posttoday

นักวิชาการเปิดภาพความเดือดร้อนชาวบ้าน ชี้ทำไมเสียงถึงไม่ค่อยเป็นผล

25 สิงหาคม 2562

นักสิ่งแวดล้อม เผยภาพความเดือดร้อนชาวบ้านที่อยู่ติดโครงการคอนโดหรูกลางกรุง ชี้เหตุทำไมประชาชนร้องแต่ถึงเอาผิดไม่ได้

นักสิ่งแวดล้อม เผยภาพความเดือดร้อนชาวบ้านที่อยู่ติดโครงการคอนโดหรูกลางกรุง ชี้เหตุทำไมประชาชนร้องแต่ถึงเอาผิดไม่ได้

เมื่อวันที่ 25 ส.ค. นายสนธิ คชวัฒน์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสิ่งแวดล้อมและคุณภาพ ชมรมนักวิชาการสิ่งแวดล้อมไทย โพสต์เฟซบุ๊กบอกเล่าถึงความเดือดร้อนของประชาชนครอบครัวหนึ่ง พร้อม ว่า เรื่องคอนโดมิเนี่ยมกับกระบวนการอีไอเอแบบไทยๆ

1.รองเลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (คคบ.) เปิดเผยว่าในปีงบประมาณระหว่างเดือน ต.ค.2560-ก.ย. 2561 พบว่าธุรกิจอสังหาริมทรัพย์มีการร้องเรียนมากที่สุด 2,384 เรื่อง โดยพบว่าประเภทย่อยที่มีการร้องทุกข์เข้ามามากที่สุดคือ คอนโดมิเนียม 1,141 เรื่อง

2.การร้องเรียนส่วนใหญ่เป็นเรื่องผลกระทบสิ่งแวดล้อม ขณะก่อสร้างทั้งที่คอนโดมิเนี่ยมที่เกิน 80 ห้องหรือมีพื้นที่ใช้สอยตั้งแต่ 4000 ตารางเมตรขึ้นไปต้องทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) และต้องผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการผู้ชำนาญการของ กทม.หรือของ สผ.(สนง.นโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม) เมื่อเห็นชอบแล้ว มาตราการในรายงาน EIA ถือเป็นเงื่อนไขการอนุญาต แต่ทำไมจึงยังเกิดเรื่องร้องเรียนขึ้นมากมาย

ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสิ่งแวดล้อม ระบุว่า 3.สาเหตุที่สำคัญคือ 3.1.หน้าที่ของคชก.คือพิจารณาจากรายงานฯที่ที่ปรึกษา / เจ้าของโครงการจัดทำเสนอมาเท่านั้น หากเห็นว่ามาตรการป้องกันและลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมครบถ้วนและดี ก็เห็นชอบกับรายงานฯได้

3.2.หน่วยงานอนุญาตคิดว่าเรื่องสิ่งแวดล้อมของโครงการนั้นมีผู้ชำนาญการ หรือคชก.ดูแลแล้ว และให้ความเห็นชอบกับรายงานฯแล้วรวมทั้งไม่มีประเด็นใดขัดแย้งกับ พรบ.ควบคุมอาคารจึงออกใบอนุญาตให้ก่อสร้างได้โดยข้อกำหนดของมาตรการในรายงานEIA ถือเป็นเงื่อนไขท้ายใบอนุญาตที่เจ้าของโครงการต้องปฎิบัติทั้งหมด

3.3.ช่วงการก่อสร้าง เจ้าของโครงการส่วนใหญ่จะผลักภาระค่าใช้จ่ายให้ผู้รับเหมาก่อสร้างไปจ้างที่ปรึกษามาทำการตรวจสอบการปฎิบัติตามมาตรการป้อง กัน และลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมตามที่กำหนดไว้ในรายงาน รวมทั้งทำการตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อมเพื่อส่งให้หน่วยงานอนุญาต คือกทม.และหรือสผ.พิจารณาทุก6เดือน..ในเมื่อผู้รับเหมาก่อ สร้างเอง จ้างตรวจสอบการทำงานของตนเองและส่งให้เจ้าของโครงการเพื่อส่งต่อให้ราชการพิจารณา..ก็เลยไม่ค่อยมีปัญหา ทุกอย่างรายงานออกมาดีหมด

3.4.เมื่อประชาชนได้รับความเดือดร้อน ส่วนใหญ่ไปร้องเรียนหน่วยงานอนุญาต เจ้าของโครงการก็อ้างว่า ได้ปฎิบัติตามมาตรการในรายงานฯครบถ้วนแล้วถูกกฎหมายทั้งหมด และผลการตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่วัดเองก็ไม่เกินมาตรฐาน

ดังนั้นจึงเอาผิดไม่ได้ ทั้งๆที่มาตรการฯที่กำหนดในรายงานอีไอเอนั้นประชาชนบางส่วนไม่ได้เห็นด้วยทั้งหมดเพียงแต่ คชก.ได้เห็นชอบกับรายงานตามที่ที่ปรึกษาและเจ้าของโครงการเสนอมาแล้วเท่านั้น ก็ถือว่าเป็นกฎหมายหรือเป็นเงื่อนไขที่สั่งให้ทำ

4.ภาพที่ลงให้ดูเป็นเรื่องความเดือดร้อนของประชาชนที่มีบ้านติดกับพื้นที่ก่อ สร้างคอนโดมิเนียมสูง 40 ชั้นในซอยทองหล่อ เขตวัฒนา กทม. เขาร้องเรียนเรื่องผลกระทบสิ่งแวดล้อมมาตั้งแต่ขั้นตอนทำรายงานอีไอเอแล้วจนรายงานอีไอเอได้รับความเห็นชอบก็ยังตกลงกันไม่ได้..แล้วใครจะช่วยเขา