posttoday

รมว.เกษตรส่งเรื่องดัน "ปลากัด" เป็นสัตว์น้ำประจำชาติเข้าครม.แล้ว

19 กันยายน 2561

"กฤษฎา"เผยเซ็นเรื่องเสนอ "ปลากัด" เป็นปลาประจำชาติ เสนอเลขาธิการครม.แล้ว แจงล่าช้าเพราะเกิดความเข้าใจผิดในขั้นตอนเอกสาร

"กฤษฎา"เผยเซ็นเรื่องเสนอ "ปลากัด" เป็นปลาประจำชาติ เสนอเลขาธิการครม.แล้ว แจงล่าช้าเพราะเกิดความเข้าใจผิดในขั้นตอนเอกสาร

นายกฤษฎา บุญราช รมว.เกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ได้เซ็นหนังสือเสนอเรื่องปลากัดเป็นสัตว์น้ำประจำชาติ ให้เลขาธิการสำนักงานคณะรัฐมนตรีแล้ว ซึ่งอยู่ที่เลขาธิการครม.จะบรรจุเข้าวาระพิจารณาเมื่อไหร่ ซึ่งเรื่องนี้ต้องชี้แจงว่าไม่ได้ช้าที่หน้าห้องของรมว.เกษตรฯ แต่เป็นความเข้าใจผิดของเจ้าหน้าที่กรมประมง ในเรื่องการส่งหนังสือต่อครม. ที่จะต้องแจ้งรายงานผลการหารือของหนังสือเวียนของแต่ละหน่วยงานที่มีความเห็นเข้ามาด้วย ซึ่งเรื่องนี้เจ้าหน้าที่อ้างว่า เสนอเรื่องเดือน ส.ค. 61 แต่เรื่องเพิ่งเวียนกลับมาที่ห้องตนเมื่อ 6ก.ย. 61 จึงไม่ได้ค้างแบบที่นำไปด่ากันโดยไม่ทราบข้อเท็จจริง

"ในเรื่องการเสนอปลากัดเป็นสัตว์น้ำประจำชาติ ไม่มีใครค้าน เพราะทุกคนก็เห็นด้วย จึงให้กรมประมงนำเรื่องกลับไปหารือกับคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ และกรมทรัพยสินทางปัญหาว่าจะสามารถดำเนินการได้หรือไม่ ซึ่งกรมได้อ้างอิงในเรื่องเศรษฐกิจ ในเรื่องผลดีของการกระตุ้นส่งออก แต่ในเชิงเอกลักษณ์ ที่จะเสนอต้องทำด้วย ร่วมถึงการแสดงให้เห็นถึงความโดดเดด่นของปลากัดไทยที่นักวิชาการหรือผู้ประกอบการสามารถเพาะและกำหนดลักษณะเฉพาะได้เป็นต้น ซึ่งเรื่องเหล่านี้เข้าใจว่ากรมมีข้อมูล ซึ่งที่ออกมาโวยมาด่าผมกัน เพราะเข้าใจผิดเรื่องขั้นตอนเอกสาร ทางเจ้าหน้าที่ต้นทางก็เข้าใจแล้ว และต้องการขอโทษ แต่ผมคงไม่พุดอีกแล้ว ขอเจ็บคนเดียว"นายกฤษฎากล่าว

ด้านแหล่งข่าวกรมประมงกล่าวว่า เจ้าหน้าที่ของกรมก้เสียใจที่มีการสื่อสารกันพลาด เพราะเข้าใจผิด เพราะเรื่องการเดินเอกสารราชการ ต้องมีเลขรับ ทั้งเรื่องเสนอเข้า เรื่องถอนออก แต่ไม่ได้ตรวจสอบ ทำให้เกิดความไม่พอใจกันและสื่อสารกันผิด ที่ผ่านมาก็ต้องยอมรับว่าข้อมูลที่กรมจะเสนอไม่ครบรอบด้าน ต้องสามารถชี้เฉพาะว่า เป็นสัตว์น้ำในไทย หรือเป็นสัตว์ประจำถิ่นของไทย เพราะข้อมูลเรื่องสนับสนุน จะยกเรื่องความผูกพันเพียงอย่างเดียวไม่ได้ นอกจากนั้นหลายฝ่ายก็เห็นว่า เบื้องต้นควรมีการนำไปจะสิทธิบัตร ในเรื่องของขั้นตอนการพัฒนาพันธุ์ ความสามารถในการกำหนดลักษณะดี เช่นการสามารถเพาะและกำหนดสีได้ เช่นสีธงชาติ เป็นต้น เพื่อป้องกันกรณีที่ต่างประเทศที่ไทยส่งออกไปมาก นำไปจดสิทธิบัตรก่อน