posttoday

นักเศรษฐศาสตร์โลกชูไทยปึ้ก

22 ตุลาคม 2553

เศรษฐกิจแข็งแกร่งรับบาทแข็งอีก25%ไม่เสียเปรียบแข่งขัน

เศรษฐกิจแข็งแกร่งรับบาทแข็งอีก25%ไม่เสียเปรียบแข่งขัน

นักเศรษฐศาสตร์โลกมั่นใจเศรษฐกิจไทยแข็งปั๋ง รอง รับค่าบาทแข็งค่าอีก 25% ได้สบาย ไม่เห็นด้วยกับมาตรการแทรกแซงทุกรูปแบบ

นายพอล โดโนแวน ประธานกรรมการและนักเศรษฐศาสตร์โลก บริษัท ยูบีเอส อินเวสเมนต์ รีเสิร์ช เปิดเผยว่า หากค่าเงินบาทแข็งค่าต่อไปจากนี้อีกสัก 25% ในอีก 12 เดือนข้างหน้า เศรษฐกิจไทยก็ยังรับได้
ทั้งนี้ แม้ค่าเงินบาทจะแข็งค่ามาแล้วกว่า 10% แต่ค่าเงินแข็งค่าทั่วภูมิภาค ประเทศไทยไม่ได้สูญเสียความสามารถในการแข่งขัน อีกทั้งไทยส่งออกไปสหรัฐน้อยลงมาก ดังนั้นค่าเงินบาทแข็งค่าไม่ได้เป็นปัญหาร้ายแรงสำหรับประเทศไทย

“ในฐานะนักเศรษฐศาสตร์ไม่เห็นด้วยที่ทางการจะแทรกแซงค่าเงิน ไม่ว่าจะโดยมาตรการกำหนดค่าเงินคงที่ หรือเก็บภาษีเงินทุนไหลเข้า เพราะล้วนแต่มีผลข้างเคียงที่อันตราย ทำได้ แต่ต้องทำเมื่อถึงช่วงเวลาคับขันจริงๆ และทำเพียงช่วงเวลาสั้นๆ

ขณะเดียวกันไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอเรื่องให้ลดอัตราดอกเบี้ย เพราะนโยบายการเงินต้องอยู่บนพื้นฐานปัจจัยภายในประเทศ ไม่ควรปรับเปลี่ยนดอกเบี้ยเพื่อหวังผลเรื่องอัตราการแลกเปลี่ยน” นายพอล กล่าว
นายพอล กล่าวว่า ไม่เชื่อว่าสหรัฐจะเกิดเศรษฐกิจถดถอยรอบสอง และคาดว่าธนาคารกลางสหรัฐจะพิมพ์ธนบัตรออกมาเพียง 8 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ น้อยกว่าหลายสำนักที่มองว่าจะสูงถึง 11.5 แสนเหรียญสหรัฐ อย่างไรก็ดี เงินเหล่านี้จะคงอยู่ในตลาดสหรัฐ ไม่ออกมาข้างนอก แต่จะกดดันให้เงินที่อยู่นอกตลาดสหรัฐแสวงหาแหล่งลงทุนโดยรับความเสี่ยงที่สูงขึ้น โดยเงินเหล่านี้จะยังคงไหลเข้าภูมิภาคเอเชีย
สำหรับกรณีทางการจีนเพิ่งปรับขึ้นดอกเบี้ยนั้น นักลงทุนบางส่วนอาจย้ายเงินลงทุนจากจีนไปหาประเทศอื่นในเอเชียเพราะมองว่าเศรษฐกิจจะเติบโตชะลอลง แต่ก็เป็นไปได้ที่นักลงทุนจะมองว่าจีนมีเสถียรภาพขึ้นทำให้เพิ่มเงินลงทุนในจีน รวมถึงประเทศอื่นในเอเชีย แต่เป็นไปได้อีกเหมือนกันที่นักลงทุนกลัวเศรษฐกิจจีนชะลอลง ทำให้ย้ายเงินออกจากจีน รวมถึงประเทศอื่นในเอเชียด้วยเพราะมองว่าจะโดนหางเลข
ทั้งนี้ ยูบีเอส ประเมินว่าเศรษฐกิจไทยจะเติบโต 4% ปี 2554 จากปีนี้ที่ 7.7% เพราะส่งออกปีหน้าจะเติบโตชะลอลง เนื่องจากการฟื้นตัวเศรษฐกิจโลกรอบนี้ไม่เหมือนอดีต ที่ความต้องการสินค้าเพิ่มขึ้น 1 เท่า จะดึงการผลิตให้เติบโต 3 เท่า โดยปัจจุบันการผลิตเหลือเพียงสัดส่วนเท่าๆกับความต้องการสินค้า โดยคาดว่ามูลค่าการส่งออกของไทยคิดเป็นสกุลเงินเหรียญปี 2554 จะอยู่ที่ 1.94 แสนล้านเหรียญสหรัฐ เติบโต 0.6% จากปี 2553

นายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง กล่าวว่า การตัดสินใจของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ที่ตัดสินใจคงดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 1.75% นั้น ถือว่าสอดคล้องกับแนวคิดของรัฐบาล ที่มองว่ายังไม่มีความจำเป็นในการปรับขึ้นดอกเบี้ยตอนนี้ เนื่องจากสถานการณ์ขณะนี้เปลี่ยนไปจากช่วงที่ปรับขึ้นดอกเบี้ยครั้งแรก ทั้งนี้ สิ่งที่ กนง.ให้น้ำหนัก คือการกำกับดูแลสร้างความสมดุลเศรษฐกิจโดยรวม โดยเฉพาะดูแลไม่ให้เกิดปัญหาเงินเฟ้อตามมา

หอการค้าระบุเงินบาทแข็งค่ากระทบจีดีพี 0.50.7% แต่คาดว่าจีดีพีปีนี้ยังอยู่ในกรอบ 77.5% จากการส่งออกที่ยังขยายตัวอยู่ในระดับ 20%

นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่า ค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นมาตั้งแต่ต้นปี มีผลกระทบต่ออัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจไทยแล้ว 0.50.7% ของการเติบโตทางเศรษฐกิจของไทย (จีดีพี) แต่จากภาคการส่งออกที่ขยายตัวในอัตราสูง จึงคาดว่า ปีนี้เศรษฐกิจไทยจะขยายตัวได้ที่ 77.5% ตามที่คาดการณ์ไว้ แต่ใกล้เคียงกับ 7% มากกว่า

ทั้งนี้ ในไตรมาส 4 หากปัญหาค่าเงินบาทแข็งค่ายังไม่ได้รับการแก้ไขอย่างรวดเร็ว จะเห็นภาพผู้ประกอบการแต่ละรายหยุดรับคนงานเพิ่ม ลดค่าทำงานล่วงเวลา (โอที) ปลดพนักงานออก และปิดโรงงานในที่สุด ดังนั้น ในปี 2554 พนักงานที่ยังมีงานทำ จะไม่มีโบนัส และไม่ได้ขึ้นเงินเดือน จากปัจจัยดังกล่าว จึงทำให้คาดว่า ในปีหน้าเศรษฐกิจไทยจะเติบโตได้ประมาณ 34% เท่านั้น แม้ธนาคารโลกจะคาดว่า เศรษฐกิจไทยปีหน้าจะโตได้ถึง 7.2%

“ค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น แม้จะมีผลกระทบต่อภาคการส่งออกบ้างแล้ว แต่ปีนี้ ยังเชื่อว่า จะเติบโตได้ 2025% เพราะผู้ส่งออกมียอดคำสั่งซื้อแล้วจนถึงสิ้นปี แต่รายได้จากการส่งออกเมื่อทอนเป็นเงินบาทลดลงมาก ทำให้ผู้ประกอบการส่งออกขาดสภาพคล่อง ซึ่งภาคธุรกิจเองน่าจะอยู่ได้อีกประมาณ 23 เดือน เท่านั้น หากปัญหายืดเยื้อธุรกิจจะเริ่มขาดทุน ยอดขายลด หยุดรับพนักงาน และปิดกิจการ” นายธนวรรธน์ กล่าว

อย่างไรก็ตาม ยังต้องการให้รัฐบาล และธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ออกมาตรการเพิ่มเติมในการดูแลค่าเงินบาท เพราะมาตรการที่ออกไปก่อนหน้านี้ยังไม่เพียงพอที่จะชะลอการแข็งค่าของค่าเงินได้ แต่ต้องขอชมธปท.ที่สามารถทำให้ค่าเงินหยุดการแข็งค่าอยู่ที่ไม่เกิน 29.8 บาทต่อเหรียญสหรัฐฯ ส่วนการที่คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายนั้น ยังไม่ชัดเจนว่า จะมีผลชะลอการแข็งค่าของค่าเงินบาทหรือไม่ เพียงแต่เป็นแนวโน้มของเศรษฐกิจโลกที่ต้องคงอัตราดอกเบี้ย

นางยาใจ ชูวิชา ประธานโครงการสำรวจความคิดเห็นประเด็นธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวถึงผลสำรวจทัศนะต่อปัจจัยเสี่ยงทางเศรษฐกิจที่มีผลกระทบต่อธุรกิจ ว่า ผลกระทบที่ได้รับจากปัญหาค่าเงินบาท ทำให้ยอดการส่งออกสินค้า ลดลง 14.4% ยอดการนำเข้าเพิ่มขึ้น 6.1% ต้นทุนการขนส่งสินค้า เพิ่มขึ้น 13.5% ต้นทุนการผลิต เพิ่มขึ้น 13.1% ยอดรับคำสั่งซื้อ ลดลง 9.5% สินค้าคงคลัง เพิ่มขึ้น 10.8% และกำไร ลดลง 18.9%

อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการระบุว่า ระดับอัตราแลกเปลี่ยนที่ไม่กระทบต่อการส่งออกอยู่ที่ 32.4 บาทต่อเหรียญสหรัฐ ส่วนระดับอัตราแลกเปลี่ยนที่เหมาะสมในปีหน้าอยู่ที่ 31.9 บาทต่อเหรียญสหรัฐ ระดับอัตราแลกเปลี่ยนที่แข็งค่าที่สุดที่ยอมรับได้ในปีนี้อยู่ที่ 30.4 บาทต่อเหรียญฯ ระดับอัตราแลกเปลี่ยนที่แข็งค่าที่สุดที่ยอมรับได้ในปีหน้า 29.5 บาท/เหรียญฯ

ส่วนอัตราดอกเบี้ยในปัจจุบัน ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ 65.5% ระบุให้คงไว้เท่าเดิม ส่วน 20.7% ระบุให้ลดดอกเบี้ย และ 13.8% ให้เพิ่มขึ้น สำหรับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ของธนาคารพาณิชย์ในปีนี้ควรอยู่ที่ 6% ต่อปี ส่วนปีหน้าอยู่ที่ 6.2% ขณะที่ดอกเบี้ยเงินกู้สูงสุดที่รับภาระได้ในปีนี้อยู่ที่ 6.2% ส่วนปีหน้าอยู่ที่ 6.7%%  ขณะที่ราคาน้ำมันดีเซล ที่ไม่กระทบต่อธุรกิจจะอยู่ที่ 26.81 บาท/ลิตร ส่วนระดับราคาสูงสุดที่สามารถแบกรับภาระต้นทุนได้อยู่ที่ 27.57 บาท/ลิตร ขณะที่ในปีหน้าระดับราคาที่ไม่กระทบต่อธุรกิจ 27.49 บาท/ลิตร และระดับราคาสูงสุดที่สามารถแบกรังภาระได้ในปีหน้า 27.62 บาท/ลิตร
 
นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า ยังต้องการให้รัฐบาลและธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ออกมาตรการเพิ่มเติมในการดูแลค่าเงินบาท เพราะมาตรการที่ออกไปก่อนหน้านี้ยังไม่เพียงพอที่จะชะลอการแข็งค่าของค่าเงินได้ แต่ต้องขอชม ธปท. ที่สามารถทำให้ค่าเงินหยุดการแข็งค่าอยู่ที่ไม่เกิน 29.8 บาทต่อเหรียญสหรัฐ ส่วนการที่คณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.) คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายนั้นยังไม่ชัดเจนว่าจะมีผลชะลอการแข็งค่าของค่าเงินบาทหรือไม่ เพียงแต่เป็นแนวโน้มของเศรษฐกิจโลกที่ต้องคงอัตราดอกเบี้ย

นางยาใจ ชูวิชา ประธานโครงการสำรวจความคิดเห็นประเด็นธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวถึงผลสำรวจทัศนะต่อปัจจัยเสี่ยงทางเศรษฐกิจที่มีผลกระทบต่อธุรกิจ ว่าผลกระทบที่ได้รับจากปัญหาค่าเงินบาททำให้ยอดการส่งออกสินค้าลดลง 14.4% ยอดการนำเข้าเพิ่มขึ้น 6.1% ต้นทุนการขนส่งสินค้าเพิ่มขึ้น 13.5% ต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้น 13.1% ยอดรับคำสั่งซื้อลดลง 9.5% สินค้าคงคลังเพิ่มขึ้น 10.8% และกำไรลดลง 18.9%

อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการระบุว่า ระดับอัตราแลกเปลี่ยนที่ไม่กระทบต่อการส่งออกอยู่ที่ 32.4 บาทต่อเหรียญสหรัฐ ส่วนระดับอัตราแลกเปลี่ยนที่เหมาะสมในปีหน้าอยู่ที่ 31.9 บาทต่อเหรียญสหรัฐ ระดับอัตราแลกเปลี่ยนที่แข็งค่าที่สุดที่ยอมรับได้ในปีนี้อยู่ที่ 30.4 บาทต่อเหรียญฯ ระดับอัตราแลกเปลี่ยนที่แข็งค่าที่สุดที่ยอมรับได้ในปีหน้า 29.5 บาท/เหรียญฯ

ด้านอัตราดอกเบี้ยผู้ประกอบการส่วนใหญ่ 65.5% ระบุให้คงไว้เท่าเดิม ส่วน 20.7% ระบุให้ลดดอกเบี้ย และ 13.8% ให้เพิ่มขึ้นสำหรับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ของธนาคารพาณิชย์ในปีนี้ควรอยู่ที่ 6% ต่อปี ส่วนปีหน้าอยู่ที่ 6.2% ขณะที่ดอกเบี้ยเงินกู้สูงสุดที่รับภาระได้ในปีนี้อยู่ที่ 6.2% ส่วนปีหน้าอยู่ที่ 6.7%%      

ขณะที่ราคาน้ำมันดีเซล ที่ไม่กระทบต่อธุรกิจจะอยู่ที่ 26.81 บาท/ลิตร ส่วนระดับราคาสูงสุดที่สามารถแบกรับภาระต้นทุนได้อยู่ที่ 27.57 บาท/ลิตร ขณะที่ในปีหน้าระดับราคาที่ไม่กระทบต่อธุรกิจ 27.49 บาท/ลิตร และระดับราคาสูงสุดที่สามารถแบกรังภาระได้ในปีหน้า 27.62 บาท/ลิตร