posttoday

ศักยภาพการแข่งขันศก.ไทยร่วง

10 กันยายน 2553

การเมืองยังเป็นปัจจัยถ่วงหลักเวียดนามอินโดแรงในอาเซียนไทยถดถอยต่อเนื่อง การเมืองฉุดศักยภาพดิ่ง มาตรฐานสาธารณสุขการศึกษาต่ำเวิลด์ อีโคโนมิก ฟอรัม (ดับเบิลยูอีเอฟ) ได้จัดอันดับศักยภาพด้านการแข่งขัน (ซีจีไอ) ของ 139 ประเทศทั่วโลกประจำปี 20102011 ซึ่งในปีนี้อันดับของไทยร่วงลงมาจากอันดับที่ 36 เมื่อปีที่แล้ว ลงมาอยู่ที่อันดับที่ 38 ด้วยคะแนน 4.51 คะแนนเวิลด์ อีโคโนมิก ฟอรัม เปิดเผยว่า ในหมวดความมีประสิทธิภาพของสถาบันสาธารณะของไทยซึ่งหมายถึงสถาบันการจัดการ และกรอบการทำงานทางกฎหมายซึ่งเป็นองค์ประกอบหลักต่อการสร้างความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจนั้น มีระดับการประเมินที่ลดลงอย่างต่อเนื่องมาอยู่ที่อันดับ 70 ของโลก โดยใน 4 ปีที่ผ่านมาปรับลดลงมาถึง 30 อันดับ อันเป็นผลมาจากความไร้เสถียรภาพทางการเมืองและสังคมนอกจากนี้ จากปัจจัยการสำรวจทั้ง 12 ปัจจัยของซีจีไอ พบว่าอันดับของไทยในด้านพื้นฐานสาธารณสุขและการศึกษาอยู่ในระดับต่ำสุดของปัจจัยทั้งหมด โดยอยู่ในอันดับที่ 80 เทียบกับมาเลเซียในอันดับที่ 34 อินโดนีเซียอันดับที่ 62 ขณะที่เวียดนามอยู่ที่อันดับ 65 ซึ่ง เวิลด์ อีโคโนมิก ฟอรัม แนะนำให้ไทยเร่งปรับปรุงโดยเร่งด่วนอย่างไรก็ตาม ไทยมีอันดั

การเมืองยังเป็นปัจจัยถ่วงหลักเวียดนามอินโดแรงในอาเซียน

ไทยถดถอยต่อเนื่อง การเมืองฉุดศักยภาพดิ่ง มาตรฐานสาธารณสุขการศึกษาต่ำ

เวิลด์ อีโคโนมิก ฟอรัม (ดับเบิลยูอีเอฟ) ได้จัดอันดับศักยภาพด้านการแข่งขัน (ซีจีไอ) ของ 139 ประเทศทั่วโลกประจำปี 20102011 ซึ่งในปีนี้อันดับของไทยร่วงลงมาจากอันดับที่ 36 เมื่อปีที่แล้ว ลงมาอยู่ที่อันดับที่ 38 ด้วยคะแนน 4.51 คะแนน

เวิลด์ อีโคโนมิก ฟอรัม เปิดเผยว่า ในหมวดความมีประสิทธิภาพของสถาบันสาธารณะของไทยซึ่งหมายถึงสถาบันการจัดการ และกรอบการทำงานทางกฎหมายซึ่งเป็นองค์ประกอบหลักต่อการสร้างความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจนั้น มีระดับการประเมินที่ลดลงอย่างต่อเนื่องมาอยู่ที่อันดับ 70 ของโลก โดยใน 4 ปีที่ผ่านมาปรับลดลงมาถึง 30 อันดับ อันเป็นผลมาจากความไร้เสถียรภาพทางการเมืองและสังคม

นอกจากนี้ จากปัจจัยการสำรวจทั้ง 12 ปัจจัยของซีจีไอ พบว่าอันดับของไทยในด้านพื้นฐานสาธารณสุขและการศึกษาอยู่ในระดับต่ำสุดของปัจจัยทั้งหมด โดยอยู่ในอันดับที่ 80 เทียบกับมาเลเซียในอันดับที่ 34 อินโดนีเซียอันดับที่ 62 ขณะที่เวียดนามอยู่ที่อันดับ 65 ซึ่ง เวิลด์ อีโคโนมิก ฟอรัม แนะนำให้ไทยเร่งปรับปรุงโดยเร่งด่วน

อย่างไรก็ตาม ไทยมีอันดับที่ค่อนข้างดีในส่วนของตลาดภายในและตลาดส่งออก (อันดับ 23) การคมนาคมขนส่ง (อันดับ 23) ตลาดแรงงาน (อันดับ 24)

สำหรับการจัดอันดับศักยภาพโดยรวม พบว่าประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างมาเลเซียปรับอันดับลดลงเช่นกัน โดยในปีนี้ลงมาอยู่ที่ 26 ด้วยคะแนน 4.88 จากอันดับเดิมที่ 24 ส่วนกัมพูชาเป็นประเทศในกลุ่มอาเซียนที่มีศักยภาพด้านการแข่งขันต่ำที่สุด ในอันดับที่ 109

บรูไนมีอันดับที่ดีขึ้น โดยปรับขึ้นมาอยู่ที่ 28 จากเดิมที่ 32 อินโดนีเซียปรับขึ้นมาอยู่ที่ 44 จากอันดับ 54 เมื่อปีที่แล้ว เวียดนามขึ้นมาอยู่ที่ 59 ด้วย จากอันดับเดิม 75 ขณะที่สิงคโปร์ยังคงรั้งตำแหน่งที่ 3 ของโลกเช่นเดียวกับเมื่อปีที่แล้ว

ทั้งนี้ ตำแหน่งประเทศที่มีศักยภาพด้านการแข่งขันดีที่สุดในโลกของปี 20102011 ยังคงเป็นของสวิตเซอร์แลนด์ ตามด้วยสวีเดนอันดับที่ 2  ซึ่งสามารถแย่งชิงตำแหน่งหมายเลข 2 มาได้จากสหรัฐที่หล่นลงไปอยู่อันดับ 4 และสิงคโปร์อยู่ในอันดับ 3