posttoday

สำรวจพบพระสงฆ์กทม.-เขตเมืองเสี่ยงโรคอ้วน เหตุฉันอาหารไขมันสูง

04 กรกฎาคม 2560

เผยผลสำรวจพบพระสงฆ์กทม.และเขตเมืองกว่าครึ่งเสี่ยงโรคอ้วน เหตุฉันอาหารโปรตีนต่ำ-ไขมันสูง ออกกำลังกายน้อย

เผยผลสำรวจพบพระสงฆ์กทม.และเขตเมืองกว่าครึ่งเสี่ยงโรคอ้วน เหตุฉันอาหารโปรตีนต่ำ-ไขมันสูง ออกกำลังกายน้อย

เมื่อวันที่ 4 ก.ค. ที่สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่ งชาติ ในงานแถลงข่าว “สงฆ์ไทยไกลโรค เข้าพรรษานี้ อย่าลืมตักบาตร ถาม(สุขภาพ)พระ” โดยความร่วมมือของสำนักงานกองทุ นสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชา ติ (สช.) กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ และมหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

รศ.ดร.ภญ.จงจิตร อังคทะวานิช ผู้จัดการโครงการขับเคลื่อนสงฆ์ ไทยไกลโรคเพื่อการดูแลโภชนาการพระสงฆ์ในระดับประเทศ (สสส.)กล่าวว่า จากการเก็บข้อมูลพระสงฆ์ในกทม.แ ละในภาคอีสานพบว่า พระสงฆ์ในกทม.และในเขตเมืองกว่า ครึ่งมีความเสี่ยงต่อโรคอ้วน โดยพระสงฆ์ในกทม.48% ของกลุ่มตัวอย่างมีภาวะอ้วนลงพุงมากกว่าชายในกทม. (39%) และชายทั่วประเทศ (28%)

ทั้งยังเสี่ยงต่อโรคเรื้อรังที่สำคัญได้แก่ โรคเบาหวาน ไขมันในเลือดสูง และความดันโลหิตสูง และจากการเก็บข้อมูลพระสงฆ์ในภาคอีสานพบว่า พระสงฆ์ในเขตเมืองเสี่ยงต่อภาวะ น้ำหนักเกินสูงกว่าในเขตนอกเมือง สาเหตุสำคัญมาจากอาหารใส่บาตรที่ มีโปรตีนต่ำหรือได้รับเพียง 60% ของปริมาณโปรตีนที่ควรได้รับ ปริมาณใยอาหารมีระดับต่ำ จึงชดเชยด้วยการดื่มน้ำปานะที่ มีน้ำตาลสูงถึง 7 ช้อนชาต่อวัน

รศ.ดร.ภญ.จงจิตร กล่าวว่า จากการเก็บข้อมูลฝั่งฆราวาสพบว่า อาหารส่วนใหญ่ในการถวายพระมาจาก การซื้ออาหารชุดใส่บาตร โดยมีหลักการเลือกอาหารคือ ความสะดวกและราคา เลือกเมนูที่ผู้ล่วงลับชอบบริโภค ซึ่งเมนูหลักที่แม่ค้านิยม เช่น ไข่พะโล้ แกงเขียวหวาน หมูทอด และขนมหวาน ทำให้พระสงฆ์จำเป็นต้องฉันเพื่อให้ญาติโยมได้บุญ ไม่เสียศรัทธา

นอกจากนี้ยังพบว่า พระสงฆ์ออกกำลังกายน้อยเพราะกลั วผิดพระธรรมวินัย โดยพบว่า ใน 1 วัน พระสงฆ์เดินเบาประมาณ 30 นาที ซึ่งน้อยกว่าชายไทยที่มีค่าเฉลี่ ยอยู่ที่ 100 นาที พระสงฆ์จึงเป็นกลุ่มบุคคลที่มีโ อกาสในการส่งเสริมสุขภาพต่ำ ได้แก่ ขาดการบริโภคอาหารที่ถูกหลักโภช นาการ ขาดการตรวจสุขภาพประจำปี และมีข้อจำกัดในการออกกำลังกาย ที่ผ่านมาจึงได้ทำงานร่วมกับมหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัยเ พื่อร่วมกันออกแบบชุดความรู้สงฆ์ ไทยไกลโรคในการให้ความรู้ความเข้ าใจถึงการสร้างเสริมสุขภาพของพระสงฆ์

พระราชวรมุนี รองอธิการบดีฝ่ายกิจการนิสิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย กล่าวว่า  แม้อาหารบิณฑบาตจะเลือกไม่ได้ แต่สามารถพิจารณาฉันอาหารที่ดี ต่อร่างกายตนได้ โดยพระธรรมวินัย พระพุทธเจ้าให้พระสงฆ์เป็นอยู่อย่างเรียบง่าย ฉันอาหารพอสมควร และพระสงฆ์ไม่สามารถออกกำลังกาย เหมือนฆราวาส เพราะพระภิกษุต้องประพฤติตนสำรวม โดยเฉพาะในละแวกบ้านหรือเขตชุมชนตามหลักเสขิยวัตร

แต่มีหลักกิจวัตร 10ประการ ที่พระพุทธเจ้าอนุญาต ซึ่งถือเป็นการออกกำลังกาย เช่น การเดินบิณฑบาต กวาดลานวัด ทำความสะอาดวัด เดินจงกลม ตัดต้นไม้ รดน้ำต้นไม้ เพื่อขยับร่างกาย รวมถึงแกว่งแขนลดพุงลดโรคซึ่งทำ ได้ในพื้นที่วัด ในช่วงจำพรรษาจึงอยากให้พระสงฆ์ หันมาดูแลสิ่งของภายในวัด ซึ่งถือเป็นการออกกำลังกายในลักษณะการทำความสะอาด ดูแลงานสาธารณูปการในวัด และฉันอย่างพิจารณา

นพ.พลเดช ปิ่นประทีป เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งช าติกล่าวว่า จากมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ส่งผลให้เกิดมติมหาเถรสมาคม เรื่อง พระสงฆ์กับการพัฒนาสุขภาวะ โดยจะมีการขับเคลื่อนร่วมกันต่อ ไปคือความร่วมมือในการพัฒนาธรรม นูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติ เพื่อเป็นเครื่องมือปฏิบัติ สำหรับพระสงฆ์ ฆราวาส และหน่วยบริการสุขภาพในการสร้าง เสริมสุขภาพที่นำเอาหลักพระธรรม วินัยเป็นตัวนำ และใช้ความรู้ทางสุขภาพเป็นตัวเสริม

ซึ่งในธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์จะมี 3 มิติที่เกี่ยวข้อง คือ 1.พระสงฆ์กับการสร้างเสริมและดู แลสุขภาพตนเอง 2.ฆราวาส ชุมชนและบุคลากรทางสุขภาพ ควรมีข้อปฏิบัติในการดูแลสุขภาพ พระสงฆ์อย่างไรที่เหมาะสมตามหลั กพระธรรมวินัย และ 3.บทบาทพระสงฆ์ในการเป็นผู้นำขอ งชุมชนด้านสุขภาพ โดย สช.จะร่วมสนับสนุนการจัดทำและขับเคลื่อนธรรมนูญฯ โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วม  ซึ่งในเดือน ส.ค. และ ก.ย. นี้ วางแผนไว้ว่าจะมีเวทีรับฟังความ คิดเห็นต่อร่างธรรมนูญสุขภาพพระ สงฆ์แห่งชาติ ก่อนเสนอต่อที่ประชุมมหาเถรสมาคมเพื่อเห็นชอบ และประกาศให้ภาคีเครือข่ายรับทร าบในสมัชชาสุขภาพครั้งที่ 10 ในเดือน ธ.ค. นี้        

นายบุญเชิด กิตติธรางกูร ผู้อำนวยการสำนักเลขาธิการมหาเถรสมาคม สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ กล่าวว่า เป็นครั้งแรกและเป็นมิติใหม่ในก ารขับเคลื่อนสุขภาวะพระสงฆ์อย่างเป็นรูปธรรม หลังจากธรรมนูญสุขภาพแห่งชาติปร ะกาศใช้แล้วจะมีการเสนอไปยังที่ ประชุมมหาเถรสมาคมเพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนในพระสงฆ์ร่วมกันทั่วประเทศเพื่อให้พระสงฆ์ตระหนั กในการดูแลสุขภาพตนเอง หลักปฏิบัติที่ถูกต้องของฆราวาส รวมถึงการส่งเสริมให้พระสงฆ์เป็นผู้นำทางสุขภาพ ซึ่งจะเป็นตัวเชื่อมระหว่างโลกข องสงฆ์และหน่วยบริการสุขภาพในพื้นที่ในการดูแลสุขภาพพระสงฆ์อย่างเป็นระบบ

นพ.ชาญวิทย์ วสันต์ธนารัตน์ ผู้อำนวยการสำนักสร้างเสริมสุขภ าวะในองค์กร สสส. กล่าวว่า สสส.มีตัวอย่างการทำงานที่เป็นรูปธรรมเชิงพื้นที่ และทำงานเชิงรุกในมหาวิทยาลัยสง ฆ์ โดยทำงานร่วมกับมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ให้พระนิสิตมีความรู้ด้านการสร้ างเสริมสุขภาพ โดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาพระในฐานะนักสร้างเสริมสุขภาพ (Health Promoter) ด้วยการพัฒนาขีดความสามารถของคณ ะสงฆ์เพื่อเป็นแกนนำเสริมสร้างสุขภาวะตามแนวพระพุทธศาสนา ปัจจุบันมีพื้นที่เรียนรู้ระหว่างมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัยและคณะสงฆ์ทั้งสิ้น 20  จังหวัด ทำให้เกิดชุดความรู้ในการสร้างเสริมสุขภาพของพระสงฆ์ที่ถูกต้อง ตามหลักพระธรรมวินัย รวมถึงร่วมกับกลุ่มพระสังฆะในกา รจัดการความรู้ให้ฆราวาสเรื่องสุขภาวะพระสงฆ์ ผ่านโครงการสร้างพระธรรมทายาทนั กพัฒนาสร้างเสริมสังคมสุขภาวะ เป็นต้น 

นพ.ยงยศ ธรรมวุฒิ ที่ปรึกษากระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ทุ่งตะโกโมเดล จ.ชุมพร ถือเป็นตัวอย่างธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์ในพื้นที่ จากปัญหาสุขภาพพระสงฆ์ทำให้ ชาวบ้านมาพูดคุยกันและเกิดกติกาปิ่นโตสุขภาพ เวลาใส่บาตรจะต้องเอาเมนูสุขภาพ ใส่ในปิ่นโตถวายพระและพระในชุมช นก็เป็นนักส่งเสริมสุขภาพ ดังนั้นกระทรวงสาธารณสุขจะมีการ จัดการความรู้ที่ถูกต้องรวมทั้ง การออกกำลังกายของพระสงฆ์เพื่อใ ห้เกิดความรู้ร่วมกัน