posttoday

ทปอ.ยอมเพิ่มสิทธิ์"TCAS"รอบ 3 เป็น 2 ครั้ง

30 พฤษภาคม 2561

ที่ประชุมทปอ.มีมติเพิ่มสิทธิ์ "TCAS" รอบ3 เป็น 2 ครั้ง เผยเด็กกลุ่มคะแนนสูงเลือกคณะแบบหว่านแห สะท้อนไม่มีความชัดเจนในเป้าหมายการเรียน

ที่ประชุมทปอ.มีมติเพิ่มสิทธิ์ "TCAS" รอบ3 เป็น 2 ครั้ง เผยเด็กกลุ่มคะแนนสูงเลือกคณะแบบหว่านแห สะท้อนไม่มีความชัดเจนในเป้าหมายการเรียน

นายประเสริฐ คันธมานนท์ เลขาธิการที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) เปิดเผย ภายหลังการหารือกับผู้เกี่ยวข้องเพื่อจัดการแก้ไขปัญหาระบบการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษา(TCAS) รอบ3 เนื่องจาก นักเรียนจำนวนหนึ่งที่ได้รับการคัดเลือกทั้ง 4 แห่งทำให้เกิดปัญหาการกั๊กที่

ทั้งนี้ จากการรับฟังปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้น และทำให้เด็กส่วนใหญ่รู้สึกว่าทีแคสรอบ 3 เกิดการกั๊กที่นั่งของเด็กที่ได้คะแนนสูงมากโอกาสมากกว่าเด็กคนอื่น ทางทปอ.จึงได้จัดการแก้ไขปัญหา โดยให้มีการเพิ่มการเคลียริ่งเฮาส์ ทีแคสรอบ 3 เป็น 2 ครั้ง โดยเป็นรอบ 3/1 และรอบ 3/2 โดยในรอบที่ 3/1 วันที่ 1-3 มิ.ย.61 ซึ่งเมื่อทำการเคลียริ่งเฮาส์รอบ 3/1 เสร็จสิ้น จะดำเนินการรอบ 3/2 ทันที โดยให้มีการสอบสัมภาษณ์พร้อมกัน ระหว่างวันที่ 10-11 มิ.ย.61 ซึ่งการที่มีนั่งว่างในมหาวิทยาลัยมากน้อยขนาดไหนนั้น มหาวิทยาลัยจะแจ้งมาที่ทปอ. เพราะการตัดสินใจทั้งหมดเป็นไปตามเกณฑ์ของมหาวิทยาลัย

นายประเสริฐกล่าวว่าสำหรับ ปัญหาการกั๊กที่นั่ง พบว่า เกิดในมหาวิทยาลัยดังที่เด็กทุกคนอยากเข้าเรียน เชื่อว่าจะเกิดกรณีรุนแรงไม่น่าจะเกิน 5 แห่งที่เด็กอยากเข้าเท่านั้น ซึ่งการกั๊กที่นั่นไม่สามารถแก้ไขได้ 100 % ทุกครั้งของการสอบเข้ามหาวิทยาลัยจะมีปัญหานี้อยู่แล้ว แต่ระบบทีแคสรอบ 3 ที่ดำเนินการนี้ จะสามารถป้องกันการกั๊กที่นั่งได้ถึง 70-90 % ส่วนที่นักเรียนกังวลว่าเคลียริ่งเฮาส์รอบ 3/2 จะเป็นกั๊กที่นั่งเช่นเดิมนั้น เชื่อว่าทำให้การกั๊กที่นั้นลดน้อยลง เพราะนักเรียนที่สอบติดกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย (กสพท.) ซึ่งมีประมาณ 2,000 กว่าคนเท่านั้น ได้มีการยืนยันสิทธิ์ไปแล้ว ดังนั้น การกั๊กที่จากเด็กกลุ่มนี้จะไม่เกิดขึ้น ส่วนกรณีที่มีการเสนอให้ทีแคสรอบ 3มีการจัดลำดับในการเลือกนั้น ทปอ.ไม่สามารถทำได้ เนื่องจากทีแคสรอบ 3 เป็นการรับตรงของแต่ละมหาวิทยาลัย ที่มีเกณฑ์ในการคัดเลือกแตกต่างกัน ทปอ.ทำหน้าที่เป็นเพียงหน่วยงาน ไม่ได้มีเกณฑ์กลาง หรือเป็นผู้กำหนด แต่ในส่วนรอบ 4 แอดมิชชั่น ทปอ.สามารถจัดลำดับได้ เพราะมีเกณฑ์กลางในการคัดเลือกเด็ก

"ขณะนี้สิ่งที่น่าเป็นห่วง ไม่ใช่ปัญหาเรื่องการกั๊กที่ แต่เป็นประเด็นที่เด็กกลุ่มได้คะแนนสูงเลือกทั้งคณะแพทย์ในส่วนของกสพท. และยังไปเลือกคณะนิเทศศาสตร์ด้วย ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเด็กไม่มีความชัดเจนในเป้าหมายการเรียน และในชีวิต ถือเป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วงมากเพราะเท่ากับเด็กไม่รู้เป้าหมายของตัวเอง อาจจะส่งผลต่อการเรียนในอนาคต อีกทั้งสะท้อนให้เห็นว่าเด็กไม่สนใจเรียนในสาขาที่เป็นความต้องการของประเทศ แต่มองว่าตัวเองคะแนนสูงจะเรียนในสาขาใดก็ได้ ดังนั้น ผมคิดว่าการที่จะมาคิดว่าการกั๊กที่เป็นเรื่องน่ากลัว เราควรจะกลัวอนาคตของประเทศก่อนดีหรือไม่หากเด็กเลือกมหาวิทยาลัยจากคะแนนสูงอย่างเดียว"นายประเสริฐกล่าว

อย่างไรก็ตาม สำหรับประเด็นที่สังคมมองว่าการสมัครเข้ามหาวิทยาลัยเป็นการหารายได้ของมหาวิทยาลัยเพราะต้องเสียค่าสมัครนั้น ที่ผ่านมามหาวิทยาลัยอาจจะมีรายได้จากการสมัครจริง เนื่องจากระบบการรับตรงอิสระมหาวิทยาลัยจะเป็นผู้จัดสอบ กำหนดค่าสมัคร และเกณฑ์ต่างๆเป็นไปตามมหาวิทยาลัยแต่ละแห่ง ซึ่งทำให้เด็กวิ่งรอบสอบและต้องเสียค่าสมัครจำนวนมาก รวมถึงบางคนต้องเสียค่าเดินทาง ค่าที่พัก หรือบางมหาวิทยาลัยต้องเสียค่าเล่าเรียนเพื่อจองมหาวิทยาลัยไว้ และบางคนสามารถสมัครได้ถึง 10 มหาวิทยาลัย แต่ในระบบทีแคสรอบ 3 นี้ เป็นการแก้ปัญหาวิ่งรอกสอบและลดค่าใช้จ่ายผู้ปกครอง ซึ่งนักเรียนจะเสียค่าสมัครตามที่นักเรียนเป็นคนเลือกเท่านั้น ซึ่งหากเลือก 4 อันดับ จะเสียค่าสมัครมากสุดเพียง 900 บาท เท่านั้น

อย่างไรก็ตาม ขอให้เด็กทุกคนไม่ต้องเข้ามาทำอะไรใน 3/1 และ3/2 ไม่ต้องเข้ามาสมัคร จะใช้ 4 อันดับเป็นเกณฑ์ในการทำงานทั้ง3/1 และ3/2 ถ้าเด็ฏเลือก4 ตัวเลือกดังกล่าว เช่นกรณีที่เด็กไม่มีตัวเลือกใดติดเลยใน 3/1 พอไปรอบ 3/2 เมื่อม่นั่งว่าง และ4 ตัวเลือกมีที่นั่งว่าง และอยู่ใน4 อันดับได้มา 4 ที่นั่ง เด็กจะต้องเลือก1คน 1 สิทธิ์ แต่ถ้า 3/1 ใน 4 อันดับ ทั้งนี้มีผู้ยืนยันสิทธิ์ ทีแคส รอบที่ 1 และรอบที่ 2 แล้วจำนวน ประมาณ 120,000 คน ซึ่งในรอบที่ 3 นี้ มี ผู้สมัคร จำนวน 106,000 คน แต่มีที่นั่งรองรับ 100,300 ที่นั่ง