posttoday

พลิกกฎหมาย-อ่านคำพิพากษาฎีกาวางหลัก"พระเจอคดีอาญาศาลไม่ให้ประกันต้องสึก?"

26 พฤษภาคม 2561

เปิดตำราอ่านคำพิพากษาเจาะลึกหน้าที่พนักงานสอบสวนดำเนินคดีพระเมื่้อถูกกล่าวหาผิดอาญาเปลื้องผ้าปลดจีวรแต่ไม่เปล่งวาจาสึกกลับมาเป็นพระภิกษุได้หรือไม่

เปิดตำราอ่านคำพิพากษาเจาะลึกหน้าที่พนักงานสอบสวนดำเนินคดีพระเมื่้อถูกกล่าวหาผิดอาญาเปลื้องผ้าปลดจีวรแต่ไม่เปล่งวาจาสึกกลับมาเป็นพระภิกษุได้หรือไม่

พ.ต.ท.ดร.เทิดสยาม บุญยะเสนา ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย เขียนบทความผ่าน https://thamaaya.wordpress.com เกี่ยวกับการดำเนินคดีกับพระเมื่อถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดความในทางอาญาและถูกควบคุมตัวโดยพนักงานสอบสวนและส่งตัวไปดำเนินคดีในศาล ซึ่งมีประเด็นปัญหาว่า หากศาลไม่ให้ประกันตัวและไม่ได้เปล่งคำลาสิกขา จะขาดความเป็นพระภิกษุ หรือไม่

ผู้เขียนได้อรรถาธิบาย พ.ร.บ.คณะสงฆ์ พ.ศ.2505 มาตรา 27 , 28 และ29 เกี่ยวกับอำนาจและหน้าที่ของพนักงานสอบสวนในการดำเนินกับพระสงฆ์ ซึ่งในมาตรา29 กำหนดว่า“ให้พนักงานสอบสวนมีอำนาจจัดดำเนินการให้พระภิกษุรูปนั้นสละสมณเพศเสียได้” หมายความว่า พนักงานสอบสวนจะ"ไม่จัดการให้สละสมณเพศ"ก็ได้ โดยในเรื่องนี้ผู้เขียนคิดว่าต้องดูข้อหา, ฐานการกระทำความผิดของพระรูปนั้น รวมไปถึงพฤติการณ์แวดล้อม ความร้ายแรงของข้อหา ผลกระทบต่อความสงบสุขเรียบร้อยของสังคม รวมไปถึงสิทธิของผู้เสียหายและผู้ต้องหาและความจำเป็นในการสละสมณเพศในการดำเนินคดี

นอกจากนี้ผู้เขียนได้หยิบยกคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6782/2543 ซึ่งนายทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ ตุลาการศาลรธน.เป็นผู้ให้ความเห็นในท้ายคำพิพากษาเรื่อง “การขาดจากความเป็นพระภิกษุ” ประกอบคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1798/2542 เมื่อพระถูกจับกุมถูกล่าวหาว่าได้กระทำความผิดทางอาญาและพนักงานสอบสวน ไม่เห็นสมควรให้ปล่อยชั่วคราว การที่พระยินยอมเปลื้องจีวรออกแล้ว แต่งกายด้วยชุดขาว เช่นนี้ถือได้ว่าจำเลยได้สละสมณเพศแล้ว เจ้าคณะเขตหรือเจ้าคณะตำบลหรือ เจ้าคณะแขวงสามารถให้พระภิกษุรูปสึกได้โดยไม่ต้องกล่าวคำ"อำลาสิกขา" ดังนั้นการยินยอม"เปลื้องจีวร"ออกเมื่อ"ต่อสู้คดี" ย่อมไม่เป็นเหตุให้กลับมาเป็นพระภิกษุใหม่อีก

คลิ๊กอ่านศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://thamaaya.wordpress.com/2015/07/02/ปัญหาการดำเนินคดีกับพร/