posttoday

เหยื่อถูกคุกคามทางเพศจี้มท.คุมเข้ม "จอมหื่น" ช่วงสงกรานต์

21 มีนาคม 2561

เหยื่อถูกคุกคามทางเพศร้องมหาดไทยคุมเข้มป้องกันพวกหื่นกาม ฉวยโอกาสลวนลามช่วงสงกรานต์ พบหญิง 51.9% ตกเป็นเหยื่อ

เหยื่อถูกคุกคามทางเพศร้องมหาดไทยคุมเข้มป้องกันพวกหื่นกาม ฉวยโอกาสลวนลามช่วงสงกรานต์ พบหญิง 51.9% ตกเป็นเหยื่อ

เมื่อวันที่ 21 มี.ค. นายจะเด็จ  เชาวน์วิไล  ผู้อำนวยการมูลนิธิหญิงชายก้าวไกล ร่วมกับ เครือข่ายเด็กและเยาวชน เครือข่ายผู้ปกครองในสถานศึกษา เครือข่ายบางกอกนี้ดีจัง  เครือข่ายเยาวชนป้องกันนักดื่มหน้าใหม่ และตัวแทนเหยื่อที่ถูกลวนลามคุกคามทางเพศช่วงสงกรานต์กว่า30คน ยื่นจดหมายเปิดผนึกถึง นายสุทธิพงษ์  จุลเจริญ  อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย เพื่อเสนอมาตรการควบคุมปัญหาการลวนลามคุกคามทางเพศช่วงเทศกาลสงกรานต์ ที่ส่วนใหญ่พบว่าผู้ก่อเหตุมักอยู่ในอาการมึนเมา ขาดสติ และมีบางส่วนที่ตั้งใจฉวยโอกาส  รวมถึงปัญหาทะเลาะวิวาท บาดเจ็บ เสียชีวิต

นายจะเด็จ กล่าวว่า ช่วงสงกรานต์ปี59 ได้สำรวจความคิดเห็นผู้หญิงอายุระหว่าง10-40 ปี 1,793 คน พบว่า เกือบทั้งหมดหรือ85.9% เห็นว่าไม่ควรมีการฉวยโอกาสลวนลามและควรมีมาตรการการควบคุมป้องกัน ขณะที่กลุ่มตัวอย่าง51.9% ระบุเคยถูกฉวยโอกาสลวนลามคุกคามทางเพศ และถูกก่อกวนจากคนเมา บังคับให้ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ รวมถึงพบพฤติกรรมของคนบางกลุ่มที่สร้างความเสียหายและก่อให้เกิดค่านิยมที่ผิดๆ เช่น ฉวยโอกานลวนลามทางเพศ ตั้งใจอนาจารและ สาดน้ำด้วยความรุนแรง เล่นแป้ง มีการตั้งกลุ่มดื่มเหล้าจนเมา การขับขี่ที่ไม่ปลอดภัยเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ และทะเลาะวิวาท

นายจะด็จ กล่าวอีกว่าอีกไม่กี่วันจะถึงเทศกาลสงกรานต์ เครือข่ายฯ จึงอยากให้กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ที่มีอำนาจบังคับใช้มาตรการที่เข้มงวด เพื่อลดปัญหาดังกล่าวที่อาจจะเกิดขึ้น และร่วมเป็นภาคีเครือข่ายรณรงค์เนื่องในเทศกาลสงกรานต์ ร่วมกับกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว  กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์(พม.) 

ทั้งนี้ขอให้กระทรวงมหาดไทยมีกลไกเฝ้าระวังปัญหาการคุกคามทางเพศในพื้นที่เล่นน้ำช่วงสงกรานต์  โดยมีอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน (อปพร.)  องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด บ้านพักเด็กและครอบครัว ตำรวจ และภาคประชาสังคม เพื่อป้องปราม รับแจ้งเหตุ และประสานงานให้ความช่วยเหลือผู้ประสบปัญหา

อีกทั้งรณรงค์เผยแพร่ชักชวนให้เล่นน้ำสงกรานต์อย่างมีสติ  เคารพในสิทธิเนื้อตัวร่างกาย  ให้รับรู้ว่าการคุกคามทางเพศเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย ควบคู่ไปกับการรณรงค์ลดอุบัติเหตุช่วงสงกรานต์

รวมถึงมีนโยบายพื้นที่เล่นน้ำปลอดเหล้า ปลอดภัย    ไม่คุกคามทางเพศ สำหรับคนทุกเพศทุกวัยร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในทุกจังหวัด  ประสานความร่วมมือกับฝ่ายต่างๆเช่น อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน (อปพร.)  องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด บ้านพักเด็กและครอบครัว ตำรวจ และภาคประชาสังคม เพื่อป้องปราม รับแจ้งเหตุ และประสานงานให้ความช่วยเหลือผู้ประสบปัญหา

โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีการดื่มอัลกอฮอล์ มักจะเป็นสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุ การทะเลาะ ชกต่อยและการลวนลามทางเพศ จึงขอให้มีการเฝ้าระวังการทำผิดกฎหมาย พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 อาทิ การควบคุมโฆษณา การดื่มและจำหน่ายตามเวลาที่กฎหมายกำหนด  การไม่ขายให้เด็กอายุต่ำกว่า 20ปี รวมถึงคนเมาครองสติไม่ได้ เป็นต้น

นางสาวเอ(นามสมมติ) ผู้ที่เคยถูกลวนลามเทศกาลสงกรานต์ กล่าวว่า เมื่อ2ปีที่ผ่านมาได้มีโอกาสไปเล่นสงกรานต์ย่านถนนข้าวสาร กับลูกชายและลูกสะใภ้ ที่มีคนเล่นมากมาย ขณะเดียวกันมีผู้ชายอาการคล้ายคนเมาเดินเข้ามาประแป้งที่ใบหน้าตนและลวนลามบริเวณหน้าอก  ทำให้รู้สึกตกใจมากและเลือกที่จะไม่ร้องส่งเสียงโวยวาย หรือบอกกับลูกชายเพราะอายะและกลัวที่จะมีเรื่อง ที่ลูกชายย่อมจะไม่ยอมปล่อยให้เรื่องผ่านไปอย่างแน่นอน จึงพยายามเดินหนี และชวนลูกชาย และลูกสะใภ้กลับบ้านทันที ซึ่งในช่วงขณะที่คล้อยหลังกลับยังได้ยินเสียงผู้หญิงคนหนึ่งร้องโวยวาย ซึ่งเมื่อหันกลับไปมองก็เห็นชายคนเดียวกันอยู่ในบริเวณนั้นด้วย จึงคิดว่าคงมีคนอื่นอีกที่ถูกลวนเช่นเดียวกับตน

"เมื่อโดนกับตัว ทำให้ขยาด เข็ดไม่อยากเล่นสงกรานต์อีก"นางเอ กล่าวและว่ากลุ่มคนที่ลวนลามมักเป็นคนที่ดื่มเหล้า ขาดสติยั้งคิด"

นางสาวบี(นามสมมติ) อายุ18ปี ผู้ที่เคยถูกลวนลามเทศกาลสงกรานต์เมื่อ 2 ปีที่แล้ว โดยไปเล่นสงกรานต์กับกลุ่มเพื่อนผู้หญิง 5-6 คน ย่านถนนข้าวสาร ที่มีกลุ่มคนเมา เข้ามารุมปะแป้งที่หน้า แต่บางคนฉวยโอกาสจับหน้าอก ขณะที่เพื่อนถูกปะแป้งและใช้แขนโน้มใบหน้าเพื่อนเข้าไปจูบ

"สงกรานต์ น่าที่จะเป็นที่ได้เล่นน้ำอย่างสนุกสนาน กับเจอกับสิ่งที่แย่ๆในความรู้สึก ทำให้กลัว ขยาดไม่กล้าเล่นสงกรานต์อีกเลย"นส.บีกล่าวและเปิดเผยว่าสงกรานต์ปีที่แล้วก็ไม่ได้เล่น และคงจะไม่เล่นอีกนาน จนกว่าจะมั่นใจว่าหน่วยงานต่างๆควบคุมการดื่มอัลกอฮอล์ ที่มีคนเมา ที่จะขาดสติ

นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กล่าวว่าตนได้มีหนังสือคำสั่งขอให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกแห่ง มีมาตรการดูแลความปลอดภัยให้แก่นักท่องเที่ยวโดยบูรณาการร่วมกับหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้อแนวทางในการตรรวจ ดูแลรักษาความสงบเรียกร้องและความปลอดภัย ให้กับนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างประเทศในาสถานท่องเที่ยว สถานบันเทิง พิจารณาจัดพื้นที่เฉพาะสำหรับเล่นน้ำสงกรานต์ที่ปลอดภัยและปลอดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

อีกทั้งขอความร่วมมือร้านค้า ไม่จำหน่ายเครื่องดื่มอัลกอฮอล์ บริเวณข้างทอง ในปั้มน้ำมันและสถานที่ที่กฏหมายกำหนด รวมถึงไม่จำหน่ายให้กับเด็กต่ำ 20 ปี และขอความร่วมมือผู้จัดงานเทศกาลสงกรานต์

นอกจากนี้ ให้ผู้นำองค์กรปกครองท้องถิ่น ตรวจ กำชับขอความร่วมมือกับผุ้ประกอบการโรงแรม รีสอต์ต หอพักให้เข้มงวดในการรับผู้เข้ากัำ โดยเฉพาะผู้เข้าพักที่เป็นเยาวชน ให้ปฏิบัติตามกฆมายที่เกี่ยวับอย่างเคร่งครัด เช่น เพื่อป้องกันการมั่วสุมของเยาวชน และป้องกันไม่ให้เกิดการล่อลวง ลวนลามเยาวชน รวมถึงรณรงค์ขอความร่วมมือนักท่องเที่ยวให้แต่งกายเหมาะสม ไม่ล่อแปลมต่อการถูกคุกคามทางเพศ และจัดให้มีหน้ามี่ตรวจตราดูแลสวัสดิการ ความปลอดภัยนักท่องเที่ยวในจุดที่มีความเสี่ยงเช่นแหล่งท่องเที่ยวทางน้ำ โป๊กเทียบเรือ แพ ที่จะต้องจัดอุปกรณ์ป้องกัน

"รมว.มหาดไทย ได้แจ้งว่าอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน(อปพร.)ที่เข้ามาช่วยงานด้วยความเสียสละ จะมีเงินช่วยเหลือที่เข้ามาดูแลประชาชนและนักท่องเที่ยวด้วย" อธิบดีกรมส่งเสริมปกครองท้องถิ่นกล่าว