posttoday

นักวิทย์ดังชี้โทรศัพท์มือถือไม่ได้ทำให้ถูกฟ้าผ่า

10 มกราคม 2560

ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯโพสต์เฟซบุ๊กระบุการใช้โทรศัพท์มือถือไม่ใช่สิ่งล่อฟ้าทำให้ถูกฟ้าผ่า แต่การอยู่ในที่โล่งแจ้งขณะฝนตกมีความเสี่ยงมากกว่า

ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯโพสต์เฟซบุ๊กระบุการใช้โทรศัพท์มือถือไม่ใช่สิ่งล่อฟ้าทำให้ถูกฟ้าผ่า แต่การอยู่ในที่โล่งแจ้งขณะฝนตกมีความเสี่ยงมากกว่า

จากกรณีที่มีข่าวหญิงชราวัย 69 ปีชาวเพชรบุรี ถูกฟ้าผ่าเสียชีวิตหลังพกโทรศัพท์มือถือติดตัวไปนาข้าว จึงเกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ว่าสาเหตุการเสียชีวิตมาจากผู้ตายพกโทรศัพท์มือถือ ซึ่งอาจเป็นสื่อนำกระแสไฟฟ้า

ล่าสุดเมื่อวันที่ 10 ม.ค. ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ประจำคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว Jessada Denduangboripant ระบุว่า โทรศัพท์มือถือไม่ได้ทำให้ถูกฟ้าผ่า เนื่องจากการที่จะเกิดฟ้าผ่านั้นสามารถเกิดขึ้นได้ทุกที่ โดยเฉพาะที่โล่งแจ้ง เช่น กลางทุ่งนา ใต้ต้นไม้ใหญ่ หรือดาดฟ้าบนยอดตึก โทรศัพท์มือถือ หรือโลหะต่างๆไม่ใช่สิ่งที่ล่อฟ้าผ่าได้ แต่วัตถุที่สามารถล่อสายฟ้าให้ผ่านตัวเราได้คือ ร่มที่มีปลายยอดเป็นโลหะแหลม

"การใช้โทรศัพท์มือถือ เวลาสนทนากับคนปลายสายเราจะแนบโทรศัพท์ไว้ที่หู หรือเหน็บไว้ต่ำกว่าช่วงลำตัว จึงไม่ได้เป็นการล่อสายฟ้าแต่อย่างใด โทรศัพท์มือถือจึงไม่นับว่าเป็นสื่อล่อฟ้า ที่สำคัญพลังงานของสัญญาณโทรศัพท์มือถือไม่สามารถทำให้อากาศแตกตัวเป็นตัวนำได้ พลังงานจากสัญญาณของโทรศัพท์มือถือก็ไม่ได้ทำให้อากาศแตกตัวเป็นตัวนำไฟฟ้าได้อย่างแน่นอน ที่คนเข้าใจผิดกันง่ายคือโดนฟ้าผ่าแล้วไฟฟ้ามันทำให้เครื่องโทรศัพท์ช็อตใหม่ติดกับตัว ก็เลยเข้าใจกันไปว่าโทรศัพท์มือถือมันล่อฟ้าผ่าได้"นักวิทยาศาสตร์ชื่อดังทิ้งท้าย

ภาพประกอบจากเฟซบุ๊ก https://www.facebook.com/photo.php?fbid=921462171317751&set=a.341092282688079.1073741827.100003619303769&type=3&theater