posttoday

นพ.โสภณ เผยภาพพร้อมเรื่องเล่าหลังเยี่ยมชมโรงปลูกกัญชามูลค่ามหาศาลที่แคนาดา

01 เมษายน 2561

ประธานคณะกรรมการองค์การเภสัชกรรม เผยแพร่ภาพและเรื่องราวการเดินทางไปดูงานเรื่อง กัญชาทางการแพทย์ที่ประเทศแคนาดา

ประธานคณะกรรมการองค์การเภสัชกรรม เผยแพร่ภาพและเรื่องราวการเดินทางไปดูงานเรื่อง กัญชาทางการแพทย์ที่ประเทศแคนาดา

นพ.โสภณ เมฆธน ประธานคณะกรรมการองค์การเภสัชกรรม (บอร์ด อภ.) ได้เผยแพร่ภาพและเรื่องราวเกี่ยวกับการเดินทางไปดูงานเรื่อง กัญชาทางการแพทย์ที่ประเทศแคนาดา เมื่อวันที่ 30 มี.ค. ซึ่งพบว่า เป็นการปลูกในโรงเรือนขนาดใหญ่ นำไปใช้ในกระบวนการสกัดเป็นยาเพื่อบำบัด รักษาโรค

นพ.โสภณ  เล่าว่า ศึกษา ดูงานการผลิตยาจากต้นกัญชาในประเทศแคนาดา 22-23 มีค 61

ไปดูการผลิตยาจากกัญชาครั้งนี้ที่แคนาดาทำให้เห็นสิ่งที่ไม่เคยคิดไม่เคยเห็น อาจมีความรู้สึกไม่ค่อยดีกับกัญชาด้วย แต่พอไปเห็นแล้ว ต้องกลับมานั่งทบทวนและหาความรู้เพิ่มเติมเพื่อคิดว่าประเทศไทยควรทำอะไรและอย่างไรดีกับเรื่องนี้?

ลองอ่านแล้วให้ข้อเสนอแนะด้วยครับ

1. แคนาดาอนุญาตให้ใช้กัญชาในทางการแพทย์ตั้งแต่ปีค.ศ. 2001 แก้พวกลมชัก อาการปวด อนุญาตให้ผู้ป่วยปลูกเองได้สี่ต้น แต่มีปัญหาเรื่องการควบคุมคุณภาพเพื่อนำมาเป็นยาและการเก็บขายในตลาดมืด จึงออกกฏหมายควบคุมตั้งเป็นโรงงานผลิตโดยขออนุญาตจากรัฐบาล

2. เป็นโรงงานขนาดใหญ่ทำครบวงจรตั้งแต่การปลูก การพัฒนาสายพันธุ์ การสกัดเป็นน้ำมันกัญชา สารสำคัญคือ CBD และ THC ( ผลทางระบบประสาท ผ่อนคลาย ) เขาถือเป็น API Active Pharmaceutical Ingradient เหมือนสารเคมีตั้งต้นทีใช้ทำเป็นยา

3. การนำกัญชามาใช้มีสองเรื่องหลัก คือการใช้ทางการแพทย์และการเสพเพื่อความบันเทิงRecreation แต่ละสายพันธุ์จะมีสารสำคัญไม่เท่ากัน ดังนั้นจึงขึ้นกับแพทย์ผู้สั่งว่าต้องการสารสำคัญชนิดใดมากหรือน้อย และอาจมีสารตัวอื่นซึ่งยังต้องศึกษาต่อ การใช้สารสกัดตัวเดียวบางครั้งไม่ได้ผล ยังมีเรื่องที่ต้องศึกษาและพัฒนาสายพันธุ์ประเทศไทยได้ชื่อว่ามีกัญชาที่ดีที่สุดในโลกจากในอดีต และมีสูตรยาไทยที่ต้องผสมกัญชา แต่ปัจจุบันเชื่อว่าต่างประเทศมีการศึกษาพัฒนาจนต้นกัญชาให้สารสำคัญดีกว่ากัญชาของประเทศไทย

4. ได้มาศึกษาดูงานการผลิตกัญชาจากสองโรงงาน เป็นโรงงานขนาดใหญ่ที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์มูลค่าประมาณ 90,000 ล้านเหรียญ โรงงานแห่งที่สองมีกระโจมปลูกต้นกัญชาพื้นที่ 1000 ตารางเมตรจำนวน 26 กระโจม.

 

นพ.โสภณ เผยภาพพร้อมเรื่องเล่าหลังเยี่ยมชมโรงปลูกกัญชามูลค่ามหาศาลที่แคนาดา

5. กระบวนการที่สำคัญ

5.1. การเพาะชำและพัฒนาสายพันธุ์. มีการปลูกต้นแม่อาจมาจากเพาะเมล็ดและเลือกต้นที่ดีที่สุด. แล้วตัดยอดขนาดประมาณหนึ่งคืบ ไปเพาะชำ โรงงานแห่งแรกให้คณะเข้าไปดูกระบวนการนี้แต่โรงงานที่สองไม่เปิดให้เข้า ต้องใช้เฉพาะต้นตัวเมียเท่านั้นต้นตัวผู้หรือต้นกระเทยจะต้องไม่มีหลงมาในกระบวนการการผลิตอย่างเด็ดขาด. ต้นแม่สามารถตัดยอดมาปลูกได้ทั้งหมดหกรุ่นจึงทำลายทิ้งโดยเอาไปบดและใช้เพาะเห็ด

5.2. การปลูกให้เจริญเติบโต เป็นการปลูกในระบบปิดกระโจมขนาดใหญ่ ปรับสภาพแวดล้อมมีหลอดไฟและแสง อาทิตย์ ปรับอุณหภูมิ สารอาหารที่ใช้ในการเพาะเลี้ยง กำจัดศัตรูพืชด้วยแมลงเต่าทองหรือเชื้อแบคทีเรีย ใช้เวลาปลูกทั้งสิ้นห้าเดือน ส่วนสำคัญคือดอก ใช้กล้องแบบส่องพระส่องดูจะเห็นมีคริสตัลเกาะอยู่. มีระบบควบคุมลงทะเบียนเพื่อค้นหาย้อนหลังได้ถ้าผลิตภัณฑ์มีปัญหา มีการติดแถบสีเพื่อบอกให้รู้ว่าเป็นสายพันธุ์ชนิดใด โรงงานที่ไปดูมีถึง 14-20 สายพันธุ์

5.3. การเก็บเกี่ยวตัดเฉพาะยอดที่มีดอกเพราะสารสำคัญจำนวนมากจะอยู่ที่ดอก นำไปตากแห้งประมาณ 7-14 วัน. นำมาตัดแต่งให้เหลือแต่ดอกซึ่งมีราคา ประมาณ 6500 เหรียญต่อกิโลกรัม. ส่วนที่ตัดออกขายได้กิโลกรัมละ 2500 เหรียญแคนาดา. อาจขายส่ง เป็นหอใหญ่ครึ่งถึง 1 กิโลกรัม. หรือขายปลีก. หรือจัดส่งให้ผู้ป่วยตามใบสั่งแพทย์โดยส่ง ตรงถึงบ้านทางไปรษณีย์. มูลค่าโดยประมาณ 400 เหรียญต่อกัญชาหนึ่งต้นหรือประมาณ 10,000 บาท

5.4. นำไปทำสารสกัดด้วยวิธีการ ใช้ คาร์บอนไดออกไซด์. ออกมาเป็นน้ำมันใส่ขวดเล็กๆเพื่อส่งให้กับผู้ป่วย. ใช้หยดกินใต้ลิ้น. จะพัฒนาทำเป็นแคปซูลsoft gel. ถ้าเป็นดอกใช้การสูบ เหมือนบุหรี่หรือการทำให้เป็นสารระเหย แล้วสูดดม

6. การควบคุมดูแลความปลอดภัย จะต้องเข้มงวดเช่นประตูทางเข้าออก การเปลี่ยนเสื้อผ้า การติดตั้งวงจรปิด การปิดเปิดประตูด้วยบัตรประจำตัว

 

นพ.โสภณ เผยภาพพร้อมเรื่องเล่าหลังเยี่ยมชมโรงปลูกกัญชามูลค่ามหาศาลที่แคนาดา

นพ.โสภณ เผยภาพพร้อมเรื่องเล่าหลังเยี่ยมชมโรงปลูกกัญชามูลค่ามหาศาลที่แคนาดา

 

นพ.โสภณ เผยภาพพร้อมเรื่องเล่าหลังเยี่ยมชมโรงปลูกกัญชามูลค่ามหาศาลที่แคนาดา

 

นพ.โสภณ เผยภาพพร้อมเรื่องเล่าหลังเยี่ยมชมโรงปลูกกัญชามูลค่ามหาศาลที่แคนาดา

ที่มาเฟซบุ๊ก Sopon Mekthon