posttoday

คุณแม่เผยการบ้านเด็กป.1 อธิบายและเปรียบเทียบให้ลูกเข้าใจยาก

23 กันยายน 2561

คุณแม่ปรึกษานักวิชาการด้านการศึกษา หลังพบการบ้านลูก ป.1 ยากต่อการอธิบายและเปรียบเทียบให้เข้าใจ

คุณแม่ปรึกษานักวิชาการด้านการศึกษา หลังพบการบ้านลูก ป.1 ยากต่อการอธิบายและเปรียบเทียบให้เข้าใจ

เพจ Education Facet โดย ดร.วิโรจน์ ลักขณาอดิศร นักวิชาการด้านการศึกษา ซึ่งมักนำเสนอเรื่องราวของการเรียนและพัฒนาการของลูก ได้นำข้อสอบของเด็ก ป.1 ที่คุณแม่หนักใจในการอธิบายเเละสอบถามเข้ามา มีโจทย์ระบุว่า

“แก้วตาขายข้าวสาร 2 วัน วันจันทร์ และวันอังคาร รวมกันได้ 10 กิโลกรัม วันจันทร์ขายข้าวสารได้มากกว่าวันอังคาร 2 กิโลกรัม วันจันทร์แก้วตาขายข้าวสารได้กี่กิโลกรัม และวันอังคารขายข้าวสารได้กี่กิโลกรัม”

คุณแม่ท่านหนึ่งได้นำเรื่องมาปรึกษาว่า จะต้องสอนเด็กอย่างไรให้เข้าใจโจทย์นี้ โดยหลายคนมองว่า ข้อสอบดังกล่าวยากสำหรับเด็ก ป.1 มากเกินไป เพราะวิธีการคิดอาจต้องใช้สมการเลยทีเดียว ขณะที่เพจดังกล่าวบอกว่า สิ่งที่ยากมากๆ ก็คือ จะต้องใช้วิธีการอธิบาย การยกตัวอย่าง หรือการเปรียบเทียบอย่างไร ให้เด็กเข้าใจ และมั่นใจว่าตัวเองจะทำโจทย์ในลักษณะนี้ได้ด้วยตนเอง

ขออนุญาตเฉลย โดยโพสต์เป็นรูปภาพเอาไว้นะครับ โดยแต่ละวิธีที่ผมเฉลย นั้นมีประเด็นสำคัญ ดังต่อไปนี้

วิธีที่ 1: ผมใช้ Bar Model ของประเทศสิงคโปร์ มาใช้ในการอธิบาย ซึ่งจะทำให้เด็กเข้าใจ และนึกภาพตามได้

วิธีที่ 2: เด็ก ป.1 จะมีความเข้าใจเรื่อง Number Bond มาอยู่ก่อนแล้ว ว่า 10 นั้นจะมีจำนวนนับอยู่ 2 จำนวนที่รวมกันได้ 10 อันได้แก่ 9 และ 1, 8 และ 2, 7 และ 3, 6 และ 4, 5 และ 5, 4 และ 6, 3 และ 7, 2 และ 8, 1 และ 9

เราสามารถให้เด็กไล่ Number Bond ของ 10 ให้ครบก่อนก็ได้ครับ หรือถ้าจะเหนือชั้นกว่า ก็ชี้ให้เด็กไล่แค่ 9 และ 1, 8 และ 2, 7 และ 3, 6 และ 4, 5 และ 5 ก็พอครับ เพราะไม่มีความจำเป็นที่จะต้องไล่ต่อ เพราะโจทย์บอกว่าวันจันทร์ขายได้มากกว่าวันอังคาร

จากนั้นก็ให้พิจารณาว่า Number Bond อันไหน ที่วันจันทร์มากกว่าวันอังคารอยู่ 2

วิธีที่ 3: คล้ายๆ กับ วิธีที่ 2 ครับ แต่คราว ครูอาจจะสอนให้เด็กเขียนเป็นตารางขึ้นมา แล้วค่อยๆ ไล่เรียงจำนวนอย่างเป็นระเบียบ ทั้งวิธีที่ 2 และ 3 ข้อดีของสองวิธีนี้ ก็คือ เด็กจะได้ฝึกไล่เรียงจำนวนอย่างเป็นระเบียบ จากมากมาหาน้อย ไม่ใช่ไล่สุ่มๆ กระจัดกระจาย หากเด็กถูกฝึกให้ไล่เรียงจำนวนอย่างเป็นระเบียบแล้ว จะเป็นพื้นฐานที่ดีในการจัดระบบความคิดเป็นอย่างมากเลยนะครับ ซึ่งจะทำให้เด็กพัฒนาศักยภาพในการแก้โจทย์ปัญหาที่ซับซ้อนหลายชั้น หรือโจทย์ที่ต้องมีการแบ่งกรณิคิด ได้ดีมาก

วิธีที่ 4: ผมใช้สมการแก้ครับ ซึ่งผมย้ำเอาไว้ว่า ไม่ว่าจะกำหนดให้ วันจันทร์ขายได้ x + 2 วันอังคารขายได้ x หรือจะกำหนดให้วันจันทร์ขายได้ x วันอังคารขายได้ x - 2 อย่างไรก็ตาม ก็ไม่ควรใช้วิธีนี้ในการอธิบาย หรือสอนเด็ก ป.1 ครับ

จริงๆ เท่าที่ผมสอบถามจากคุณพ่อคุณแม่บางท่าน ที่ลูกใช้หนังสือเรียนของ สสวท. เล่มนี้ ก็พบว่ามีครูที่เฉลยผิด โดยตอบว่า วันจันทร์ขายได้ 7 กิโลกรัม วันอังคารขายได้ 3 กิโลกรัมอยู่เหมือนกันนะครับ และหลายโรงเรียนแม้ว่าจะเฉลยได้อย่างถูกต้องว่าวันจันทร์ขายได้ 6 กิโลกรัม และวันอังคารขายได้ 4 กิโลกรัม แต่ก็ไม่มีวิธีในการอธิบายให้เด็กเข้าใจครับ หลายโรงเรียนเฉลยเป็นตัวเลขให้กับนักเรียนเฉยๆ

คุณแม่เผยการบ้านเด็กป.1 อธิบายและเปรียบเทียบให้ลูกเข้าใจยาก

 

คุณแม่เผยการบ้านเด็กป.1 อธิบายและเปรียบเทียบให้ลูกเข้าใจยาก

คุณแม่เผยการบ้านเด็กป.1 อธิบายและเปรียบเทียบให้ลูกเข้าใจยาก



คุณแม่เผยการบ้านเด็กป.1 อธิบายและเปรียบเทียบให้ลูกเข้าใจยาก

 

คุณแม่เผยการบ้านเด็กป.1 อธิบายและเปรียบเทียบให้ลูกเข้าใจยาก