posttoday

กรีนพีซเผยภาพถ่ายดาวเทียมฝุ่น PM 2.5 ต้นปี 62 จี้รัฐเร่งปรับมาตรฐานใหม่

26 มกราคม 2562

กรีนพีซเผยภาพดาวเทียมความเข้มข้นฝุ่นพิษ ชี้ไทยมาตรฐานต่ำ ร้องรัฐปรับค่าฝุ่น PM 2.5 ใหม่

กรีนพีซเผยภาพดาวเทียมความเข้มข้นฝุ่นพิษ ชี้ไทยมาตรฐานต่ำ ร้องรัฐปรับค่าฝุ่น PM 2.5 ใหม่

กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้เปิดเผยข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียวที่แสดงให้เห็นอิทธิพลหมอกควันข้ามแดนจากประเทศกัมพูชา และหมอกควันจากกิจกรรมในพื้นที่ของประเทศไทยเอง เช่น การเผาในที่โล่งในภาคอีสานและภาคกลาง

รวมถึงแหล่งกำเนิด PM2.5 ต่างๆ ที่ยังคงสร้างวิกฤตคุณภาพอากาศในกรุงเทพมหานครและพื้นที่หลายส่วนของประเทศไทยต่อเนื่อง

กรีนพีซเผยภาพถ่ายดาวเทียมฝุ่น PM 2.5 ต้นปี 62 จี้รัฐเร่งปรับมาตรฐานใหม่

แผนที่ดังกล่าวแสดงให้เห็นการกระจายตัวของความเข้มข้นของฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) ซ้อนทับกับการประมาณค่าเชิงพื้นที่ของจุดความร้อน (Hotspot)ในประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้าน(สสป ลาว เมียนมาและกัมพูชา ตรวจหาจากข้อมูลดาวเทียม TERRA-AQUA ระบบ MODIS ผลิตภัณฑ์ MOD04 ช่วงวันที่ 11-17 มกราคม พ.ศ.2562 ซึ่งเกณฑ์ที่ใช้ในการแสดงค่าความเข้มข้นครั้งนี้อ้างอิงข้อแนะนำขององค์การอนามัยโลก ที่ถือว่าความเข้มข้นเฉลี่ย 24 ชั่วโมงของ PM2.5 มากกว่า 25 ไมโครกรัม/ลบ.ม. เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ

นอกจากนี้ยังพบว่าหลายเมืองในประเทศไทยเผชิญปัญหาค่าฝุ่น PM2.5 ในระดับสูงคือ  1. ต.มหาชัย อ.เมือง จ.สมุทรสาคร 2. ต.แม่ปะ อ.แม่สอด จ.ตาก 3. ต.ทรงคนอง อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ 4. ต.ศรีภูมิ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 5. ต.ช้างเผือก อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 6. ต.แม่เมาะ อ.แม่เมาะ จ.ลำปาง 7. ต.หน้าพระลาน อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.สระบุรี 8. ริมถนนดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพฯ 9. ต.ในเมือง อ.เมือง จ.ขอนแก่น และ 10. ริมถนนอินทรพิทักษ์ เขตธนบุรี กรุงเทพฯ

กรีนพีซเผยภาพถ่ายดาวเทียมฝุ่น PM 2.5 ต้นปี 62 จี้รัฐเร่งปรับมาตรฐานใหม่

พื้นที่เหล่านี้มีจำนวนวันที่มีความเข้มข้นของ PM2.5 ที่เกินมาตรฐานของประเทศไทยที่กำหนดไว้ 50 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร เฉลี่ย 24 ชั่วโมงอยู่ระหว่าง 19-68 วัน

ตรงข้ามกับมาตรฐานขององค์การอนามัยโลกระบุว่า ค่า PM2.5 เฉลี่ย 24 ชั่วโมงไม่ควรเกินค่ามาตรฐาน 25 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตรมากกว่า 3 วันในช่วงเวลา 1 ปี แสดงให้เห็นถึงความเสี่ยงทั้งในระยะสั้น และระยะยาวของประชากรที่อาศัยในพื้นที่ดังกล่าวที่ต้องสัมผัสกับค่าฝุ่น PM2.5 เกินมาตรฐานเป็นระยะเวลานาน หากไม่มีมาตรการจัดการมลพิษทางอากาศที่เหมาะสม จะส่งผลต่อวิกฤตด้านสาธารณสุขให้ขยายวงกว้างมากขึ้น

กรีนพีซยังเรียกร้องให้ทางภาครัฐที่เกี่ยวข้องดำเนินการอย่างเร่งด่วนในการยกร่างมาตรฐานในบรรยากาศของ PM2.5 ขึ้นใหม่สำหรับประเทศไทย โดยกำหนดค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมงเป็น 35 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร และค่าเฉลี่ยรายปีเป็น 12 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ภายในปี พ.ศ. 2562

พร้อมทั้งกำหนดมาตรการดำเนินการกำจัดฝุ่นพิษดังกล่าวอย่างชัดเจนในระยะยาว และเป็นรูปธรรม