posttoday

นักวิจัยไทยค้นพบฟอสซิลพันธุ์ใหม่ของโลก

05 พฤษภาคม 2560

นักวิจัยราชภัฏนครราชสีมาค้นฟอสซิลปลายุคจูแรสซิกพันธุ์ใหม่ของโลก อายุ 150ปีล้านก่อน

นักวิจัยราชภัฏนครราชสีมาค้นฟอสซิลปลายุคจูแรสซิกพันธุ์ใหม่ของโลก อายุ 150ปีล้านก่อน

เมื่อวันที่5พ.ค.2560 ที่สถาบันวิจัยไม้กลายเป็นหิน มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา แถลงข่าวการค้นพบ ฟอสซิลปลายุคจูแรสซิกพันธุ์ใหม่ของโลก โคราชอิกธิส จิบบัส โดยได้ค้นพบฟอสซิลจากแหล่งบ้านโนนสาวเอ้ ตำบลวังหมี อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา เป็นปลาน้ำจืดสกุลใหม่ และชนิดใหม่ของโลก อยู่ในยุคจูแรสซิกตอนปลายถึงครีเทเชียสตอนต้น หรืออายุประมาณ 150 ล้านปีก่อน ปลาชนิดนี้มีลักษณะเด่น คือ บริเวณหลังส่วนคอมีลักษณะเป็นโหนกชัดเจน

ที่มาของฟอสซิลปลาพันธุ์ใหม่ของโลกพบอยู่ในก้อนหินที่แตกออกเป็น 2 ซีก จากการขุดแหล่งน้ำใกล้น้ำตกถ้ำขุนโจร พื้นที่ของหมู่บ้านโนนสาวเอ้ ตำบลวังหมี อำเภอวังน้ำเขียว ค้นพบเมื่อประมาณปี 2540 โดยชาวบ้าน คือ นายวิโรจน์ ปิ่นปก ซึ่งเป็นชาวบ้านในพื้นที่ จนกระทั่งต่อมาในปี 2557 นักวิจัยชาวไทย และผู้เชี่ยวชาญฟอสซิลปลาจากประเทศสวิตเซอร์แลนด์ จึงได้ดำเนินการวิจัย จนถึงปัจจุบันจึงค้นพบว่าฟอสซิลดังกล่าวเป็นฟอสซิลปลาพันธุ์ใหม่ของโลก

ฟอสซิลปลาที่ค้นพบชนิดนี้ เป็นปลากระดูกแข็งโบราณสกุลใหม่ และชนิดใหม่ของโลก ถูกตั้งชื่อว่า โคราชอิกธิส จิบบัส (Khoratichthys gibbus โดย khorat=โคราช, ichthys=ปลากระดูกแข็ง, gibbus=โหนก) ซึ่งมีลักษณะขนาดรูปร่างยาว 36 เซนติเมตร กว้าง 12 เซนติเมตร และหนา 8 เซนติเมตร บริเวณคอแสดงลักษณะเป็นโหนกชัดเจน จนเป็นที่มาของชื่อ จิบบัส ลำตัวปกคลุมด้วยเกล็ดรูปสี่เหลี่ยม และมีเกล็ดตรงสันกลางหลังที่ยาวแหลมคล้ายหนาม มีกระดูกปิดส่วนแก้ม กระดูกที่ล้อมรอบเบ้าตามีน้อยชิ้น และกระดูกปิดเหงือกมีรูปร่างเป็นทรงสี่เหลี่ยม.

นักวิจัยไทยค้นพบฟอสซิลพันธุ์ใหม่ของโลก

นักวิจัยไทยค้นพบฟอสซิลพันธุ์ใหม่ของโลก