posttoday

นักวิชาการสาธารณสุข เผยอีกหนึ่งปัญหาในวิชาชีพ"หมออนามัย"

11 กันยายน 2561

ริซกี สาร๊ะ เลขาธิการนักวิชาการสาธารณสุข(ประเทศไทย) แสดงความเห็นเชิงตัดพ้อต่ออาชีพหมออนามัยทำงานบริการสาธารณสุข

ริซกี สาร๊ะ เลขาธิการนักวิชาการสาธารณสุข(ประเทศไทย) แสดงความเห็นเชิงตัดพ้อต่ออาชีพหมออนามัยทำงานบริการสาธารณสุข

เมื่อวันที่ 11 ก.ย. นายริซกี สาร๊ะ เลขาธิการนักวิชาการสาธารณสุข(ประเทศไทย) และเลขาธิการสมาพันธ์บุคลากรสาธารณสุขชายแดนใต้ โพสต์เฟซบุ๊กเชิงตัดพ้อต่ออาชีพหมออนามัยทำงานบริการสาธารณสุข ภายใต้พ.ร.บ.วิชาชีพสาธารณสุขชุมชน พ.ศ.2556

เนื้อหาทั้งหมดระบุว่า

เดิมหมออนามัยทำงานบริการสาธารณสุข ดูแลสุขภาพประชาชนมาเป็นร้อยปีตั้งแต่มีสุขศาลา จนมาเป็นสถานีอนามัย และรพ.สต(ภาพที่ 1)

ต่อมามีกฏหมายระบุให้ทำงานภายใต้ พรบ.วิชาชีพเวชกรรม 2529(ภาพ ที่ 2) หมวดที่ 5 มาตรา 26(4) ซึ่งระบุถึงบุคคลในสังกัดต่างๆที่ทำงานภายใต้ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ฯตามที่รัฐมนตรีประกาศ

ทั้งนี้ในระเบียบกระทรวงสาธารณสุข ปี 2535(ภาพที่3-4) ได้ระบุถึงบทบาทของหมออนามัยว่า สามารถรักษาพยาบาลเบื้องต้น ให้น้ำเกลือ ฉีดเซรุ่ม ฉีดวัคซีน ฉีดยาคุม ผ่าฝี ทำคลอด เจาะเลือด ปฐมพยาบาลสารพิษฯลฯ ภายใต้การดูแลของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม

แต่ปัจจุบันเรามีพรบ.วิชาชีพสาธารณสุขชุมชน2556(ภาพที่ 5-6) ซึ่งกำหนดบทบาทที่ชัดเจนมากขึ้น ภายใต้กฏหมายที่ชัดเจนในการรองรับหมออนามัยและนักสาธารณสุขมากขึ้น โดยอ้างอิงบทบาทตามพรบ.และระเบียบเดิมที่ปฏิบัติมานาน มาระบุ ในมาตรา 3 เพื่อความชัดเจนในการทำงานที่ถูกระเบียบตามกฏหมาย และคำนึงถึงประชาชนที่จะได้รับประโยชน์ จากการบริการที่มีคุณภาพมาตรฐานตามจรรยาบรรณวิชาชีพมากขึ้น

โดยในพรบ.ในมาตรา 3(3)มีการใช้คำว่าบำบัดรักษาโรคเบื้องต้น แทนคำเดิมเพื่อความชัดเจนในวิชาชีพสาธารณสุขชุมชน โดยมีการควบคุมผู้ประกอบวิชาชีพตามกฏหมายที่ชัดเจนและปฏิบัติได้จริง

เพราะในทางปฏิบัติจริงๆ วิชาชีพเวชกรรมเอง ก็ไม่มีเวลามาควบคุมการปฏิบัติงานในพื้นที่อย่างแท้จริง

และในรายชื่อคณะกรรมการก็มีตัวแทนแพทยสภา สภาเภสัชกรรม สภาพยาบาล เข้ามาช่วยพิจารณาบทบาทของนักสาธารณสุขให้ชัดเจนมากขึ้นไม่ทับซ้อนวิชาชีพเดิมอยู่แล้ว

สอดคล้องกับที่นายไพศาล บางชวดเคยกล่าวตอนขับเคลื่อนพรบ.วิชาชีพสาธารณสุขชุมชนจนผ่าน ในปี 2556ว่า(ภาพที่ 7-8) โดยนิตินัย หมออนามัยทำงานภายใต้ระเบียบกระทรวงสาธารณสุข 2539 ภายใต้การควบคุมของวิชาชีพเวชกรรม มานาน ทั้งการรักษาพยาบาล การผ่าฝี ทำคลอดฉีดวัคซีน ฉีดยาคุม เจาะเลือดฯลฯ จะเห็นได้ว่าโดยข้อเท็จจริง หมออนามัยทำหน้าที่นี้มานานแล้ว

การมีพรบ.วิชาชีพคือการให้การรับรองการปฏิบัติงานที่ถูกระเบียบ ถูกกฏหมาย และประชาชนได้รับประโยชน์สูงสุดครับ

เพราะฉะนั้นการที่ภาคีเครือข่ายวิชาชีพ นำโดยนายกสภาพยาบาล รวมทั้งสบส.ทักท้วง ประเด็นอนุบัญญัติ เกี่ยวกับการบำบัดโรคเบื้องต้นทั้ง 4 ฉบับ ว่าก้าวล่วงจึงไม่ถูกต้อง. เพราะเป็นการร่างกฏหมายโดยอ้างอิงกฏหมายเดิมและบทบาทหน้าที่เดิมที่ทำมานานเป็นร้อยปีแล้ว.

และประเด็นบำบัดโรคเบื้องต้น ก็ผ่าน2 สภาจนเป็นพรบ.ออกมาชัดเจนแล้ว

นอกจากนี้การทักท้วงควรจะชี้ชัดเจตนารมณ์ ว่าต้องการจะให้ปรับแก้อย่างไร หรือมีขอบเขตการปฏิบัติงานอย่างไร. มากกว่าการทักท้วงกฏหมายอนุบัญญัติทั้งฉบับ.โดยไม่มีรายละเอียดว่าก้าวล่วงอย่างไร ทำให้หมออนามัยเกิดความลำบากใจในการทำงานมากขึ้น แทนที่จะปฏิบัติงานบริการประชาชนได้อย่างสบายใจ

ในระดับพื้นที่้ นักสาธารณสุขและพยาบาลในรพ.สต.ทำงานแทนกัน เคียงคู่กัน. ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน. ไม่ขัดแย้งกัน. เพื่อบริการประชาชนในถิ่นกันดาร

แต่เหตุใดตัวแทนหรือแกนนำบางวิชาชีพ จึงได้ขัดขวางกฏหมายซึ่งจะทำให้นักสาธารณสุขมีตัวตน มีพื้นที่ยืนที่ชัดเจน หรือมีกฏหมายรองรับเสียที.

อีกทั้งเป็นการขัดขวางประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับในการเข้าถึงบริการสาธารณสุขที่มีคุณภาพมาตรฐานจากผู้ประกอบวิชาชีพสาธารณสุขชุมชนที่มีการควบคุมกำกับจากสภาการสาธารณสุขชุมชนอย่างชัดเจนตามกฏหมายด้วย

 

นักวิชาการสาธารณสุข เผยอีกหนึ่งปัญหาในวิชาชีพ"หมออนามัย"

นักวิชาการสาธารณสุข เผยอีกหนึ่งปัญหาในวิชาชีพ"หมออนามัย"

 

นักวิชาการสาธารณสุข เผยอีกหนึ่งปัญหาในวิชาชีพ"หมออนามัย"

 

นักวิชาการสาธารณสุข เผยอีกหนึ่งปัญหาในวิชาชีพ"หมออนามัย"