกป้องผู้สูงอายุซึ่งกลุ่มที่มีอัตราการป่วยและเสียชีวิตสูง ไม่ให้ติดเชื้อโควิด-19 โดยมีเนื้อหาน่าสนใจดังนี้

โควิด 19

อัตราการป่วย ตาย ในโรคอุบัติใหม่ ในกลุ่ม coronavirus ได้รวบรวม สไลด์เก่าของผม

มารวมให้ดู จะเห็นว่า ตั้งแต่โรค ทางเดินหายใจอักเสบอย่างรุนแรง (SARS) ปอดบวมตะวันออกกลาง (MERS) มาจนถึง โควิด 19ผู้ป่วยเสียชีวิต จะสูงขึ้นตามอายุ โดยเฉพาะหลังอายุ 50 ปี

ผู้เชี่ยวชาญชี้ปกป้องผู้สูงอายุไม่ให้ติดโควิด หัวใจสำคัญลดการสูญเสีย

เมื่อเปรียบเทียบกับ ไข้หวัดใหญ่สเปน อัตราการป่วยตายจะสูง ในเด็กเล็ก คนหนุ่มสาว และผู้สูงอายุ

แต่ถ้าเป็นไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล จะพบความสูญเสียถึงชีวิต ในเด็กเล็ก กับผู้สูงอายุ

โควิด 19 จึงสร้างปัญหาให้กับผู้ที่มีอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป

กลยุทธ์หนึ่งในการควบคุมการระบาดและความสูญเสีย จะปกป้องผู้สูงอายุ ไม่ให้เป็นโควิด 19

ในสิงคโปร์ มีผู้ป่วยถึง 55,000 ราย มีผู้เสียชีวิตเพียง 27 คน เพราะส่วนใหญ่ เป็นในกลุ่มของแรงงานต่างชาติ มีอายุน้อย อยู่แออัด ปกป้องคนสิงคโปร์ โดยเฉพาะที่มีอายุมาก

ในการระบาดระลอกสองของญี่ปุ่น ญี่ปุ่นก็ใช้นโยบายแบบเดียวกัน อัตราการเสียชีวิตในรอบ 2 มีแนวโน้มลดลงกว่ารอบแรกมาก

แม้จะมีผู้ป่วยวันละเป็นพันราย โดยอัตราการเสียชีวิตรวมขณะนี้ อยู่ที่ 2.2 เปอร์เซ็นต์ น้อยกว่าในอิตาลี อังกฤษ และอเมริกา?

ญี่ปุ่น ไม่ได้มีการปิดบ้านปิดเมืองมาก พยายามควบคุมกลุ่มเสี่ยง ไม่ให้กลุ่มเสี่ยงติดโรค

ไม่แน่ใจว่าสังคมไทย เรารู้ว่าบุคคลในครอบครัว จะติดต่อกันได้ง่าย การป้องกันผู้สูงอายุในครอบครัว จะทำได้ยาก เพราะสังคมไทยยังเป็นครอบครัวใหญ่

อย่างไรก็ตามไม่ควรให้เกิดการระบาดรอบ 2 เป็นดีที่สุด