posttoday

กรมศิลปากร พบโครงกระดูกมนุษย์โบราณและเตาถลุงเหล็ก ยุคก่อนล้านนา

29 กุมภาพันธ์ 2563

โดย... สมาน สุดโต

*************************

นายพนมบุตร จันทรโชติ รองอธิบดีกรมศิลปากร จัดโครงการสื่อมวลชนสัญจร ตามรอยอารยธรรม ล้านนา ว่าด้วยแหล่งโลหะกรรมสถาปัตยกรรม จิตรกรรมล้านนา กับการอนุรักษ์ ณ จังหวัดเชียงใหม่ และจังหวัดลำพูน ระหว่างวันที่ 26-28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 หลังจากแนะนำโครงการแล้ว

กรมศิลปากร พบโครงกระดูกมนุษย์โบราณและเตาถลุงเหล็ก ยุคก่อนล้านนา

โครงกระดูกโบราณ

เจ้าหน้าที่จากสำนักศิลปากรที่ 7 เชียงใหม่ นำโดยนายไกรสิน อุ่นใจจินต์ และคณะ เช่นนางสาวนงไฉน ทะรักษา นักโบราณคดี ปฏิบัติการ ได้นำเข้าสู่บรรยากาศสิ่งที่ค้นพบใหม่ ซึ่งเป็นหลักฐานทางโบราณคดี ที่ยืนยันว่าดินแดนล้านนา มีประวัติล้ำลึกก่อนประวัติศาสตร์ หรือก่อนยุคล้านนา เช่นการขุดค้นทางโบราณคดีในพื้นที่วัดท่ากาน ที่ขุดค้นเมื่อปีงบประมาณ 2556 และ 2562 ได้พบที่ฝังศพหรือสุสาน ที่มีโครกระดูกมนุษย์ฝังอยู่ 35 ศพ มีอายุย้อนหลังถึง พุทธศตวรรษที่ 13-17 จัดว่าเป็นข้อมูลที่สำคัญยิ่งต่อโบราณคดีภาคเหนือ ที่สนันสนุนหลักฐานทางตำนานในช่วงจุดเปลี่ยนทางประวัติศาสตร์ล้านนาได้ดี

กรมศิลปากร พบโครงกระดูกมนุษย์โบราณและเตาถลุงเหล็ก ยุคก่อนล้านนา

กรมศิลป์ได้ย้ายโครงกระดูกมาเก็บไว้ในที่เหมาะสมเพื่อการอนุรักษ์ ดังนั้นทางสำนักศิลปากรที่ 7 เชียงใหม่ จึงจัดทำหลุมศพจำลอง ด้วยการถ่ายภาพ 3 มิติจัดแสดงเพื่อเป็นสื่อสำหรับเผยแพร่เกี่ยวกับแหล่งโบราณคดีเวียงท่ากาน เพราะ ต้องส่งคืนพื้นที่ที่พบให้วัดที่เป็นเจ้าของพื้นที่ เพื่อใช้ประโยชน์ในทางพระศานาต่อไป

ส่วนลักษณะการฝังศพที่พบเห็นนั้น นักโบราณคดีตั้งข้อสังเกตเป็นพิเศษว่าโครงกระดูกอยู่ในท่านอนหงายงอเข่า และนอนตะแคงงอเข่า และยังมีโครงกระดูกม้า ที่สมบูรณ์เท่าที่เคยพบในประเทศนี้ โดยฝังอยู่ใกล้กับโครงกระดูกมนุษย์ ซึ่งบ่งบอกถึงความสัมพันธ์ของคนในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ว่าอาจเกี่ยวข้องกับจีนแผ่นดินใหญ่ เพราะม้านั้นเป็นสัตว์สำคัญ ที่ห้ามการซื้อขาย และไม่มีถิ่นกำเนิดในไทย จึงสันนิษฐานว่าทางจีนส่งให้ผู้นำในภาคพื้นนี้เพื่อตอบแทนก็ได้

กรมศิลปากร พบโครงกระดูกมนุษย์โบราณและเตาถลุงเหล็ก ยุคก่อนล้านนา

เตาถลุงเหล็กอายุ 2300 ปี

กรมศิลปากร ได้เปิดเผยสิ่งที่ค้นพบใหม่สุด ทางด้านโลหกรรม คือค้นพบเตาถลุงเหล็กอายุ 2300 ปี ที่บ้านแม่ลาน อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน เป็นเตาที่สมบูรณ์ที่เคยพบในประเทศไทย หรือในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ก็ได้

นายยอดดนัย สุขเกษม นักโบราณคดีปฏิบัติการ สำนักศิลปากรที่ 7 เชียงใหม่ อธิบายให้คณะสื่อมวลชฟัง่า การพบเตาถลุงเหล็กที่อำเภอลี้ สามารถละลายความสงสัยและความไม่รู้ว่าทำไมผู้คนสมัย ในยุคเจ้าแม่จามเทวี สามารถสร้างเมืองได้ เมื่อพบเตาถลุงเห็ก จึงเป็นกุญแจสำคัญที่ตอบข้อสงสัยได้หมด เป็นข้อมูลใหม่ที่เปิดประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของล้านนา และที่ราบเชียงใหม่

กรมศิลปากร พบโครงกระดูกมนุษย์โบราณและเตาถลุงเหล็ก ยุคก่อนล้านนา

ลักษณะเตาถลุงเหล็กาที่พบอยู่ในบริบทเดิม ค่อนข้างสมบูรณ์ มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 90 เซ็นติเมตร ส่วนสูงประมาณ 180 เซ็นติเมตร จัดว่าใหญ่มาก แสดงว่าการถลุงเหล็กเป็นอุตสาหกรรมของพื้นที่แห่งนี้

ผลผลิตจากเหล็ก เชื่อว่าเป็นสินค้าที่ส่งไปขายนอกพื้นที่เพื่อให้เห็นสภาพที่ตั้งเตาถลุงเหล็ก เจ้าหน้าที่กรมศิลป์ พาคณะสื่อมวลชนไปชมที่พบเตา ที่อญู่ในบริวณบ้านเอกชน ตั้งตรงกันข้ามกับทำการ อบต. ท่าลานด้วย ซึ่งนอกจากที่ตั้งเตาแล้วได้พบตะกรันเหล็กกระจายอยู่ทั่วไปบนพื้นผิวดินจำนวนมาก

นายยอดดนัยสรุปว่า แหล่งถลุงเหล็กบ้านแม่ลาน อำเภอลี้ เป็นแหล่งถลุงเหล็กโบราณที่มีความเก่ามากที่สุดในประเทศไทย

เสน่ห์ จินาจันทร์ ประธานสภาวัฒนธรรมอำเภอลี้ บอกว่าคนพื้นที่ไม่มีความรู้ และคุณค่าของที่กรมศิลป์ค้นพบมากนัก เมื่อได้ฟังข้อสรุป ก็ตระหนักว่าเขตพื้นที่ของเขานั้นเป็นส่วนหนึ่งทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญมาก จึงเป็นเรื่องน่าภูมิใจ

กรมศิลปากร พบโครงกระดูกมนุษย์โบราณและเตาถลุงเหล็ก ยุคก่อนล้านนา

วัดป่าแดด แหล่งภาพเขียนที่โลกรู้จัก

คนไทยทั่วไปชื่นชมพระบารมีพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสิริภาจุฑาภรณ์ ที่เสด็จวัดป่าแดด อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อปฏิบัติพระกรณียกิจคัดลอกภาพจิตรกรรมฝาผนังขนาดเท่าจริง โดยกลุ่มอนุรักษ์จิตรกรรมและประติมากรรม กองโบราณคดี ได้ถวายงานในครั้งนั้นด้วย

พระองค์ทอดพระเนตรเห็นอาคารวิหารชำรุดและภาพจิตรกรรมฝาผนังก็ชำรุดด้วย จึงทรงให้บูรณะวิหาร และอนุรักษ์จิตรกรรม และประติมากรรมปูนปั้นประดับราวบันไดหน้าวิหาร ในคราวเดียวกัน

กรมศิลปากร พบโครงกระดูกมนุษย์โบราณและเตาถลุงเหล็ก ยุคก่อนล้านนา

นางสาวกรอุมา นุตะศรินทร์ นักวิชาการช่างศิลป์ชำนาญการพิเศษ กองโบราณคดี กล่าวว่ากรมศิลป์ ใช้เวลา 8 เดือนอนุรักษ์ภาพจิตรกรรมฝาผนังทั้ง 2 ด้าน และประติมากรรมปูนปั้นประดับราวบันไดหน้าวิหาร ให้กลับอยู่ในสภาพเดิม

เมื่อความทราบถึงพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสิริภาจุฑาภรณ์ ได้ทราบว่าทรงพระพระทัย เพราะจิตรกรรม และประติมากรรม จะเป็นมรดกทางศิลปวัฒนธรรมอันทรงคุณค่าของชาติต่อไป

นางสาวกรอุมา หรือคุณใหม่เล่าว่า ภาพจิตรกรรมฝาผนังวัดป่าแดดเขียนโดยช่างชาวบ้านที่เป็นไทยใหญ่ เล่าเรื่องพระพุทธประวัติ และทศชาติ พระเวสสันดรชาดก วิธรชาดก เป็นต้นตัวละครในภาพและสถาปัตยกรรม สะท้อนแนวคิดแบบพม่า เช่นเครื่องแต่งกายทั้งชายและหญิง รวมทั้งพระเจดีย์ จำลองมาจากพม่า เป็นส่วนใหญ่

กรมศิลปากร พบโครงกระดูกมนุษย์โบราณและเตาถลุงเหล็ก ยุคก่อนล้านนา

ที่น่าประทับใจคือจิตรกรรมบอกวิถีชีวิตของสังคมชนบท เมื่อ พ.ศ. 2432 สมัยรัชกาลที่ 5 ได้สมบูรณ์มากวัดนี้สร้างเมื่อ พ.ศ. 2400 ตั้งที่เลขที่ 99 หมู่ที่ 4 ตำบลท่าผา อำเภออแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่

กรมศิลปากร พบโครงกระดูกมนุษย์โบราณและเตาถลุงเหล็ก ยุคก่อนล้านนา

ปัจจุบันวัดป่าแดดเป็นแหล่งเรียนู้ และทั่วโลกรู้จักมากขึ้น(ชอบคุณกลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ กรมศิลป์ ที่เอเฟื้อข้อมูล และภาพ ประกอบ)

กรมศิลปากร พบโครงกระดูกมนุษย์โบราณและเตาถลุงเหล็ก ยุคก่อนล้านนา