posttoday

สรรพสามิตระดมพลลุยรีดภาษีเครื่องดื่ม

20 กันยายน 2553

สรรพสามิตลุยรีดภาษีเครื่องดื่ม หวังภาษีทะลุเป้านายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม อธิบดีกรมสรรพสามิต เปิดเผยว่า ที่ผ่านมากรมได้ดำเนินการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บภาษีอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการเก็บภาษีเครื่องดื่มประเภทต่างๆ ได้มีการพัฒนาการเก็บภาษีให้ทันสมัย จากปัจจุบันการเก็บภาษีในส่วนของเบียร์ใช้ระบบมิเตอร์วัดปริมาณการผลิตจากโรงงานจำนวนทั้งหมด 8 สายพานการผลิต และมีการส่งสัญญาณข้อมูลมายังกรมตลอดเวลา ทำให้การเก็บภาษีไม่รั่วไหลหลังจากนี้กรมจะขยายการเก็บภาษีโดยใช้มิเตอร์วัดการผลิตไปยังเครื่องดื่มประเภทไวน์อีก 1 โรงงาน และขยายไปยังเครื่องดื่มประเภทน้ำอัดลมที่มีอยู่ 34 แห่ง จำนวน 56 สายพานการผลิต ภายในปีนี้ ต่อจากนั้นในปีหน้าจะดูความจำเป็นว่าจะต้องขยายไปยังประเภทเครื่องดื่มยาชูกำลังต่อไปอีกหรือไม่ “การใช้ระบบมิเตอร์มาวัดการผลิต เพื่อใช้เป็นฐานการเก็บภาษี ช่วยให้การรั่วไหลลดลง การตรวจสอบสถานการณ์มีความชัดเจนตลอดเวลา โดยปัจจุบันนี้มีเบียร์และไวน์นิดหน่อย โดยเราพยายามจะไปที่โรงเครื่องดื่มทั้งหมด ซึ่งมาทดแทนระบบฝาจีบที่ล้าหลัง รั่วไหลเยอะเพราะต้องพึ่งเจ้าหน้าที่มีความผิดพลาดได้ง่าย” นายอารีพงศ์ กล่าวปัจจุบัน กรมสรรพสามิ

สรรพสามิตลุยรีดภาษีเครื่องดื่ม หวังภาษีทะลุเป้า

นายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม อธิบดีกรมสรรพสามิต เปิดเผยว่า ที่ผ่านมากรมได้ดำเนินการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บภาษีอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการเก็บภาษีเครื่องดื่มประเภทต่างๆ ได้มีการพัฒนาการเก็บภาษีให้ทันสมัย จากปัจจุบันการเก็บภาษีในส่วนของเบียร์ใช้ระบบมิเตอร์วัดปริมาณการผลิตจากโรงงานจำนวนทั้งหมด 8 สายพานการผลิต และมีการส่งสัญญาณข้อมูลมายังกรมตลอดเวลา ทำให้การเก็บภาษีไม่รั่วไหล

หลังจากนี้กรมจะขยายการเก็บภาษีโดยใช้มิเตอร์วัดการผลิตไปยังเครื่องดื่มประเภทไวน์อีก 1 โรงงาน และขยายไปยังเครื่องดื่มประเภทน้ำอัดลมที่มีอยู่ 34 แห่ง จำนวน 56 สายพานการผลิต ภายในปีนี้ ต่อจากนั้นในปีหน้าจะดูความจำเป็นว่าจะต้องขยายไปยังประเภทเครื่องดื่มยาชูกำลังต่อไปอีกหรือไม่

“การใช้ระบบมิเตอร์มาวัดการผลิต เพื่อใช้เป็นฐานการเก็บภาษี ช่วยให้การรั่วไหลลดลง การตรวจสอบสถานการณ์มีความชัดเจนตลอดเวลา โดยปัจจุบันนี้มีเบียร์และไวน์นิดหน่อย โดยเราพยายามจะไปที่โรงเครื่องดื่มทั้งหมด ซึ่งมาทดแทนระบบฝาจีบที่ล้าหลัง รั่วไหลเยอะเพราะต้องพึ่งเจ้าหน้าที่มีความผิดพลาดได้ง่าย” นายอารีพงศ์ กล่าว

ปัจจุบัน กรมสรรพสามิตเก็บภาษีในแต่ละปี แยกเป็นน้ำมัน 1.4 หมื่นล้านบาท รถยนต์ 5 หมื่นล้านบาท เบียร์ 5 หมื่นล้านบาท ยาสูบ 4.7 หมื่นล้านบาท สุรา 3.7 หมื่นล้านบาท และเครื่องดื่ม 1.2 หมื่นล้านบาท เชื่อว่าพอติดมิเตอร์แล้วทำให้รายได้ที่เก็บจากเครื่องดื่มเพิ่มขึ้น

นายอารีพงศ์ กล่าวว่า แนวทางการเก็บภาษีของกรมในอนาคต ประกอบด้วย 3 ด้าน ได้แก่ 1.การเก็บภาษีเพื่อควบคุมการบริโภค เช่น สุรา เบียร์ ยาสูบ ยังคงต้องเก็บภาษีในอัตราเดิมต่อไป ไม่มีการลด 2.การเก็บภาษีสินค้าฟุ่มเฟือย ในอนาคตมีแนวโน้มที่ลดลง และ 3.การเก็บภาษีสิ่งแวดล้อม ที่สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ได้ร่างกฎหมายและสรุปแนวทางไว้เป็นที่เรียบร้อยแล้วว่าทางกรมสรรพสามิตจะเป็นผู้รับผิดชอบ ส่วนจะเก็บภาษีสินค้าประเภทไหนยังไม่สามารถเปิดเผยได้ เพราะอาจจะเกิดผลกระทบกับผู้ประกอบการได้

สำหรับการบริหารช่วง 1 ปีที่ผ่านมา สามารถดำเนินการได้ตามยุทศาสตร์ที่เคยวางไว้ สามารถเก็บภาษีได้ 4 แสนล้านบาท จากเป้าที่ตั้งไว้ 2.9 แสนล้านบาทเกิดจากการปรับอัตราภาษี และกรมพยายามให้ผู้ประกอบการสะดวกขึ้น มีภาระลดลง ธุรกิจก็จะสามารถเดินได้ดีขึ้น และเสียภาษีให้รัฐมากตามไปด้วย

นอกจากนี้มีการปรับสำนักงานให้ทัีนสมัีย เป็นสมาร์ทออฟฟิสเพื่อดูแลผู้ประกอบการขายสุราและับุหรี่รายย่อยกว่า 6 แสนราย ให้ได้่รับความสะดวกในการขอใบอนุญาตทุกปีที่ เจ้าหน้าที่ต้่องอนุมัติถึง 1.2 ล้านใบอนุญาต ทั่วประเทศ โดยสมาร์ทออฟฟิสจะทำให้ได้ 21 แห่ง ภายในเดือน ก.ย.นี้ และ 86 แห่งของสำนักงานกรมสรรพสามิตทั่วประเทศ

ด้านผู้ประกอบการรายใหญ่ประมาณ 300 บริษัท อาทิ เบียร์ เครื่องดื่ม รถยนต์ น้ำมัน เดิมทีต้องรายงานแบบการเสียภาษีจำนวนมาก ก็มีการลดข้อมูลที่ไม่จำเ้ป็น และให้ส่งทางอิืนเตอร์เน็ต ทำให้ผู้ประกอบการได้รัีบความสะดวกขึ้นอย่างมาก

นายอารรพงศ์ กล่าวว่า กรมได้ให้ความสำคัญกับการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ ปีที่ผ่านมาได้มีการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ตลอดทั้งปี 3,000 คน เป็นเจ้าหน้าที่ด้านการเก็บภาษีและด้านการปราบปรามอย่างละ 1,500 คน เพื่อให้มีความเข้าใจการการเก็บภาษีและยุทธศาสตร์การดำเนินงานของกรมให้ไปในทิศทางเดียวกัน