posttoday

"บางกอกโพสต์"จัดเสวนาระดมสมองหาแนวทางปกป้องข้อมูลส่วนบุคคล

25 กันยายน 2562

บางกอกโพสต์จัดเสวนาระดมสมองนักธุรกิจและนักกฎหมายชั้นนำของประเทศ ร่วมเวทีเสวนาเกี่ยวกับการปกป้องข้อมูลส่วนบุคคล

บางกอกโพสต์จัดเสวนาระดมสมองนักธุรกิจและนักกฎหมายชั้นของประเทศร่วมเวทีเสวนาเกี่ยวกับการปกป้องข้อมูลส่วนบุคคล

เมื่อวันที่ 25 ก.ย. นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รมว.ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) เป็นประธานเปิดงาน “BANGKOK POST CONFERENCE 2019 POWER OF DATA: PRIVACY IN A CONNECTED WORLD” พร้อมทั้งเชิญนักธุรกิจชั้นนำของประเทศและนักกฎหมาย ร่วมเวทีเสวนาเกี่ยวกับการปกป้องข้อมูลส่วนบุคคล ณ โรงแรมสยามเคมปินสกี้

"บางกอกโพสต์"จัดเสวนาระดมสมองหาแนวทางปกป้องข้อมูลส่วนบุคคล

นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รมว.ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) กล่าวว่า การจัดตั้งคณะกรรมการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ ตาม พ.ร.บ.รักษาความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ ที่ระบุจะต้องจัดตั้งคณะกรรมการฯ และสำนักงานคณะกรรมการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติให้แล้วเสร็จภายหลังกฏหมายมีผลบังคับใช้ และจะต้องจัดตั้งคณะกรรมการฯ ภายใน 90 วัน ซึ่งครบกำหนดเมื่อวันที่ 26 ส.ค.2563 ที่ผ่านมา โดยขณะนี้ได้ส่งรายชื่อคณะกรรมการทั้ง 7 ท่าน แก่คณะรัฐมนตรี (ครม.) แล้ว และคาดว่าจะสามารถแต่งตั้งได้ภายในสัปดาห์หน้า

ทั้งนี้ ไปดูในพ.ร.บ.ไซเบอร์แล้ว กฏหมายไม่ได้กำหนด ไม่ได้ระบุถึงความผิด ไม่ได้เขียนระบุไว้ใน สนช.หากมีการจัดตั้งไม่ทันตามกฏหมายที่ระบุไว้ 90 วัน ซึ่งขณะนี้คิดว่าอยู่ในกระบวนการตรวจสอบคุณสมบัติของคณะกรรมการฯ

ขณะเดียวกัน การจัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ ได้ของบประมาณจากสำนักงบประมาณปี 2563 ไปแล้ว แต่ได้งบประมาณมาเพียงแค่ 2 ล้านบาท คิดว่าปัจจุบันเจ้าหน้าที่ที่มีอยู่จะต้องดึงมาอยู่ในหน่วยงานสำนักนี้ เนื่องจากกระทรวงไม่มีงบประมาณเพียงพอต่อการจ้างงาน

"บางกอกโพสต์"จัดเสวนาระดมสมองหาแนวทางปกป้องข้อมูลส่วนบุคคล

“ผมเตรียมที่จะทำไกด์บุค เป็นแนวทางในการปฏิบัติ ที่จะทำไปพร้อมๆ กับการออกกฏหมายร่วม โดยเริ่มในวันที่ 10 ต.ค.นี้ จะมีการจัดสัมนาและจัดเวริคชอป เพื่อรวบรวมแนวคิดของผู้เกี่ยวข้องทุกๆ ด้าน เนื่องจากปัญหาจริงๆ ในเรื่องนี้คือความพร้อมของหน่วยงานรัฐที่ยังไม่พร้อม เราจะทำควบคู่ไปด้วยกัน ทำกฏหมายลูกไปด้วย เพราะเรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญในการป้องกันการเจาะข้อมูลส่วนบุคคล” รมว.ดีอีเอส กล่าว

สำหรับ พ.ร.บ.ไซเบอร์ฯ เป็นกฏหมายและกลไกลการเฝ้าระวัง ป้องกัน รับมือและลดความเสี่ยงจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ ที่อาจเกิดกับระบบโครงสร้างพื้นฐานสำคัญทางอินเทอร์เน็ต และส่งผลเสียหายในระดับประเทศ ทั้งด้านความมั่นคง ด้านบริการภาครัฐ ด้านการเงิน ด้านการขนส่ง ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการโทรคมนาคม ด้านพลังงานและสาธารณูปโภค ด้านสาธารณะสุข

"บางกอกโพสต์"จัดเสวนาระดมสมองหาแนวทางปกป้องข้อมูลส่วนบุคคล

"บางกอกโพสต์"จัดเสวนาระดมสมองหาแนวทางปกป้องข้อมูลส่วนบุคคล