posttoday

กลุ่มชาวพุทธร้องเอาผิด "ผบก.ป." ตั้งข้อหาพระเอี่ยวเงินทอนวัดโดยมิชอบ

21 สิงหาคม 2561

ตัวแทนกลุ่มชาวพุทธพลังแผ่นดินร้องเอาผิด "ผู้บังคับการกองปราบฯ" อ้างแจ้งข้อหาพระเอี่ยวทุจริตเงินทอนวัดโดยมิชอบ

ตัวแทนกลุ่มชาวพุทธพลังแผ่นดินร้องเอาผิด "ผู้บังคับการกองปราบฯ" อ้างแจ้งข้อหาพระเอี่ยวทุจริตเงินทอนวัดโดยมิชอบ

เมื่อวันที่ 21 ส.ค. ที่กองบังคับการปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ (บก.ปปป.) นายจรูญ วรรณกสิณานนท์ ตัวแทนกลุ่มชาวพุทธพลังแผ่นดิน ได้เดินทางเข้าแจ้งความกับทางพนักงานสอบสวน เพื่อให้ดำเนินการแจ้งข้อกล่าวหากับพล.ต.ต.ไมตรี ฉิมเฉิด ผบก.ป. ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ พร้อมนำหลักฐานเป็นเอกสารเข้าแจ้งความ

นายจรูญ กล่าวว่า จากกรณีที่เจ้าหน้าที่ตำรวจนำโดย พล.ต.ต.ไมตรี ฉิมเฉิด ผบก.ป.ได้นำกำลังเข้าจับกุมพระสงฆ์หลายรูปในข้อกล่าวหาเงินทอนวัด การใช้เงินผิดประเภท การฟอกเงิน ทั้งได้นำคัวพระสงฆ์เหล่านั้นฝากขังอยู่มนเรือนจำ จนกระทั่งมีการส่งสำนวนคดีสู่ชั้นอัยการ และพนักงานอัยการสำนักงานคดีปราบปรามการทุจริต 1 ได้นำสำนวนคดียื่นฟ้องอดีตพระพรหมดิลก (เอื้อ หาสธมฺโม) อดีตเจ้าอาวาสวัดสามพระยา อดีตกรรมการมหาเถรสมาคม (มส.) (นายเอื้อน กลิ่นสาลี) และอดีตเจ้าคณะกรุงเทพมหานคร และอดีตอรรถกิจโสภณ อดีตเลขาเจ้าคณะกรุงเทพ วัดสามพระยา (หรือนายสมทรง อรรถกฤษณ์) เป็นจำเลยในความผิดฐานเป็นเจ้าหนักงานปฏิบัติหน้าที่หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบหรือโดยทุจริตเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 และเป็นผู้สนับสนุนเจ้าหน้าที่พนักงาน , ร่วมกันฟอกเงินอันเป็นความความผิดตาม พ.ร.บ. ป้องกันปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 กรณีร่วมกันฟอกเงินจากการทุจริตเงินทอนวัดในส่วนอุดหนุนการศึกษาโรงเรียนพระปริยัติธรรม

นายจรูญ กล่าวว่า ซึ่งการปฏิบัติหน้าที่และการเข้าจับกุมพระสงฆ์มีความไม่ชอบด้วยกฎหมายตาม ป.วิอาญามาตรา 90 และการตั้งข้อหากล่าวหาพระสงฆ์ ในข้อหาฟอกเงิน ตามพระราชบัญญัติพ.ศ.2542 มีความไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะว่า พ.ร.บ.การฟอกเงินปี พ.ศ.2542 ได้มีการยกเลิกไปแล้วตอนนี้ประกาศใช้ในพ.ศ.2558 ซึ่งใน พ.ร.บ.ฉบับนี้ระบุว่า ความผิดเกี่ยวกับพรบ.ฟอกเงิน คือมาตรา 3 (2) “ความผิดเกี่ยวกับการค้ามนุษย์ ความผิดเกี่ยวกับเพศ ธุระจัดหา ล่อไป พาไป เพื่อสนองความใคร่ของผู้อื่น เพื่อหากำไร การค้าประเวณี เป็นต้น

นอกจากนี้การตั้งข้อกล่าวหาในฐานความผิด มาตรา 157 นั้น ไม่สามารถกระทำได้ เนื่องจากพระสงฆ์ถือเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐดังนั้นการตั้งข้อกล่าวหาเป็นหน้าที่ของผู้ตรวจเงินแผ่นดิน และการจับกุมของเจ้าหย้าที่ตำรวจถือเป็นการละเมิดรัฐธรรมนูญมาตรา 67 ว่า รัฐพึงอุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนา และต้องมีมาตรการและกลไกในการป้องกันมิให้มีการบ่อนทำลายพระพุทธศาสนาไม่ว่าในรูปแบบใด ซึ่งการกระทำของพล.ต.ต.ไมตรี เข้าข่ายการบ่อนทำลายพระพุทธศาสนาในรูปแบบของการทำลายบุคคลากร หรือศาสนบุคคลของพระพุทธศาสนา และยังเป็นการทำลายศรัทธาของประชาชนชาวไทยอีกด้วย

นายจรูญ กล่าวว่า ส่วนการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ทำให้นายสุวิทย์ ทองประเสริฐ หรืออดีตพระพุทธะอิสระ ซึ่งผู้ต้องหาในคดีปลอมพระปรมาภิไธย ซึ่งเป็นความผิดอาญาร้ายแรงไม่ถูกฟ้องและทำให้ได้รับการปล่อยตัวไป ซึ่งเป็นการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่จึงตัดสินใจเข้าแจ้งความร้องทุกข์