posttoday

มุ่งสู่แดนศิวิไลซ์ค้นหาเมืองอัจฉริยะ

02 กันยายน 2560

นโยบายขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล (DigitalEconomy) ย่อมมี “เมืองอัจฉริยะ” หรือสมาร์ทซิตี้ (Smart City)รวมอยู่ด้วยอย่างแน่นอนสำหรับในประเทศไทย ตั้งแต่ปี 2546เป็นต้นมา เมืองอัจฉริยะ หรือสมาร์ทซิตี้ถือเป็นโครงการที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมต้องการให้เกิดขึ้น ด้วยเป้าหมายที่จะพัฒนาคนให้กลายเป็นพลังขับเคลื่อนดิจิทัลที่สำคัญของ ประเทศ โดยทำให้เมืองเชื่อมโยงกันด้วย ครงสร้างพื้นฐานทางด้านเทคโนโลยีและเพิ่มเติมความสะดวกให้แก่วิถีชีวิตเศรษฐกิจ เติบโตในภาพรวมสมาร์ทซิตี้ แบ่งออกเป็น 7 ส่วนประกอบด้วย Smart Economy, Smart Tourism, Smart Safety, Smart Environment, Smart Healthcare, Smart Education และ Smart Governanceเมืองอัจฉริยะเป็นกระแสที่กำลัง มีการพัฒนากันทั่วโลก เพราะเป็นเรื่องของการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาปรับใช้กับเมืองเพื่อให้มีความน่าอยู่มากขึ้น ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการสาธารณะของเมืองได้อย่างรวดเร็ว การเชื่อมโยงข้อมูลถึงกันเพื่อช่วยพัฒนาระบบบริการให้มีประสิทธิภาพสูงสุดสำหรับพื้นที่ มีการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สร้างความปลอดภัยได้มากขึ้นแนวคิดคือการเป็นต้นแบบ “เมืองอัจฉริยะ” เ

นโยบายขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล (DigitalEconomy) ย่อมมี “เมืองอัจฉริยะ” หรือสมาร์ทซิตี้ (Smart City)รวมอยู่ด้วยอย่างแน่นอน

สำหรับในประเทศไทย ตั้งแต่ปี 2546เป็นต้นมา เมืองอัจฉริยะ หรือสมาร์ทซิตี้ถือเป็นโครงการที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมต้องการให้เกิดขึ้น ด้วยเป้าหมายที่จะพัฒนาคนให้กลายเป็นพลังขับเคลื่อนดิจิทัลที่สำคัญของ ประเทศ โดยทำให้เมืองเชื่อมโยงกันด้วย ครงสร้างพื้นฐานทางด้านเทคโนโลยีและเพิ่มเติมความสะดวกให้แก่วิถีชีวิตเศรษฐกิจ เติบโตในภาพรวม


สมาร์ทซิตี้ แบ่งออกเป็น 7 ส่วนประกอบด้วย Smart Economy, Smart Tourism, Smart Safety, Smart Environment, Smart Healthcare, Smart Education และ Smart Governanceเมืองอัจฉริยะเป็นกระแสที่กำลัง มีการพัฒนากันทั่วโลก เพราะเป็นเรื่องของการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาปรับใช้กับเมืองเพื่อให้มีความน่าอยู่มากขึ้น ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการสาธารณะของเมืองได้อย่างรวดเร็ว การเชื่อมโยงข้อมูลถึงกันเพื่อช่วยพัฒนาระบบบริการให้มีประสิทธิภาพสูงสุดสำหรับพื้นที่ มีการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สร้างความปลอดภัยได้มากขึ้น


แนวคิดคือการเป็นต้นแบบ “เมืองอัจฉริยะ” เป็นเมืองแห่งอนาคต เพื่อแก้ไขปัญหาสังคมเมือง โดยเน้นที่การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม พลังงาน และการพัฒนาอย่างยั่งยืนครบวงจร


สมาร์ทซิตี้ หรือเมืองอัจฉริยะ เป็นเทรนด์การพัฒนาเมืองยุคใหม่ให้เป็นเมืองที่น่าอยู่อย่างยังยืน โดยนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาปรับใช้กับเมือง โดยที่ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการสาธารณะของเมืองได้อย่างรวดเร็ว การเชื่อมโยงข้อมูลถึงกันเพื่อช่วยพัฒนาระบบบริการให้
มีประสิทธิภาพสูงสุด และนั่นหมายถึงคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและมีความปลอดภัยมากขึ้น


แนวทางในการนำเทคโนโลยีมาพัฒนาเมอื งให้มีความอจั ฉริยะนั้น จะต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ เอกชน รวมถึงประชาชนในพื้นที่ร่วมกันพัฒนาเมือง ในหลายประเทศก็ได้มีการลงทุนร่วมกันระหว่างภาครัฐและภาคธุรกิจ โดยมีบริษัทเทคโนโลยี
ชั้นนำระดับโลกได้เข้ามาร่วมมือกับรัฐบาลในการนำเอาเทคโนโลยีไอซีทีเข้ามาช่วยบริหารจัดการเมืองและชุมชนให้มีความเป็นอัจฉริยะมากขึ้น จนประสบความสำเร็จในการเป็นต้นแบบให้กับประเทศอื่นๆ

มุ่งสู่แดนศิวิไลซ์ค้นหาเมืองอัจฉริยะ


สมาร์ทซิตี้เกิดขึ้นในหลายเมืองทั่วโลก จะแตกต่างกันก็ในเรื่องของรายละเอียด แต่ที่เห็นเด่นชัดคือ มีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงเพื่อให้เป็นเมืองงที่มีความอัจฉริยะสามารถตอบโจทย์ในการดูแลและพัฒนาเมืองได้อย่างมีประสิทธิภาพ หลักๆ ก็คือการเพิ่มความ
สะดวกแก่ผู้อยู่อาศัยในชุมชน เรื่องของการใช้ทรัพยากรให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและการใชพ้ลังงานของเมืองให้ลดลง


คณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและนิเทศศาสตร์ ให้ความหมายของ สมาร์ทซิตี้ (Smart City)หรือเมืองอัจฉริยะไว้ว่า “เป็นรูปแบบการประยุกต์เทคโนโลยีดิจิทัล หรือข้อมูลสารสนเทศและการสื่อสารในการเพิ่มประสิทธิภาพและคุณภาพของการ
บริหารจัดการเมือง สิ่งแวดล้อม การศึกษา และการบริการชุมชน เพื่อช่วยในการลดต้นทุน และลดการบริโภคของประชากร โดยให้ประชาชนสามารถอยู่อาศัยได้ในคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ใช้ชีวิตให้สะดวกสบายขึ้น และประชาชนสามารถเข้าถึงบริการของเมืองได้รวดเร็ว
สร้างความปลอดภัยให้ทั้งชีวิตและทรัพย์สินมากขึ้น


เมืองอัจฉริยะเป็นรูปแบบการพัฒนาเมืองด้วยการนำเทคโนโลยีสารสนเทศและข้อมูลมาช่วยในการบริหารจัดการทรัพยากรของเมืองเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ปัจจุบันโครงการ “เมืองอัจฉริยะ”กำลังเดินหน้าเต็มกำลังขับ เพื่อนำประเทศไทยไปสู่ความเป็น “ไทยแลนด์4.0” โดยเฉพาะหัวเมืองใหญ่ในภูมิภาคต่างๆ ที่พยายามเปลี่ยนแนวคิดพัฒนาเมืองแบบเดิมๆ ไปสู่ความเป็นเมืองทันสมัยแบบสมาร์ทซิตี้เมืองอัจฉริยะนนำร่อง7 แห่งแรกของไทยที่ใกล้เป็นความจริง


สถาบันอาคารเขียวไทย ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ในการดำเนินการโครงการสนับสนุนการออกแบบเมืองอัจฉริยะ (Smart Cities-Clean Energy)โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้การสนับสนุนหน่วยงานภาครัฐ หน่วยงานส่วนท้องถิ่น
มหาวิทยาลัย องค์กรเอกชน ในการออกแบบเมืองอัจฉริยะที่ตระหนักถึงการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ส่งเสริมพลังงานหมุนเวียน รักษาสิ่งแวดล้อมเสริมสร้างความเป็นอยู่ที่ดีให้กับชุมชนและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากภาคส่วนต่างๆ โดยการสง่ ผลงานเพื่อประกวดแนวความคิดและการออกแบบเมืองอัจฉริยะ และโครงการ จะให้การสนับสนุนการออกแบบสำหรับผู้ที่ผ่านการประเมินในแต่ละขั้นตอน ในวงเงินรวมประมาณ 80 ล้านบาท


7 โครงการเมืองอัจฉริยะและพลังงานสะอาดที่ผ่านการคัดเลือกเพื่อพัฒนาเมืองอัจฉริยะ เป็นมิติหนึ่งสู่การพัฒนาแบบยั่งยืน (SustainableDevelopment) ที่มีรูปแบบของการพัฒนาเมืองเป็นห่วงโซ่คุณค่าสีเขียว(Green Value Chain) ของการบูรณาการวางผังเมืองให้ส่งเสริมกันบนโครงสร้างพื้นฐานของเทคโนโลยีอัจฉริยะ และเป็นคำตอบใหม่ของการพัฒนาเมืองที่เปลี่ยนไปจากเดิมที่พอเพียงและสามารถพึ่งพาตนเองได้ผลสำเร็จ


“ต้นแบบเมืองอัจฉริยะ” จากโครงการที่เป็นเสมือนภาพร่างทางความคิด เป็นความฝันของคนกลุ่มเล็กๆได้ก่อให้เกิดกระแสตื่นตัวทางสังคมจนนำไปสู่ข้อเสนอแนวคิดเมืองอัจฉริยะที่หลากหลาย แต่ล้วนมีความต้องการเป็นหนึ่งเดียวกัน นั่นคือความต้องการที่อยากจะเห็นภาพเมืองอัจฉริยะของไทยพัฒนาไปสู่ความสำเร็จอย่างแท้จริง


จากข้อเสนอแนวคิด 36 โครงการตั้งต้น นำมาสู่การคัดเลือกข้อเสนอแนวคิดที่ตอบโจทย์การพัฒนาเมืองที่สุดจำนวน 16 โครงการ ที่จะต้องจัดทำผังแม่บทการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ(Smart City Development MasterPlan) เพื่อเข้าสู่กระบวนการคัดเลือกอย่างเข้มข้นของคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จนในที่สุดก็สามารถเฟ้นหาสุดยอดโครงการเมืองอัจฉริยะ 7 โครงการสุดท้ายมาได้สำเร็จ ซึ่งทั้ง 7 โครงการนี้จะได้รับการสนับสนุนจากกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน โครงการละไม่เกิน 10 ล้านบาท เพื่อใช้ในการจัดทำโมเดลธุรกิจ (Business Model)ในขั้นตอนต่อไป โดยมีโครงการที่เข้ารอบดังต่อไปนี้


1.นิด้า : มหาวิทยาลัยอัจฉริยะ รู้รักษ์พลังงานสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน

นิด้า (NIDA) หรือสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ เป็นสถาบันการศึกษาชั้นสูงของรัฐที่เปิดสอนเฉพาะระดับบัณฑิตศึกษา และมุ่งเน้นที่จะเป็นต้นแบบมหาวิทยาลัยอัจฉริยะในพื้นทีเ่ พียง 44 ไร่จึงได้สร้าง “Smart Compact City”ที่มีจุดเด่นแตกต่างกันออกไป เช่น
Smart Energy ชาวนิด้าใช้ไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ส่งเข้า Smart Grid ที่มีระบบแบตเตอรี่ช่วยหล่อเลี้ยง และระบบจัดการพลังงานอัตโนมัติและการใช้พลังงานธรรมชาติที่ช่วยลดการปล่อยCO2 ลงได้กว่า 66% Smart Mobility


นิด้ามุ่งหมายที่จะสร้าง IntermodalTransportation Hub โดยการเชื่อมโยงทางเดินเท้า ทางจักรยาน และรถไฟฟ้าในอนาคต นอกจากนี้ยังมีรถ Shuttle Bus พลังงานไฟฟ้า พร้อมทั้งมีระบบสื่อสารระยะไกล พลังงานต่ำหรือ LoRa-Wan เชื่อมต่ออุปกรณ์อัจฉริยะเข้าสู่ Data
Analytic Center เพื่อประมวลผลข้อมูลสำหรับการวางแผนอย่างมีส่วนร่วมในการพัฒนาเมืองในทุกมิติ


ต่อมาจะเป็น Smart Communityจะมีข้อความส่งไปยัง Wrist Band ส่วนตัวของชาวนิด้าเพื่อตรวจสอบกิจกรรมที่ต้องทำ สถานะสุขภาพ และการนัดหมายแพทย์ผ่าน Smart Device อีกทั้งยังมีSmart Board ที่ Sky Bridge ตามจุดสำคัญต่างๆ เป็นการรายงานข้อมูลวิชาการให้กับชาวนิด้า


หลังพัฒนา Smart Campus จะมีSmart Environment ที่ก่อให้เกิดพื้นที่สีเขียวเพิ่มอีก 7% ขยะจะถูกรีไซเคิลเพื่อทำปุ๋ยอินทรีย์ให้ต้นไม้และนำไปทำเป็นไบโอก๊าซและขยะจะลดลงเรื่อยๆ ภายในระยะเวลา3-5 ปี และ Smart Building นอกจากอาคารเขียวของ TREES แล้วนิด้าจะมี Net Zero EnergyBuilding อีก 8 อาคาร รวมอาคารหอประชุมด้วยเช่นกัน ยังมีส่วนของ Smart Governance ที่นอกจากจะแสดงอัตราการใช้พลังงานจาก Smart Control System แล้ว ยังทราบข้อมูลปฏิบัติงานตามยุทธศาสตร์และสถิติต่างๆ ของสถาบันผ่าน Smart Dashboard ซึ่งให้ความสำคัญต่อ Open Data ผู้ที่มีส่วนร่วมจะได้เข้าถึงข้อมูลที่เป็นประโยชน์ได้อย่างสะดวก


สุดท้ายคือ Smart Innovation นิด้าจะพัฒนา Machine Learning และ Big DataAnalytics เพื่อร่วมสนับสนุนในการตัดสินใจสำหรับการบริหารจัดการอัจฉริยะต่างๆ จากที่กล่าวมาทั้งหมดนี้จึงสรุปได้ว่า NIDASmart Compact City สามารถเป็นต้นแบบเมืองแห่งอนาคตเพื่อนำไปสู่การพัฒนาประเทศได้อย่างยั่งยืน


2.มช. (เมือง) มหาวิทยาลัยอัจฉริยะ พลังงานสะอาด


เมืองมหาวิทยาลัยเชียงใหม่เป็นเมืองที่มีต้นทุนทางทรัพยากรธรรมชาติและวัฒนธรรมสูง มีความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมีพื้นที่สีเขียวมากกว่ามาตรฐานกำหนด จึงมีวัตถุประสงค์หลักในการลดผลกระทบและลดภาระด้านสิ่งแวดล้อมต่อเมืองข้างเคียงและมุ่งเน้นการเป็นต้นแบบเมืองอัจฉริยะพลังงานสะอาดให้กับเมืองข้างเคียง


ทั้งนี้ เมืองมหาวิทยาลัยแบ่งภาพรวมของโครงการออกเปน็ ส่วน ได้แก่ ภาพรวมประโยชน์ทางพลังงาน ภาพรวมผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมภาพรวมผลประโยชน์ต่อชุมชน โดยที่เมืองสามารถสร้างผลประโยชน์มางพลังงานสุทธิได้จากการผลิตพลังงานสะอาดจากแสงอาทิตย์
และชีวมวลได้ถึงร้อยละของปริมาณการใช้พลังงานของเมือง


เป็นที่แน่นอนว่าสิ่งเหล่านี้ย่อมส่งผลต่อชุมชนทั้งในเมือง หมู่บ้าน และชุมชนข้างเคียงที่จะได้รับประโยชน์จากพื้นที่สีเขียว และมีความสะดวกสบายในการสัญจรเพิ่มขึ้น อีกทั้งยังส่งผลในทางเศรษฐศาสตร์โดยการลดต้นทุนในการใช้พลังงาน โดยเฉพาะไฟฟ้าขอเมืองโดยรวม ซึ่งทำให้มีปริมาณของไฟฟ้า(Electricity Supply) เพิ่มมากขึ้น


ทั้งการพัฒนาเทคโนโลยีที่สนับสนุนเมืองอัจฉริยะยังเป็นการสร้างนวัตกรรมและสามารถส่งต่อองค์ความรู้สู่ภาคธุรกิจ(Knowledge Transfer) โดยรอบได้ ซึ่งจะสามารถเพิ่มการลงทุนและสร้างรายได้ในเทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เป็นการสร้างการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Green Growth) ของเมืองโดยรอบ

มุ่งสู่แดนศิวิไลซ์ค้นหาเมืองอัจฉริยะ


3.เมืองจุฬาฯ อัจฉริยะ


พื้นที่แห่งนี้อยู่ติดกับสถาบันการศึกษาด้วยขนาดพื้นที่ 291 ไร่ จากที่ดินทั้งหมด1,153 ไร่ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งจะมีบริเวณสวนหลวง-สามย่าน ที่จะกลายเป็นพื้นที่ตัวอย่างของ “เมืองอัจฉริยะ” ในบริบทของพื้นที่พาณิชยกรรมศูนย์กลางเมืองหลวงที่จะส่งผลทางด้านบวกต่อคนเป็นจำนวนมากในพื้นที่ที่มีความหนาแน่นสูง ทั้งในทุกมิติอัจฉริยะของการจัดการพลังงาน การสัญจรชุมชน สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ อาคาร รวมทั้งการบริหารจัดการเมืองและการสร้างนวัตกรรมเมือง


นอกจากนี้ “เมืองจุฬาฯ อัจฉริยะ” ยังมีบทบาทในการชี้นำ และสร้างแรงบันดาลใจให้กับคนในสังคม ที่สำคัญคือที่นี่ยังเป็นเมืองอัจฉริยะในเขตพาณิชยกรรมศูนย์กลางเมืองเพียงแห่งเดียวที่มีนโยบายการพัฒนาและบริหารจัดการควบคู่ไปกับสถาบันการศึกษาอย่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทำให้พลวัตของการถ่ายทอดความรู้เชิงวิชาการสู่การสร้างนวัตกรรมทางสังคมผ่านการพัฒนาพื้นที่เป็นไปได้อย่างมั่นคง แน่นอน และเป็นรูปธรรม


4.ธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต: ต้นแบบเมืองมหาวิทยาลัยอัจฉริยะ


มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ได้ทำการปรับปรุงผังแม่บท ศูนย์รังสิตระยะยาวพ.ศ. 2577 (ธรรมศาสตร์ 100 ปี) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ไขปัญหาเชิงกายภาพด้านการขาดศูนย์กลางชุมชม และการสื่ออัตลักษณ์ของธรรมศาสตร์ พร้อมกับเตรียมปรับระบบพื้นที่ทั้งหมดให้สอดคล้องกับการใช้งานในปัจจุบันจนถึงในอนาคต ผู้บริหารและประชาคมธรรมศาสตร์จึงมีแนวคิดในการสร้างศูนย์รังสิตให้เป็น “สังคมแห่งการเรียนรู้อย่างยั่งยืนเพื่อรับใช้ประชาชนและผู้อยู่มีความสุข”


โดยมี 5 แนวทางในการพัฒนาพื้นที่ได้แก่ การเป็นศูนย์ธรรมศาสตร์เพื่อประชาชนชุมชนแห่งการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เมืองมหาวิทยาลัยสีเขียวที่ยั่งยืน มหาวิทยาลัยแห่งความสุข ศูนย์กลางบ่มเพาะเศรษฐกิจสร้างสรรค์ มุ่งเน้นไปที่การปรับโครงสร้างหลักให้เหมาะสม


โดยแบ่งเป็นพื้นที่สัญจร พื้นที่เปิดโล่งสีเขียว แกนเอกลักษณ์ จุดรวมกิจกรรมและระบบสาธารณูปโภคต่างๆ เพื่อสร้างความเป็น “เมืองธรรมศาสตร์” ที่เชื่อมโยง3 องค์ประกอบเข้าด้วยกันอันได้แก่ศูนย์ธรรมศาสตร์บริการที่สะท้อนถึงอัตลักษณ์และได้รับการปรับให้เป็น“ศูนย์ธรรมศาสตร์เพื่อประชาชน” มีการใช้งานที่เอื้อต่อประชาชนอย่างเต็มที่ทั้งบริการรักษาพยาบาล ห้องสมุดพิพิธภัณฑ์ และร้านค้าต่างๆ


นอกจากนี้ ยังมีต้นแบบเมืองมหาวิทยาลัยที่ครอบคลุมพื้นที่ส่วนการศึกษาและส่วนพักอาศัยตั้งอยู่ใจกลางมหาวิทยาลัย ซึ่งได้รับการปรับให้มีการใช้งานที่ครบถ้วน สะดวกสบายและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เหมาะกับสภาพการเดินเท้า จักรยาน และระบบขนส่งมวลชน


ก่อให้เกิดเป็น “ศูนย์รวม” ทั้งด้านกิจกรรม การแลกแปลี่ยน เรียนรู้และการสร้างสุนทรียภาพในการใช้ชีวิตรวมทั้งส่งเสริมการใช้ตลาดวิชาและถนนยูงทองเพื่อสร้างการเชื่อมโยงทางกายภาพกับสถาบันเพื่อนบ้านอย่างสวทช. และ A.I.T ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการก่อให้เกิด “ต้นแบบเมืองมหาวิทยาลัย”อย่างแท้จริง


และสุดท้ายคือสวนธรรมศาสตร์สาธารณะ ซึ่งองค์ประกอบของทั้งศูนย์บริการประชาชนและพื้นที่การเรียนรู้จะถูกเชื่อมโยงเข้าหากันด้วย “สวนธรรมศาสตร์สาธารณะ” ได้แก่ พื้นที่นันทนาการ กีฬา และวัฒนธรรม และพื้นที่ส่วนการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้ โดยยึดแนวทางการจัดการพื้นที่สีเขียวภายในศูนย์รังสิตให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อให้เกิดเป็นโครงข่ายสีเขียว (Green Network) ที่เชื่อมโยงคนทุกกลุ่มและสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ให้อยู่ร่วมกันอย่างเกื้อกูล


5.วิสซ์ดอม วัน-โอ-วัน


Whizdom101 New CommunityHub of Bangkok เป็นโครงการ MixusedProject ที่พัฒนาอยู่บนเนื้อที่ 43 ไร่ โดยมีความประสงค์ที่จะพัฒนาโครงการให้เป็นมากกว่าสิ่งปลูก สร้างเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของคนเมือง Mixed-use UrbanNeighborhood ภายใต้แนวความคิด
“The Great Good Place” ซึ่งเป็นการผสมผสานกันอย่างลงตัวระหว่างที่อยู่อาศัย ที่ทำงาน และที่ทำกิจกรรมทางสังคมต่างๆ


ทั้งนี้ โครงการ Whitzdom101มีพื้นที่สีเขียวในโครงการ 30% ของที่ดินทั้งหมด โดยมุ่งหวังจะคืนพื้นที่สีเขียวให้กับชุมชน ซึ่งจะจัดเป็นพื้นที่สาธารณะให้กับบุคคลภายนอกโครงการและชุมชนโดยรอบ เพื่อสามารถเข้ามาพักผ่อนทำกิจกรรมอื่นๆ ส่งเสริมให้คนในชุมชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เช่น E-Library ห้องสมุดสาธารณะ ลู่วิ่งและจักรยานลอยฟ้าบนอาคาร รวมถึงสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆ เช่น ตู้ล็อกเกอร์ ห้องอาบน้ำ ที่เปิดให้บริการบุคคลทั่วไป และยังตอบสนองความต้องการของชีวิตคนเมืองและชุมชนโดยรอบ ด้วยแนวคิดร้านค้าปลีก
รูปแบบใหม่ที่เป็น Innovation LifestyleRetail โดยมีร้านค้ากว่า 200 ร้าน และมีพื้นที่ที่ให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง


โครงการ Whizdom101 เป็นอาคารที่ประหยัดพลังงานทั้งด้าน Passive และActive เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดมุ่งเน้นการใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่น้อยที่สุดอย่างมีประสิทธิภาพ พื้นที่ในโครงการ ทั้งส่วนสำนักงาน ที่พักอาศัยและสิ่งอำนวยความสะดวกและพื้นที่ไลฟ์
สไตล์ รวมไปถึงพื้นที่ส่วนกลางทั้งหมดจะอยู่บนโครงข่ายดิจิทัลแพลตฟอร์มเดียวกัน ทำให้ที่แห่งนี้มีการเชื่อมต่อประสานแบบเครือข่ายไร้รอยต่อ โดยพื้นที่ทั้งหมดจะสามารถเชื่อมไว-ไฟ ที่มีความเร็วสูงสุดได้ฟรี ทำให้ทุกคนได้มีอิสรภาพในโลกดิจิทัลแบบไร้ขีดจำกัด


Whizdom101 จะเป็นสังคมดิจิทัลที่สมบูรณ์แบบแห่งแรกในประเทศไทยซึ่งผสมผสานพื้นที่สำนักงาน ที่อยู่อาศัยร้านค้าปลีก และพื้นที่ส่วนรวมที่ตอบสนองการใช้ชีวิตแบบไร้รอยต่อบนดิจิทัลแพลตฟอร์ม

6.ขอนแก่น SmartCity (ระยะที่ 1) : ขนส่งสาธารณะเปลี่ยนเมือง


จ.ขอนแก่น ถูกกำหนดให้เป็นเมืองสำคัญและเป็นเมืองศูนย์กลางทางด้านต่างๆ ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทั้งในด้านการศึกษา การค้าและบริการ การเงิน การแพทย์ อุตสาหกรรม คมนาคมและโลจิสติกส์


นอกจากนี้ เมืองขอนแก่นยังมีศักยภาพด้านการเป็นพื้นที่ยุทธศาสตร์ตามระเบียงเศรษฐกิจ (EWEC) เป็นการเชื่อมโยงระหว่าง 5 ประเทศ คือ จีนเวียดนาม ลาว ไทย และเมียนมา โดยมีจ.ขอนแก่น เป็นจุดผ่านสำคัญของโครงข่ายคมนาคมที่เชื่อมโยงนานาประเทศดังกล่าว ซึ่งจะเป็นการเข้าถึงตลาดต่างประเทศ เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรมและการบริการของไทย


ปัจจุบันนี้เมืองขอนแก่นได้กำหนดให้เป็น MICE CITY ซึ่งกิจกรรมเหล่านี้จะทำให้เกิดการขับเคลื่อนสภาพคล่องมากขึ้น ด้วยเศรษฐกิจและรายได้ของชาวเมืองขอนแก่นที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้พื้นที่เมืองขอนแก่นมีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว แต่ขณะเดียวกันก็ก่อให้เกิดปัญหาหลายด้าน อาทิ ปัญหาจราจรปัญหาการจัดการขยะ การลดลงของพื้นที่สีเขียว เป็นต้น ทำให้มีความจำเป็นที่ต้องมีการบริหารเชิงพื้นที่และบริหารการจัดรูปแบบของความเป็นเมืองสร้างสรรค์ (Smart City)


เทศบาลนครขอนแก่นมีองค์ประกอบแห่งความสำเร็จหลายประการที่สามารถนำรูปแบบการบริหารจัดการเชิงสร้างสรรค์มานำร่องปรับใช้กับเมืองได้ในการพัฒนาเมืองสู่สากลสร้างสังคมแห่งความสุขได้นั้น ทางเทศบาลนครขอนแก่นกับบริษัท ขอนแก่นพัฒนาเมือง (เคเคทีที) จึงเกิดเป็นแนวคิดพัฒนาแบบโครงข่ายระบบสาธารณะ5 เส้นทาง Mobility Drives City เพื่อทำให้เกิดการพัฒนา TOD และการฟื้นฟูย่านใจกลางเมืองปัจจุบัน CBD


สิ่งที่กล่าวมาข้างต้นของเมืองขอนแก่น Smart City (ระยะที่ 1)ก่อสร้างระบบขนส่งมวลชน ระบบรางเบาสายเหนือ-ใต้ ต้นแบบเมืองภูมิภาคจ.ขอนแก่น พร้อมกับพัฒนาโครงการสร้างเมืองและการจัดตั้งกองทุนโครงสร้างพื้นฐานโดยการลงทุนจากภาคเอกชน เพื่อการสร้างโครงสร้างเมืองอย่างทันสมัยและยั่งยืน


7.เมืองใหม่อัจฉริยะบ้านฉาง


เมืองใหม่อัจฉริยะบ้านฉาง ออกแบบเป็นเมืองใหม่ในพื้นที่เกษตรกรรมและพื้นที่ว่างเปล่าซึ่งมีมูลค่าทางเศรษฐกิจต่ำดังนั้นวิสัยทัศน์ที่สำคัญของเมืองใหม่อัจฉริยะบ้านฉางก็คือ การเตรียมเมืองให้ดีพร้อมอย่างชาญฉลาดสำหรับการเปลี่ยนแปลงความต้องการของพลเมืองสิ่งแวดล้อมและเศรษฐกิจในอนาคตอันใกล้ และนำเอาเทคโนโลยีล่าสุดมาใช้ในการทำงานร่วมกันกับชุมชนพลเมือง และผู้มาเยือน ให้ดีที่สุดในการสร้างสรรค์กิจกรรมต่างๆ


ในการเป็นเมืองใหม่อัจฉริยะบ้านฉาง ยังมีการผลิตและใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพจากระบบผลิตไฟฟ้าและความร้อนร่วม และติดตั้งระบบการจัดเก็บพลังงานแบบผสมผสาน (Hybrid Solar-Wind Power withbattery system) ลดการใช้พลังงานให้ต่ำกว่าเกณฑ์ ให้มีอาคารสมดุลพลังงาน (Net Zero Energy Building)และบริการรถไฟฟ้าสาธารณะให้กับคนทุกกลุ่ม พร้อมทั้งมีฟรีไว-ไฟความเร็วสูงให้ใช้ในย่านธุรกิจและท่องเที่ยวในเมือง และควบคุมการจราจรด้วยนวัตกรรม OCR : Optical CharacterRecognition ที่ใช้เป็นระบบรักษา
ความปลอดภัยของเมืองได้อีกด้วย


นอกจากนี้ เมืองใหม่อัจฉริยะบ้านฉางจะมีการจัดตั้งสถาบันการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning) ที่จะเป็นแหล่งเรียนรู้ฝึกอบรมวิชาชีพตามอัธยาศัย และการดูแลสุขภาพอนามัยของประชาชนด้วย Social Network,Application และ Web Portal การออกแบบและควบคุมคุณภาพสิ่งแวดล้อมเพื่อการรักษาระบบนิเวศให้สมดุลกับการดำรงอยู่ของเมืองให้เป็นเมืองใหม่เชิงนิเทศ(Eco New Town)


อีกทั้งยังมีถังขยะอัจฉริยะที่เก็บข้อมูลปริมาณขยะและความถี่ในการรวบรวมขยะและใช้เทคโนโลยีการจัดการและเก็บกลับคืนทรัพยากรจากแหล่งธุรกิจและที่พักอาศัยปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญของเมืองใหม่อัจฉริยะคือจะเป็นเมืองที่ดีพร้อม ได้แก่ คุณภาพของพลเมืองที่มีคุณธรรมการศึกษาและมีความรู้ มีวัฒนธรรมอันดีงาม


โครงการที่ผ่านการคัดเลือกทั้ง 7 โครงการได้จัดเตรียมโครงการในขั้นตอนที่ 2 คือการจัดทำผังแม่บทการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ(Smart City Development Master Plan)ที่มีรายละเอียดเบื้องต้นที่ครอบคลุม ผังการใช้พื้นที่ แผนผังโครงการการจัดวางอาคารและแผนผัง ต่างๆ ได้แก่ อาคารภูมิสถาปัตย์ระบบสาธารณูปโภค ระบบผลิต ส่ง และจ่ายพลังงาน ระบบเครื่องกลและไฟฟ้าระบบสุขาภิบาล ระบบจัดการน้ำเสีย ระบบนำน้ำกลับมาใช้ ระบบระบายน้ำ ระบบกักเก็บน้ำฝน ระบบอัจฉริยะ เป็นต้น


รวมทั้งขนาดของระบบต่างๆ เช่น ระบบไฟฟ้า ระบบทำความเย็น ระบบทำความร้อนระบบน้ำประปา ระบบน้ำเสีย ระบบนำน้ำกลับมาใช้ ปริมาณขยะ ปริมาณขยะที่สามารถนำกลับมาใช้ ระบบพลังงานสะอาด พร้อมทั้งจัดทำรายงานเปรียบเทียบเพื่อแสดงการคำนวณตัวเลขของการประหยัดพลังงานการประหยัดน้ำ การลดปริมาณคาร์บอนการประหยัดค่าก่อสร้าง เป็นต้น


ผู้ที่ได้รับเงินสนับสนุนจากกองทุนในขั้นตอนที่ 2 จะต้องดำเนินการจัดทำโมเดลธุรกิจ (Business Model) อันประกอบด้วยรายละเอียดเบื้องต้น (Schematic Design)ประเมินค่าก่อสร้างเบื้องต้น (ConstructionBudget Estimation) วิเคราะห์ค่าใช้จ่ายตลอดอายุโครงการ (Life Cycle CostAnalysis) รายงานการวิเคราะห์ทางด้านเศรษฐศาสตร์ (Financial Feasibility Study)เพื่อให้สามารถนำไปใช้เป็นโมเดลธุรกิจ(Business Model) และนำไปสู่การจัดหาผู้ร่วมทุนและการพัฒนา “เมืองอัจฉริยะ”หรือ “Smart City” ให้เป็นรูปธรรมต่อไปในอนาคตอันใกล้นี้