posttoday

กรมอุทยานเผยผลวิจัยรังมดแดงกินได้หวังเป็นอาหารมนุษยชาติ

07 ตุลาคม 2560

กรมอุทยานเผยผลวิจัยท่องโลกมหัศจรรย์ในรังมดแดงเพิ่มผลผลิตแมลงกินได้ความหวังด้านอาหารมนุษยชาติ

กรมอุทยานเผยผลวิจัยท่องโลกมหัศจรรย์ในรังมดแดงเพิ่มผลผลิตแมลงกินได้ความหวังด้านอาหารมนุษยชาติ

สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม(ทส.) ได้รวบรวมผลงานการวิจัยการจัดการด้านป่าไม้ สัตว์ป่า นิเวศวิทยาป่าไม้ และความหลากหลายทางชีวภาพ ประจำปี 2560 มีผลงานหลายเรื่องที่ถูกนำมาใช้พัฒนาต่อยอดยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน เช่น การศึกษาเรื่อง โครงสร้างและองค์ประกอบของรังมดแดงในประเทศไทย

โดยนส.ทิพากร ภูสาคร นักวิชาการป่าไม้ กรมอุทยานแห่งชาติฯ และ รศ.เดชา วิวัฒน์วิทยา ภาควิชาชีววิทยาป่าไม้ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ งานวิจัยดังกล่าวระบุว่า การศึกษาโครงสร้างและองค์ประกอบของรังมดแดงในประเทศไทย เพื่อเป็นต้นแบบในการสร้างรังเทียม เก็บข้อมูลของรัง เพื่อพัฒนาไปสู่การเลี้ยงมดแดงในระบบปิดไม่ใช้ต้นไม้ รวมทั้งส่งเสริมให้ชาวบ้าน หรือเกษตรกร ได้เพาะเลี้ยงมดแดงเป็นอาชีพเสริมได้ เพราะปัจจุบัน ทั้งภาครัฐและเอกชนให้ความสนใจเรื่องความมั่นคงทางด้านอาหาร ซึ่งแมลงกินได้ก็เป็นเป้าหมายหนึ่ง และมดแดงก็จัดเป็นประเภทแมลงกินได้ที่ได้รับความนิยมอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งไข่มดแดง ที่ขายได้ราคาดี มีคุณค่าทางอาหารสูง รวมทั้งมดแดงยังมีศักยภาพในการควบคุมแมลงศัตรูพืชมากกว่า 50 ชนิดในสวนผลไม้

งานวิจัยระบุว่า มดแดงสร้างรังโดยใช้ปากกัดใบและดึงเข้าหากัน แต่ถ้าใบอยู่ห่างกันมากๆ มดงานก็จะใช้ปากคาบเอวของมดงานอีกตัวหนึ่งต่อๆกัน เพื่อต่อตัวให้คล้ายโซ่ ดึงใบไม้ที่อยู่ห่างกัน จนมาชิดกัน จากนั้นมดงานก็จะคาบตัวหนอนระยะสุดท้ายซึ่งเป็นระยะที่มีต่อมเส้นใยบริเวณหัว โดยพ่นออกทางปากของตัวหนอนเพื่อใช้ยึดใบไม้ แล้วค่อยๆถักเส้นใยทีละเส้นยึดเกี่ยวใบไว้ จนเกิดเป็นรังขนาดต่างๆ โดยต้นไม้ที่มดแดงมักจะสร้างรังได้แก่ ต้นส้ม ต้นกานพลู และต้นมะม่วง เป็นต้น ขนาดของรังมีตั้งแต่ 0.3-0.5 เมตร

"รังของมดแดงจะมี 5 แบ คือ รูปรี รูปเรียวยาว ทรงกลม ครึ่งวงกลม และหยดน้ำ โดยทรงที่เจอมากที่สุดได้แก่รังทรงกลม รองลงมา คือรังแบบเรียวยาว ภายในรังของมดแดงนั้นจะมีลักษณะเป็นห้องๆ ขนาดต่างๆเชื่อมต่อกันด้วยช่องว่างเล็กๆ ในรังมดแดงยังแบ่งเป็นห้องต่างๆ แต่จะไม่มีห้องสำหรับมดราชินี เพราะมดราชินีมีรังสำหรับอาศัยโดยเฉพาะ ใบไม้ที่ถูกดึงมาประกอบกันเป็นรังที่เชื่อมต่อโดยเส้นใยจากตัวหนอนและใบไม้จะทำหน้าที่เหมือนผนังห้อง รูปแบบของห้องแต่ละรัง จะขึ้นอยู่กับรูปร่างและลักษณะของใบไม้แต่ละชนิด ภายในรังนั้นสามารถพบมดแดงได้ทุกวรรณะ ยกเว้นมดราชินี และสามารถพบตัวอ่อนได้ทุกระยะของการเติบโต แต่การอาศัยในห้องภายในรังจะมีการแบ่งขนาดของตัวอ่อนชัดเจน คือ ตรงกลางจะเป็นห้องสำหรับไข่หนอนระยะที่ 1 และระยะที่ 2 ถัดมาจะเป็นห้องของมดที่ร่างกายใหญ่ขึ้น หรือ หนอนในระยะที่ 3 ที่ 4 และดักแด้ ถัดมา ก็จะเป็นที่อยู่ของมดสีส้ม และสีส้มเข้ม รวมทั้งวรรณสืบพันธุ์ และมดงานเกิดใหม่ ที่ร่างกายยังไม่แข็งแรง และสุดท้ายคือ ห้องที่ติดผนังรัง เป็นที่อยู่ของมดงานและวรรณะสืบพันธุ์ที่เจริญเติบโตเต็มที่ และพร้อมที่จะออกจากรัง เพื่อไปผสมพันธุ์และสร้างอาณาจักรใหม่"งานวิจัยระบุ

เครดิตภาพ กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช

กรมอุทยานเผยผลวิจัยรังมดแดงกินได้หวังเป็นอาหารมนุษยชาติ

กรมอุทยานเผยผลวิจัยรังมดแดงกินได้หวังเป็นอาหารมนุษยชาติ

กรมอุทยานเผยผลวิจัยรังมดแดงกินได้หวังเป็นอาหารมนุษยชาติ

กรมอุทยานเผยผลวิจัยรังมดแดงกินได้หวังเป็นอาหารมนุษยชาติ