posttoday

สื่อญี่ปุ่นรุมตำหนิร้านราเม็งในไทย ก๊อปปี้เอกลักษณ์ทั้งดุ้น

10 ธันวาคม 2560

เพจดังเผยสื่อญี่ปุ่นตำหนิร้านราเม็งในไทยเเห่งหนึ่ง ลอกเอกลักษณ์จากร้านต้นตำรับทั้งดุ้น ตั้งเเต่วิธีการสั่งอาหาร สไตล์ร้านเเละอื่นๆ

เพจดังเผยสื่อญี่ปุ่นตำหนิร้านราเม็งในไทยเเห่งหนึ่ง ลอกเอกลักษณ์จากร้านต้นตำรับทั้งดุ้น ตั้งเเต่วิธีการสั่งอาหาร สไตล์ร้านเเละอื่นๆ

เมื่อวันที่ 10 ธ.ค. เพจเฟซบุ๊ก J-doradic ดิคออนไลน์ไทย-ญี่ปุ่น เปิดเผยว่า สื่อยักษ์ใหญ่ในประเทศญี่ปุ่นทั้ง Yahoo, Nikkei และ Livedoor กำลังรุมประณามโจมตีร้านราเม็งไทยแห่งหนึ่ง โดยพาดหัวข่าวแรงว่า "ก๊อปทั้งดุ้น" เนื่องจากลอกเอกลักษณ์สำคัญของร้าน อิจิรัน ร้านราเม็งชื่อดังทั้งหมดโดยไม่ขออนุญาต

เพจดังกล่าว อ้างอิงเนื้อหาจากสำนักข่าว Livedoor โดยใจความระบุว่า

ประเทศไทยคือตลาดที่น่าสนใจนักสำหรับชาวญี่ปุ่น โดย ร้านราเมงอิจิรัน ร้านต้นตำหรับซุปกระดูกหมูแท้ต้นกำเนิดจากคิวชู (สาขาแรกเปิดปี 1993 ที่ฟุคุโอกะ ปัจจุบันนี้เปิดในญี่ปุ่นไปแล้ว 71 สาขา) ซึ่งครองใจผู้บริโภคทั่วโลกด้วยต้นกำเนิดรูปแบบการสั่งราเมงผ่านกระดาษแบบสอบถาม (ภายหลังคนไทย เรียกทำข้อสอบ) ซึ่ง ขยายสาขาไปแล้วหลายประเทศทั้ง อเมริกา ไต้หวัน และ ฮ่องกง โดยเน้นให้นักชิมได้ลิ้มรสชาติอาหารให้ได้ใกล้เคียงกับรสนิยมของตัวเองมากที่สุด และ รูปแบบการนั่งกั้นฉากกินแบบออริจินัลไม่เหมือนใคร ต่อมาทางบริษัทที่ทำอิจิรันกลับมารู้ความจริงว่าราเมงในเอกลักษณ์ของตัวเองนั้น มีคนเอาไปเปิดที่ไทยแล้ว จนหลายคนเข้าใจผิดเสียว่าเป็นต้นตำรับแท้ที่ขยายมาเปิดที่ไทย

ผู้สื่อข่าวชาวญี่ปุ่นได้เดินทางไปชิมร้านราเมงไทยดังกล่าว พบว่ามีการลอกเลียนแบบแทบทุกอย่าง ทั้ง วิธีการสั่งผ่านกระดาษ กั้นฉากที่นั่ง สไตล์ร้านไปจนถึง หน้าตาของซอสพริกสูตรเฉพาะที่หย่นลงบนเส้นราเมง

หากเราเข้าไปดูเว็บไซต์ของอิจิรันจะได้เห็นว่าทางบริษัทชูเอกลักษณ์ไม่เหมือนใคร 5 องค์ประกอบ

1.ซอสพริกสูตรเฉพาะ

2.ซุปกระดูกหมูไร้กลิ่นเหม็น

3.ที่นั่งกั้นฉาก

4.กระดาษข้อสอบสั่งอาหาร

5.ระบบสั่งเพิ่มเส้น

โดยทั้ง 5 เอกลักษณ์ นี้ คงไม่ผิดนักหากจะบอกว่าโดนก๊อปปี้ไปทั้งหมด (ระบบการสั่งอาหารแบบข้อสอบผ่านที่นั่งกั้น บริษัทที่ทำอิจิรันได้จดสิทธิบัตรไว้แล้วเลขที่ 4267981)

ทำให้เป็นไปได้สูงว่าร้านราเมงดังกล่าวนั้นได้ละเมิดกฏหมายนี้อยู่

แต่ทว่าสิทธิบัตรที่จดนั้นโดยพื้นฐานจะครอบคลุมเฉพาะในประเทศญี่ปุ่นทำให้ยังเป็นประเด็นว่าในต่างประเทศ (แต่ละประเทศมีเกณฑ์พิจารณาต่างกันไป) นั้นจะพิจารณาครอบคลุมไปถึงการฟ้องร้องนี้ได้หรือไม่

และหากร้านราเมงไทยดังกล่าวชิงจดสิทธิบัตรวิธีการขายและเอกลักษณ์นี้ในไทยเสียก่อน อาจกระทบต่อการเปิดร้านของราเมงอิจิรันในประเทศไทยได้

ดังนั้น ผู้ประกอบการชาวญี่ปุ่นหากคุณคิดจะเปิดธุรกิจในประเทศไทยนอกจากการจดสิทธิบัตรในญี่ปุ่นแล้วคุณต้องไม่ลืมที่จะจดสิทธิบัตรที่ประเทศไทยด้วยเพื่อป้องการการละเมิดแบบที่ร้านราเมงอิจิรันกำลังประสบอยู่

ที่มา http://news.livedoor.com/lite/article_detail/14008487/