posttoday

ก.เกษตรซ้อมใหญ่งานพิธีแรกนาขวัญ ก่อนพิธีจริง 12 พ.ค.นี้

08 พฤษภาคม 2560

กระทรวงเกษตรซ้อมใหญ่งานพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญปี 2560 ก่อนเริ่มงานจริง 12 พ.ค.นี้

กระทรวงเกษตรซ้อมใหญ่งานพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญปี 2560 ก่อนเริ่มงานจริง 12 พ.ค.นี้

เมื่อวันที่ 8 พ.ค. เวลา 07.00 น. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จัดการซ้อมใหญ่งานพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ (วันไถหว่าน) ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง โดยมี นายธีรภัทร ประยูรสิทธิ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ทำหน้าที่พระยาแรกนา เทพีคู่หาบทอง ได้แก่ น.ส.นันทินี ทองคงเหย้า นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ กรมส่งเสริมการเกษตร น.ส.ฉมาพันธ์ สุพรมอินทร์ นักวิชาการตรวจสอบบัญชีปฏิบัติการ กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ เทพีคู่หาบเงิน ได้แก่ น.ส.นันทวัน สุวรรณสถิตย์ นักวิชาการสิ่งแวดล้อมชำนาญการ กรมชลประทาน น.ส.พรพิมล ศิริการ นักวิชาการเกษตรชำนาญการ กรมส่งเสริมการเกษตร

โดยงานพระราชพิธี ฯ จะมีขึ้นในวันศุกร์ที่ 12 พ.ค.2560 โดยงานพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ประกอบด้วยพระราชพิธี 2 พิธีรวมกัน คือ พระราชพิธีพืชมงคล อันเป็นพิธีสงฆ์ เป็นวันสวดมนต์เริ่มการพระราชพิธีพืชมงคล และถือเป็น ‘วันเกษตรกร’ ประกอบพระราชพิธี ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในวันพฤหัสบดีที่   11 พ.ค. 2560 เวลาประมาณ 16.00 น. สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร  เสด็จพระราชดำเนินในการพระราชพิธีพืชมงคล ทรงหลั่งน้ำสังข์ ทรงเจิม พระราชทาน  พระธำมรงค์กับพระแสงปฏักแก่ นายธีรภัทร ประยูรสิทธิ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งทำหน้าที่พระยาแรกนา ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง

สำหรับวันถัดมาของการประกอบพระราชพิธี คือ พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ (วันไถหว่าน) อันเป็นพิธีพราหมณ์ จะประกอบพระราชพิธี ในวันศุกร์ที่ 12 พ.ค. ฤกษ์ไถหว่านอยู่ระหว่างเวลา 08.19 - 08.59 น. ที่มณฑลพิธีท้องสนามหลวง

นายธีรภัทร เปิดเผยว่า พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ หรือ ที่เรียกว่า พิธีแรกนา กำหนดจัดขึ้นในราวเดือนหกของทุกปี ซึ่งเป็นระยะเหมาะสมที่จะเริ่มต้นการทำนาซึ่งเป็นอาชีพหลักของคนไทย เพื่อความเป็นสิริมงคล และบำรุงขวัญเกษตรกร ให้เกิดความมั่นใจในการเพาะปลูก ทั้งนี้ พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ได้สืบทอดมายาวนานตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย และได้มีการจัดงานเต็มรูปแบบตามประเพณีครั้งสุดท้ายในปี 2479 แล้วว่างเว้นไป จนกระทั่งปี 2503 คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้ฟื้นฟูพระราชประเพณีนี้ขึ้นมาใหม่ และได้กระทำติดต่อกันมาทุกปีจนถึงปัจจุบัน และปี 2509 เป็นต้นมาคณะรัฐมนตรีได้มีมติให้วันพระราชพิธีพืชมงคลเป็น "วันเกษตรกร” ประจำปี เพื่อให้ผู้มีอาชีพทางการเกษตรร่วมกันประกอบพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ เพื่อเป็นสิริมงคลแก่อาชีพทางเกษตรกรรม

นายประสงค์ ประไพตระกูล  รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เปิดเผยว่า คันไถที่ใช้ในพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญใช้ในงานพระราชพิธีฯ ตั้งแต่ปี 2539 เป็นต้นมา รวมระยะเวลากว่า 20 ปี ถูกสร้างขึ้นโดยกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมหนองโพ อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี เป็นคันไถที่ทำจากไม้สมอ โดยชุดคันไถประกอบด้วย

1) คันไถ ขนาดความสูงวัดจากพื้นถึงเศียรนาค 2.26 เมตร และยาวจากเศียรนาคถึงปลายไถ 6.59 เมตร สีแดงชาดตลอดคันไถ ที่หัวคันไถทำเป็นเศียรพญานาคลงรักปิดทอง ลวดลายประดับคันไถเป็นลายกระจังตาอ้อยลงลักปิดทองตลอดคัน ปลายไถหุ้มผ้าขาวขลิบทองสำหรับมือจับ

2) แอกเทียมพระโค ยาว 1.45 เมตร ตรงกลางแอกประดับด้วยรูปครุฑยุดนาคหล่อด้วยทองเหลืองลงรักปิดทองอยู่บนฐานบัว ปลายแอกทั้งสองด้านแกะสลักเป็นรูปเศียรพญานาคลงลักปิดทอง ลวดลายประดับเป็นลายกระจังตาอ้อยลงลักปิดทองตลอดคันที่ปลายแอกแต่ละด้านมีลูกแอกทั้งสองด้านสำหรับเทียมพระโคพร้อมเชือกกระทาม

3) ฐานรอง เป็นที่สำหรับตั้งรองรับคันไถพร้อมแอก ทำด้วยไม้เนื้อแข็งทาสีแดงชาด มีลวดลายประดับเป็นลายกระจังตาอ้อยลงลักปิดทองทั้งด้านหัวไถและปลายไถ

4) ธงสามชาย เป็นธงประดับคันไถติดตั้งอยู่บนเศียรนาคทำด้วยกระดาษและผ้าสักหลาด เขียนลวดลายลงลักปิดทองประดับด้วยกระจกแววมีพู่สีขาวประดับด้านบนเป็นเครื่องสูง ชนิดหนึ่งเพื่อประดับพระเกียรติธงสามชายมีลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยม ฐานยาว 41 เซนติเมตร สูง 50 เซนติเมตร และเสาธงยาว 72 เซนติเมตร ทั้งนี้คันไถ ที่ใช้ในพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญซึ่งใช้ในงานพระราชพิธีฯ ถือเป็นของสูง ที่ต้องมีความพิถีพิถันในการเตรียมการ ในทุกปีก่อนงานพระราชพิธีฯ กรมส่งเสริมการ พิธีฯ กรมส่งเสริมการ

 

ก.เกษตรซ้อมใหญ่งานพิธีแรกนาขวัญ ก่อนพิธีจริง 12 พ.ค.นี้