posttoday

ทนายชี้โพสต์รูปเหล้า-เบียร์ ลงโซเชียลไม่ได้ผิดเสมอไป

23 กรกฎาคม 2560

เกิดผล แก้วเกิด โพสต์ข้อความกรณี “โพสต์ภาพเครื่องดื่มแอลกอฮอล์” ในโซเชียลมีเดียไม่ได้ผิดเสมอไป ขึ้นอยู่กับเจตนา

เกิดผล แก้วเกิด โพสต์ข้อความกรณี “โพสต์ภาพเครื่องดื่มแอลกอฮอล์” ในโซเชียลมีเดียไม่ได้ผิดเสมอไป ขึ้นอยู่กับเจตนา

เมื่อวันที่ 23 ก.ค. เกิดผล แก้วเกิด ทนายความชื่อดังโพสต์เฟซบุ๊กวิเคราะห์ข้อกฎหมายกรณี “โพสต์ภาพเครื่องดื่มแอลกอฮอล์” ในโซเชียลเน็ตเวิร์ค

เกิดผล บอกว่า ตาม พรบ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.2551 มาตรา 32 วรรคแรก บัญญัติว่า

มาตรา ๓๒ ห้ามมิให้ผู้ใดโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือแสดงชื่อหรือเครื่องหมายของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อันเป็นการอวดอ้างสรรพคุณหรือชักจูงใจให้ผู้อื่นดื่มโดยตรงหรือโดยอ้อม
ตามความหมายในมาตรานี้ ถ้าจะเป็นความผิด ก็ต้องปรากฎว่า

1.โฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือ

2.แสดงชื่อหรือเครื่องหมายของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อันเป็นการอวดอ้างสรรพคุณหรือชักจูงใจให้ผู้อื่นดื่มโดยตรงหรือโดยอ้อม

ข้อ 1.ไม่มีปัญหาในการตีความ การโฆษณาเครื่องดื่มแอล์กอฮอล์ จะมีค่าจ้างหรือไม่มีก็ย่อมเป็นความผิด

แต่ ข้อ 2. การแสดงชื่อ หรือ เครื่องหมาย ต้อง #มีเจตนาพิเศษ คือ #อวดอ้างสรรพคุณ หรือ #ชักจูงให้ผู้อื่นดื่ม โดยตรงหรือโดยอ้อม

คำว่าอวดอ้างสรรพคุณ นั้น น่าจะปรากฎชัดเจน เช่น โพสต์ว่า ดื่มแล้วอร่อยมาก รสชาติดี หรือละมุนกลมกล่อม แบบนี้ ฟังไดัชัดเจน ย่อมเป็นความผิด

ส่วนคำว่า #ชักจูงให้ผู้อื่นดื่ม ต้องถึงขนาดไหน ???

ถึงจะเรียกว่า ชักจูง .. เช่น

ถ่ายรูปเบียร์ แล้วชวนเพื่อนมาดื่ม หรือ กำลังดื่ม แล้ว เชิญชวนคนมาร่วมวง แบบนี้ ก็ไม่น่าตีความยาก

แต่ถ้า ถ่ายรูปโพสต์คู่กับขวดเหล้า หรือกล่องเหล้า เพื่อความสนุกสนาน โดยไม่มีการดื่ม

หรือ เห็นผลิตภัณฑ์บรรจุแบบแปลกๆ เช่น เหล้าดองยา ผสม มาไน เป็นต้น ก็เลยถ่ายไว้โชว์ โดยไม่ได้ชักชวนให้ใครซื้อ หรือมาดื่มเหล้าดองยาผสมหมาไน
ผมว่า ไม่น่าจะเป็นความผิดนะ

ไม่ใช่ถ่ายรูปปุ๊บ จับปั๊บ น่าจะมองดูเจตนาคนถ่าย หรือ เจตนารมณ์ของกฎหมายมากกว่า ด้วยความเคารพ ในกฎหมายไทย