posttoday

เงินร้อนทะลักเก็งกำไรบาท

27 สิงหาคม 2553

“กรณ์” ชี้ กนง.ปรับขึ้นดอกกดดันค่าเงินบาทแข็งค่า เปิดช่องเก็งกำไร บอร์ด ธปท.ประชุมรับเงินทะลักเข้าไทยนายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง เปิดเผยว่า การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) อีก 0.25% มาอยู่ที่ระดับ 1.75% มีแรงกดดันทำให้ค่าเงินบาทของไทยแข็งค่าขึ้น เนื่องจากผลตอบแทนในค่าเงินบาทสูงขึ้น แต่ผลตอบแทนในค่าเงินเหรียญสหรัฐยังอยู่ในระดับต่ำ รมว.คลัง คาดว่า ธปท.จะขึ้นดอกเบี้ยอีก 2 ครั้งภายในปีนี้แหล่งข่าวจาก ธปท. เปิดเผยว่า ในเดือนนี้มีเงินทุนไหลเข้ามากว่า 2.83 หมื่นล้านบาท แล้ว และมีแนวโน้มที่มากขึ้นอีก จนคณะกรรมการ ธปท.ต้องเรียกประชุมเพื่อพิจารณาเรื่องเงินทุนไหลเข้าเป็นการด่วนนายพรายพล คุ้มทรัพย์ คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) กล่าวว่า ธปท.ต้องออกแรงมากขึ้นในการดูแลไม่ให้เงินบาทแข็งค่าเร็วเกินไป โดยเงินทุนสำรองที่เพิ่มขึ้นเป็นผลจากการแทรกแซงเพื่อลดความผันผวนไม่ให้แข็งค่า “การดูแลค่าเงินในช่วงที่เงินทุนไหลเข้ามามากทั้งในตลาดหุ้นและตลาดพันธบัตร การรับมือต้องใช้ความพยายามอย่างมาก และออกแรงมากในการแทรกแซง แต่เงินที่เข้ามามากทำให้ต้านได้ไม่มากนัก และเท่าที่ติดตามเงินทุนที่เข

“กรณ์” ชี้ กนง.ปรับขึ้นดอกกดดันค่าเงินบาทแข็งค่า เปิดช่องเก็งกำไร บอร์ด ธปท.ประชุมรับเงินทะลักเข้าไทย

นายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง เปิดเผยว่า การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) อีก 0.25% มาอยู่ที่ระดับ 1.75% มีแรงกดดันทำให้ค่าเงินบาทของไทยแข็งค่าขึ้น เนื่องจากผลตอบแทนในค่าเงินบาทสูงขึ้น แต่ผลตอบแทนในค่าเงินเหรียญสหรัฐยังอยู่ในระดับต่ำ รมว.คลัง คาดว่า ธปท.จะขึ้นดอกเบี้ยอีก 2 ครั้งภายในปีนี้

แหล่งข่าวจาก ธปท. เปิดเผยว่า ในเดือนนี้มีเงินทุนไหลเข้ามากว่า 2.83 หมื่นล้านบาท แล้ว และมีแนวโน้มที่มากขึ้นอีก จนคณะกรรมการ ธปท.ต้องเรียกประชุมเพื่อพิจารณาเรื่องเงินทุนไหลเข้าเป็นการด่วน
นายพรายพล คุ้มทรัพย์ คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) กล่าวว่า ธปท.ต้องออกแรงมากขึ้นในการดูแลไม่ให้เงินบาทแข็งค่าเร็วเกินไป โดยเงินทุนสำรองที่เพิ่มขึ้นเป็นผลจากการแทรกแซงเพื่อลดความผันผวนไม่ให้แข็งค่า

 “การดูแลค่าเงินในช่วงที่เงินทุนไหลเข้ามามากทั้งในตลาดหุ้นและตลาดพันธบัตร การรับมือต้องใช้ความพยายามอย่างมาก และออกแรงมากในการแทรกแซง แต่เงินที่เข้ามามากทำให้ต้านได้ไม่มากนัก และเท่าที่ติดตามเงินทุนที่เข้ามาไม่ใช่เข้ามาเก็งกำไรอย่างเดียว แต่ก็ไม่ใช่เงินที่สนใจลงทุนในระยะยาว” นายพรายพล กล่าว

ทั้งนี้ ในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมา เงินบาทแข็งค่าขึ้น 2.4% เปโซ 2.2% ริงกิต 1.8% รูเปียห์ 0.5% แต่ค่าเฉลี่ยทั้งปีจนถึงขณะนี้ริงกิตแข็งค่าขึ้น 9% เงินบาท 6% รูเปียห์ 4% เงินเหรียญสิงคโปร์ 3% และเงินเปโซ 2%

น.ส.อุสรา วิไลพิชญ์ นักเศรษฐศาสตร์อาวุโส ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย) กล่าวว่า คาดว่าเงินบาทจะแข็งค่าไปที่ 30.2 บาทต่อเหรียญสหรัฐ โดยเงินที่เข้ามาตอนนี้จะเน้นที่ตลาดพันธบัตร ตลาดหุ้น ส่วนใหญ่เข้ามาซื้อพันธบัตรนายบัณฑิต นิจถาวร รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวในงานเสวนา “เจาะลึกชี้แจงและแลกเปลี่ยนความคิดทิศทางดอกเบี้ย” ของสมาคมนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ ว่า ค่าเงินบาทที่ผันผวนในขณะนี้ยังถือว่าอยู่ในภาวะที่ภาคธุกิจยังสามารถปรับตัวได้อยู่ เพราะแม้เงินบาทที่แข็งค่าจะกระทบกับส่งออก แต่ในแง่ดีถือว่ายังมีคำสั่งซื้อ (ออเดอร์) ของลูกค้าเข้ามาต่อเนื่อง และขณะเดียวกันทำให้ต้นทุนการน้ำเข้าของผู้ส่งออกถูกลง

   ส่วนภาวะค่าเงินบาทเปิดตลาดเช้านี้ที่ระดับ 31.47/49 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ปรับตัวแข็งค่าจากปิดตลาดเย็นวานนี้ที่ระดับ 31.48/50 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ โดยเมื่อเวลาประมาณ 08.37 น. ปรับตัวแข็งค่าแตะที่ระดับ 31.44/45 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ ทำสถิติแข็งค่าสุดในรอบ 26 เดือน โดยยังคงมีแนวโน้มแข็งค่าต่อเนื่อง สวนทางกับค่าเงินในภูมิภาค ขณะที่ค่าเงินในเอเซียหลายสกุลเริ่มอ่อนค่าลง

 ธปท.ยอมรับต้องออกแรงดูแลเงินบาทเพิ่มขึ้น ในช่วงเงินทุนไหลเข้าทะลัก
ด้านนักค้าเงินธนาคารพาณิชย์ กล่าวว่า วันนี้ค่าเงินบาทปิดตลาดที่ระดับ 31.32 บาท/เหรียญสหรัฐ ปรับแข็งค่าขึ้นเล็กน้อย จากช่วงเช้าที่เปิดตลาดที่ 31.45 บาท/เหรียญสหรัฐ โดยธปท.ยังมีการเข้าแทรกแซงอย่างต่อเนื่อง ทำให้เงินบาทแข็งค่าและผันผวนน้อยกว่า เมื่อเทียบกับสกุลอื่นๆในภูมิภาค ยกเว้นเงินหยวนของจีน

น.ส. อุสรา วิไลพิชญ์ นักเศรษฐศาสตร์อาวุโส ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย) กล่าวว่า คาดว่าเงินบาทจะแข็งไปที่ 30.2 บาท/เหรียญสหรัฐ ที่ผ่านมาอัตราการแข็งค่าเงินบาทเร็วแต่ต่อไปจะแข็งค่าช้าลง ทว่าแรงกดดันยังมีอยู่จากเม็ดเงินที่ไหลกลับมาลงทุนในเอเชีย
 
 นายธิติ ตันติกุลานันท์ ผู้บริหารสายงานธุรกิจตลาดทุน ธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า ในอดีตเวลาธปท.ปรับดอกเบี้ย จะห่วงเงินไหลเข้า แต่รอบนี้ แข็งค่าทั้งภูมิภาค จริงอยู่ 1 เดือนที่ผ่านมา บาทแข็งที่สุด 2.4% เปโซ 2.2% ริงกิต 1.8% รูปี 0.5% แต่ค่าเฉลี่ยทั้งปีถึงตอนนี้ ริงกิตแข็ง 9% บาท 6% รูปี 4% เหรียญสิงคโปร์ 3% และเปโซ 2%

 "ต้นปีเศรษฐกิจฟื้นตัวเร็วเพราะหลายประเทศใส่เงินกระตุ้น ตอนนี้เริ่มหมด ยากที่รัฐบาลแต่ละประเทศจะกระตุ้นอีก ซึ่งสหรัฐ ดุลการค้าติดลบ หนี้สาธารณะสูง แตกต่างกับเอเชียที่จีดีพีสูง หนี้ต่ำ ดุลเป็นบวก เงินลงทุนจะไหลเข้าเอเชีย คาดว่าสิ้นปีจะเห็นบาทอยู่ที่ 31 บาท/เหรียญสหรัฐ" นายธิติ กล่าว

    นักค้าเงินจากธนาคารกรุงเทพ กล่าวว่า ค่าเงินบาทปิดตลาดแข็งค่าที่ 31.3438 บาท/เหรียญสหรัฐ จากเงินไหลเข้าที่คาดว่า เป็นเพราะดอกเบี้ยปรับขึ้น จึงเห็นว่าให้ผลตอบแทนสูง อีกทั้งฟิลิปปินส์ประกาศจีดีพีสูงกว่าที่คาด


ธปท.เผยเงินทุนจากต่างประเทศยังสนใจเข้ามาหาผลตอบแทนในไทยต่อเนื่อง ตามทิศทางการขยายตัวของเศรษฐกิจที่ปรับดีขึ้น

   นางสุชาดา กิระกุล ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เปิดเผยว่า เงินทุนจากต่างชาติยังสนใจเข้ามาหาผลตอบแทนที่ดีขึ้นในไทย ตามทิศทางเศรษฐกิจไทยที่ปรับดีขึ้นต่อเนื่องมาตั้งแต่ไตรมาสแรก และไตรมาส 2 ที่อัตราการเจริญเติบโต(จีดีพี)ปรับดีขึ้น ต่างจากภาวะเศรษฐกิจของสหรัฐฯและยุโรปที่ยังมีปัญหาและยังไม่มีความชัดเจนในการฟื้นตัว โดยปริมาณเงินทุนยังไหลเข้ามาเรื่อยๆ ทั้งในตลาดหลักทรัพย์และตลาดพันธบัตร

    “จริงๆเงินทุนเข้ามาคงไม่ใช่เพราะเงินบาทเราแข็งหรือดอกเบี้ยเราสูงขึ้น แต่เป็นผลจากที่เศรษฐกิจเราดี ทั้งไตรมาส 1 และไตรมาส 2 ต่างจากกรีซ สหรัฐฯ และยุโรป ที่เศรษฐกิจไม่ค่อยจะดี เงินทุนเลยเลือกที่จะเขามาหาผลตอบแทนที่ดีกว่า” นางสุชาดากล่าว

    นางสุชาดา เปิดเผยว่า ในช่วงที่ตลาดหุ้นกังวลกับความเสี่ยงในตลาดกรีซ สหรัฐฯ และยุโรป รวมถึงมีการลดอันดับความน่าเชื่อถือต่อไอแลนด์ ก็มีผลให้ลดการลงทุนในตลาดหุ้นบ้าง ขณะเดียวกันก็ทำให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตร(Yeild)อายุ 10 ปี ในสหรัฐฯถึงกับลดต่ำลง อยู่ที่ระดับ 2.4% กว่าเท่านั้น ภาวะดังกล่าวก็ส่งผลให้ผลตอบแทนพันธบัตรในตลาดพันธบัตรอื่นๆลดลงไปด้วย เพราะตลาดพันธบัตรเป็นผู้นำตลาด ขณะเดียวกันความกังวลกับความเสี่ยงในภาวะดังกล่าว ก็ส่งผลให้เงินทุนเลือกเข้ามา ลงทุนในภูมิภาคเอเชีย รวมทั้งไทยเพิ่มขึ้น เพราะโอกาสจะได้ผลตอบแทนที่ดีมีมากกว่า คาดว่าในช่วงครึ่งปีหลังก็ยังน่าจะเข้ามาอยู่

 “เงินทุนที่เข้ามายังมาทั้งในตลาดหลักทรัพย์และตลาดพันธบัตร แต่เท่าที่ดูไตรมาส 2 ไหลออกจากตลาดหุ้นบ้าง จากสถานการณ์การเมืองที่เราทราบ แต่ช่วงไตรมาส 3 นี้เริ่มไหลเข้ามาในตลาดหุ้นเพิ่มขึ้นแล้ว” นางสุชาดากล่าว

    ทั้งนี้ ก่อนหน้านี้ นางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการ ธปท. เปิดเผยว่า มีเงินทุนไหลเข้าจากต่างประเทศไหลเข้ามาไทยแล้วประมาณ 5 หมื่นล้านบาท โดยในช่วงเดือนก.ค.ส.ค.ไหลเข้ามาค่อนข้างสูง เฉลี่ยเดือนละ 2 หมื่นล้านบาท โดยเป็นการเข้ามาลงทุนในหลายภาคส่วน อย่างไรก็ตามถึงเงินทุนจะไหลเข้ามาค่อนข้างมาก แต่ค่าเงินบาทยังค่อนข้างนิ่ง มีเสถียรภาพ ไม่กระทบภาคส่งออก

    อย่างไรก็ตาม เงินทุนเคลื่อนย้ายยังไหลเข้าไทยต่อเนื่องมาตั้งแต่ต้นปี จะชะลอบ้างในช่วงเดือนเม.ย.พ.ค.ที่ไทยมีสถานการณ์ความไม่สงบทางการเมือง แต่ในเดือนมิ.ย.ปีนี้ยังทุนก็เริ่มไหลเข้าสุทธิ ที่ระดับ 2,168 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 6.94 หมื่นล้านบาท

    
 นายบัณฑิต นิจถาวร รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวในงานเสวนา “เจาะลึกชี้แจงและแลกเปลี่ยนความคิดทิศทางดอกเบี้ย” ของสมาคมนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ ว่า ค่าเงินบาทที่ผันผวนในขณะนี้ยังถือว่าอยู่ในภาวะที่ภาคธุกิจยังสามารถปรับตัวได้อยู่ เพราะแม้เงินบาทที่แข็งค่าจะกระทบกับส่งออก แต่ในแง่ดีถือว่ายังมีคำสั่งซื้อ (ออเดอร์) ของลูกค้าเข้ามาต่อเนื่อง และขณะเดียวกันทำให้ต้นทุนการน้ำเข้าของผู้ส่งออกถูกลง ซึ่งสอดคล้องกับความสามารถของการลงทุนของภาคเอกชนและนโยบายรัฐที่สนับสนุนต่อภาคการลงทุนมากขึ้น

    ขณะที่เม็ดเงินลงทุนในตลาดหุ้นและการเติบโตของภาคอสังหาริมทรัพย์นั้น ถือว่ายังเป็นระดับที่สะท้อนต่อภาคเติบโตของเศรษฐกิจได้เป็นอย่างดี ยังไม่มีอะไรน่าเป็นห่วงเพราะความเติบโตอสังหาฯ เกิดจากความต้องการในพื้นที่กรุงเทพชั้นกลางและชั้นในหรือตามระบบขนส่งมวลชนที่ดีเท่านั้น

    อย่างไรก็ดี การกำหนดนโยบายดอกเบี้ยของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ที่จะประชุมอีก 2 ครั้งในปีนี้ ประเด็นที่ต้องนำมาวิเคราะห์และพิจารณามากขึ้นคือ ภาวะเงินเฟ้อ และภาวะเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะการฟื้นตัวเศรษฐกิจของสหรัฐว่าจะอยู่ในระดับจะชะลอตัวมากขึ้นหรือไม่ เพราะจะมีผลกระทบต่อการฟื้นตัวเศรษฐกิจโลก