posttoday

"นมแม่ต้องตรวจทุกครั้งที่บริจาค" อาจารย์หมอย้ำผลตรวจครั้งก่อนไม่ได้รับประกันว่าวันนี้ปกติ

09 ตุลาคม 2561

ศาสตราจารย์นายแพทย์ ยง ภู่วรวรรณ โพสต์ข้อความให้ความรู้เรื่องการบริจาคนมแม่ ชี้การบริจาคจำเป็นต้องตรวจทุกครั้ง ถึงแม้ว่าบริจาคครั้งที่แล้วตรวจแล้วปกติ

ศาสตราจารย์นายแพทย์ ยง ภู่วรวรรณ โพสต์ข้อความให้ความรู้เรื่องการบริจาคนมแม่ ชี้การบริจาคจำเป็นต้องตรวจทุกครั้ง ถึงแม้ว่าบริจาคครั้งที่แล้วตรวจแล้วปกติ

ศาสตราจารย์นายแพทย์ ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กYong Poovorawan ให้ความรู้เกี่ยวกับการบริจาคนมแม่ โดยระบุว่า การบริจาคน้ำนมแม่ ต้องผ่านการตรวจทุกครั้งที่บริจาค ถึงแม้ว่าการบริจาคครั้งที่แล้วตรวจแล้วปกติ พร้อมยกตัวอย่างประกอบไว้อย่างน่าสนใจ ซึ่งข้อความทั้งหมดมีดังนี้

การบริจาคน้ำนมแม่ ชีววัตถุ เช่น เลือด น้ำนมแม่ อวัยวะต่างๆ สามารถแพร่โรคจากคนหนึ่งไปคนหนึ่งได้เลือด หรือ ชีววัตถุที่บริจาค ต้องตรวจทุกครั้งที่บริจาค ถึงแม้ว่าบริจาคครั้งที่แล้วตรวจแล้วปกติ

การตรวจเลือดจะรวมไปถึงตัวเลือดที่บริจาคด้วย ต้นทุนในการตรวจมากมาย HIV HCV HBV etc

ตรวจถึง (NAT) DNA RNA ที่มีอยู่น้อยนิด โดยการตรวจสุขภาพจะไม่ตรวจกัน เพื่อลดความเสี่ยงของผู้รับให้น้อยที่สุด

การตรวจครั้งที่ผ่านมาว่าปกติ ไม่ได้บอกว่าวันนี้จะปกติ และยังมีโรคอีกจำนวนมาก ที่ไม่ได้ตรวจ หรือไม่สามารถตรวจได้ด้วยเทคนิคปัจจุบัน

เหตุนี้ในน้ำนมก็เช่นเดียวกัน ถือเป็นสารคัดหลั่ง และระหว่างปั๊ม อาจจะมีบาดแผลเล็กๆน้อยๆที่มีเลือดซึมออกมาก็ได้

ขอยกตัวอย่าง ในอดีตที่ผ่านมา การผลิต growth ฮอร์โมน GH แต่เดิมใช้ต่อมใต้สมองของมนุษย์ปกติแข็งแรง ที่เสียชีวิตแล้ว เอามาสกัดเป็น GH เพื่อกระตุ้นความสูงให้กับเด็ก เป็นผู้บริจาคที่แข็งแรง ไม่มีโรค และตรวจไวรัสเท่าที่ทราบขณะนั้น ผลปรากฏว่าต่อมาในภายหลังที่ได้มีการใช้กันมานานกว่า 10 ปี ก็พบว่าผู้ที่ได้รับ HG เป็นโรคสมองฝ่อ CJD Creutrzfeldt-Jakob Disease มากกว่า 160 คน จึงรู้ว่าเกิดจากไวรัสที่โตช้า ที่ปนเปื้อนมาจากผู้บริจาค แต่กว่าจะรู้ ผู้รับก็ป่วยเป็นโรคสมองฝ่อ มากกว่า 160 คน

อีกกรณีหนึ่ง คือการใช้น้ำเหลือง จากผู้บริจาคที่ได้มีการตรวจกรองอย่างดี มาทำเป็นเซรั่ม ป้องกันเกี่ยวกับตัวเหลืองในทารก ที่มีกลุ่มเลือดต่างกัน Rh incompatibility และทำอิมมูโนโกลบูลินป้องกันโรค เมื่อใช้ไปเป็นจำนวนมาก และต่อมาอีกหลายสิบปีต่อมาจึงรู้ว่า ผู้ที่ได้รับเป็นไวรัสตับอักเสบซี หลายพันคน เพราะตอนผลิตขณะนั้นไม่มีวิธีการตรวจไวรัสตับอักเสบซี จึงไม่ทราบ มีการแพร่กระจายโรคไปเป็นจำนวนมาก และมีการฟ้องร้องกันต่อมา

ตัวอย่างอีกอันหนึ่งคือ วัวบ้า Mad cow disease ก็เป็นอีกโรคหนึ่ง ที่สามารถแพร่ได้ทางชีววัตถุ เช่นเลือด น้ำนม ผู้รับอาจจะไปแสดงอาการในอีก 20-30 ปีข้างหน้า

คนที่แข็งแรงดี ไม่ได้เป็นการรับประกัน จุลชีพ ที่อยู่ในร่างกาย และยังไม่แสดงอาการ

ตรวจเมื่ออาทิตย์ที่แล้ว ก็ไม่ได้รับประกันว่าวันนี้ปกติเหมือนอาทิตย์ที่แล้ว จึงต้องตรวจทุกครั้งที่บริจาค ค่าใช้จ่ายจะสูงมาก และบางโรคก็ทำได้ยาก และยังมีโรคที่ไม่รู้หรืออาจจะรู้ทีหลังเกิดขึ้นได้อีก

ดังนั้น ชีววัตถุ เช่น เลือด อวัยวะ สิ่งคัดหลั่งที่ออกจากมนุษย์ จะถูกนำไปใช้ทางการแพทย์ในกรณีที่จำเป็นจริงๆ ที่ไม่สามารถหาสิ่งอื่นมาทดแทนได้