posttoday

ลุยหุ้นแม่ไทเกอร์

06 สิงหาคม 2553

ปลัดคลัง เสนอให้ การบินไทย เข้าถือหุ้นบริษัทแม่ของสายการบินไทเกอร์ แอร์เวย์ส ด้วย ด้าน "กรณ์" ชี้เพิ่มทุนในการบินไทยแน่นายสถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธุ์ ปลัดกระทรวงการคลัง ในฐานะกรรมการ บริษัท การบินไทย เปิด เผยว่า ในการประชุมคณะกรรมการ บริษัท การบินไทย ซึ่งอนุมัติให้การบินไทยจัดตั้งสายการบินไทย ไทเกอร์ แอร์เวย์ส นั้น กรรมการได้เสนอให้การบินไทยเข้าไปถือหุ้นในบริษัทแม่ของสายการบินไทเกอร์ แอร์เวย์ส ที่มีลักษณะเป็นโฮลดิงด้วย เพื่อที่ว่าเวลาโฮลดิงเติบโตการบินไทยจะได้เติบโตไปด้วย“เรากำลังจะได้ ไม่ใช่เสีย ในฐานะปลัดกระทรวงการคลัง ผมสนับสนุน 100% และเชื่อว่าภายใน 1 ปีนี้ สายการบินไทย ไทเกอร์ฯ น่าจะมีผลประกอบการที่ดีได้” ซึ่งการที่ทางแอร์เอเชียออกมาให้สัมภาษณ์ว่าบริษัท ไทย ไทเกอร์ ไม่สามารถเข้าไปแย่งลูกค้าได้ แสดให้เห็นว่าเขาออกอาการให้เห็นแล้ว เชื่อว่าตอนนี้นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่การบินไทย ที่เป็นผู้คิดเรื่องนี้ คงกำลังยิ้มแน่นอน ทั้งนี้ เชื่อว่า เพียงปีแรกผลประกอบการก็น่าจะเห็นผลได้เลย” นายสถิตย์ กล่าวนายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง กล่าวว่า การบินไทยจะไม่ใช้งบประมาณของกระทรวงการคลังสำห

ปลัดคลัง เสนอให้ การบินไทย เข้าถือหุ้นบริษัทแม่ของสายการบินไทเกอร์ แอร์เวย์ส ด้วย ด้าน "กรณ์" ชี้เพิ่มทุนในการบินไทยแน่

นายสถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธุ์ ปลัดกระทรวงการคลัง ในฐานะกรรมการ บริษัท การบินไทย เปิด เผยว่า ในการประชุมคณะกรรมการ บริษัท การบินไทย ซึ่งอนุมัติให้การบินไทยจัดตั้งสายการบินไทย ไทเกอร์ แอร์เวย์ส นั้น กรรมการได้เสนอให้การบินไทยเข้าไปถือหุ้นในบริษัทแม่ของสายการบินไทเกอร์ แอร์เวย์ส ที่มีลักษณะเป็นโฮลดิงด้วย เพื่อที่ว่าเวลาโฮลดิงเติบโตการบินไทยจะได้เติบโตไปด้วย

“เรากำลังจะได้ ไม่ใช่เสีย ในฐานะปลัดกระทรวงการคลัง ผมสนับสนุน 100% และเชื่อว่าภายใน 1 ปีนี้ สายการบินไทย ไทเกอร์ฯ น่าจะมีผลประกอบการที่ดีได้” ซึ่งการที่ทางแอร์เอเชียออกมาให้สัมภาษณ์ว่าบริษัท ไทย ไทเกอร์ ไม่สามารถเข้าไปแย่งลูกค้าได้ แสดให้เห็นว่าเขาออกอาการให้เห็นแล้ว เชื่อว่าตอนนี้นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่การบินไทย ที่เป็นผู้คิดเรื่องนี้ คงกำลังยิ้มแน่นอน ทั้งนี้ เชื่อว่า เพียงปีแรกผลประกอบการก็น่าจะเห็นผลได้เลย” นายสถิตย์ กล่าว

นายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง กล่าวว่า การบินไทยจะไม่ใช้งบประมาณของกระทรวงการคลังสำหรับตั้งสายการบินไทย ไทเกอร์ แอร์เวย์ส และเป็นคนละส่วนกับการเพิ่มทุน 1.5 หมื่นล้านบาท ของการบินไทย ส่วนความเหมาะสมในการเข้าไปถือหุ้นในโฮลดิงนั้น คงต้องให้การบินไทยเป็นผู้ตัดสินใจ เพราะเรื่องนี้เป็นการตัดสินใจของกรรมการ ซึ่งขณะนี้อยู่ในช่วงของการตัดสินใจของทางบริษัทและกรรมการ
“การจะเข้าไปถือหุ้นไทยเกอร์ ต้องถามฝ่ายบริหารและคณะกรรมการของบริษัท ซึ่งไม่ได้มีการขอความช่วยเหลือใดๆ จากกระทรวงการคลังในเรื่องนี้ หรือให้เราใส่เงินเพิ่มเติมค้ำประกันใดๆ ดังนั้นเราจึงไม่จำเป็นต้องมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ นอกจากตัวแทนของกระทรวงการคลัง ที่เข้าไปเป็นกรรมการอยู่แล้ว" นายกรณ์ กล่าว

สำหรับการเพิ่มทุนให้การบินไทยนั้น ทางการบินไทยจะเป็นผู้ประกาศเองว่าเพิ่มทุนเมื่อใด แต่ในแง่ของกระทรวงการคลัง ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้น ได้พิจารณาถึงความจำเป็นและเหมาะสมอย่างครบถ้วน ทั้งการให้ทำแผนลดค่าใช้จ่ายระหว่างปี 25522555 ที่ได้ผ่านความเห็นชอบของสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) แล้ว ขณะเดียวกันตนก็ได้มอบนโยบายให้ สคร. ไปดูเรื่องการลดภาระผูกพันที่มีกับกระทรวงการคลังของการบินไทยลงให้หมด ภายในปีนี้ทั้งนี้ ภาระผูกพันที่การบินไทยจะต้องลด เนื่องจากผู้บริหารก่อนชุดปัจจุบัน ได้มีการนำกระทรวงการคลังไปผูกพัน โดยที่ไม่ได้มาขอด้วยซ้ำ อาทิ การไปกำหนดว่าคลังต้องถือหุ้นเท่านี้เท่านั้นในบริษัท หรือกระทรวงการคลังต้องค้ำประกันการกู้ยืม ซึ่งแม้อาจไม่เป็นภาระต่องบประมาณ แต่เป็นภาระที่ทำให้ความยืดหยุ่นในการบริหารจัดการของคลังลดลง และยังไม่ได้เป็นการพิสูจน์ศักยภาพหรือความสามารถของตัวบริษัทอย่างแท้จริง

นายกรณ์ กล่าวว่า กระทรวงการคลังจะไม่เข้าไปแทรกแซงการตัดสินใจต่างๆ ของการบินไทย เนื่องจากได้เคยตกลงกับกระทรวงคมนาคมไว้แล้วว่า จะเปลี่ยนบทบาทที่เคยมีการเข้าไปแทรกแซงการทำงานของรัฐวิสาหกิจ โดยพยายามให้การเมืองออกห่างในเรื่องที่ไม่ควรจะยุ่ง ส่วนการเมืองก็ควรลดบทบาทให้เหลือเพียงการกำหนดนโยบายภาพใหญ่เท่านั้นประชาชนทั่วทั้งประเทศ ร่วมกันตามหาบุคคลในภาพอีกด้วย

นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่าปัญหาสายการบินต้นทุนต่ำไทย ไทเกอร์แอร์ไลน์ โลว์คอสต์ นั้นไม่มีการเมืองเข้าไปแทรกแซงอย่างแน่นอน เพราะเป็นแผนของผู้บริหารการบินไทย ที่มารายงานให้ทราบแล้ว ซึ่งเท่าที่ดูเบื้องต้นไม่ได้มีปัญหา เพราะการบินไทยพยายามเข้าไปในตลาดของสายการบินต้นทุนต่ำและจะไม่บินทับเส้นทางของการบินไทย และเป็นแนวทางซึ่งจะช่วยทางด้านธุรกิจได้ แต่ในรายละเอียดจะต้องไปทำอีก

นายโสภณ ซารัมย์ รมว.คมนาคม กล่าวว่า ต้องการให้การบินไทยเข้าไปบริหารงานในนกแอร์ ด้วยการเพิ่มสัดส่วนหุ้นให้มากกว่า 39% เพื่อจะได้เข้าไปมีส่วนในการบริหารงานในสายการบินนกแอร์ ซึ่งดีกว่าไปตั้งสายการบินโลว์คอสต์สายใหม่ เพราะไม่อย่างนั้นการบินไทยก็ไม่สามารถจัดการกับนกแอร์ได้

 กระทรวงคมนาคมเกรงว่าสายการบินนกแอร์ ซึ่งบริษัท การบินไทย จำกัด(มหาชน) ถือหุ้น 39% จะได้รับผลกระทบหลังจากการบินไทย ร่วมทุนกับสายการบิน ไทเกอร์ แอร์เวยส์ จัดตั้งสายการบิน ไทย ไทเกอร์ แอร์เวยส์ แม้ผู้บริหารนกแอร์จะยืนยันว่าไม่ได้รับผลกระทบก็ตาม และที่ผ่านมาตนได้ชี้แจงในสภาผู้แทนราษฎรกรณีที่การบินไทยยกเลิกเส้นทางบินในประเทศบางเส้นทางที่ขาดทุน โดยให้นกแอร์ให้บริการแทน

"ผมได้ต่อสู้ในสภาฯโดยออกรับแทนการบินไทย โดยชี้แจงว่าการบินไทยจะเพิ่มสัดส่วนหุ้นในนกแอร์เป็น 49% แต่จนถึงวันนี้การบินไทยยังไม่สามารถเพิ่มสัดส่วนหุ้นได้ จึงต้องไปดูว่าไม่ได้เพราะเหตุใด บอกว่าธนาคารกรุงไทยไม่ยอมขายหุ้น จึงต้องตั้งสายการบินต้นทุนต่ำรายใหม่ เพราะไม่มีอำนาจบริหารจัดการในนกแอร์ ผมคิดว่าถ้าเป็นอย่างนี้การบินไทยก็ควรเพิ่มทุนในนกแอร์ ไม่อย่างนั้นจะบริหารจัดการนกแอร์ได้อย่างไร "นายโสภณ กล่าว

อย่างไรก็ตาม ยืนยันว่ากระทรวงคมนาคมไม่ได้คัดค้านการจัดตั้งสายการบินไทย ไทเกอร์ แอร์เวยส์ เพราะเป็นอำนาจของกรรมการผู้อำนวยการใหญ่การบินไทย แต่ต้องการให้วิธีการและขั้นตอนการจัดตั้งถูกต้องตามกฏระเบียบ เพราะที่ผ่านมาเห็นว่ามีความเร่งรีบอย่างมาก และต้องการความชัดเจนว่าหลังจากนี้การบินไทยจะบริหารจัดการนกแอร์ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์การจัดตั้งอย่างไร เพราะไม่ต้องการให้สายการบินต้นทุนต่ำรายแรกที่การบินไทยจัดตั้งขึ้นคือนกแอร์ ต้องแข่งขันกับไทย ไทเกอร์ ซึ่งเป็นสายการบินต้นทุนต่ำรายใหม่ที่การบินไทยจัดตั้งขึ้นเช่นกัน อีกทั้งสายการบินต้นทุนต่ำทั้งสองรายมีวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งเหมือนกัน คือให้บริการเส้นทางบินในประเทศและเส้นทางบินภูมิภาค

“อยากถามว่าสายการบินต้นทุนต่ำที่มีอยู่แล้ว การบินไทยทำได้เต็มร้อยหรือยัง การบินไทยจึงต้องตอบคำถามของกระทรวงคมนาคมก่อนจะเดินหน้าจัดตั้งไทย ไทเกอร์ แอร์เวย์ส” นายโสภณ กล่าวนายสุพจน์ ทรัพย์ล้อม ปลัดกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า ได้ส่งหนังสือถึงกรรมการผู้อำนวยการใหญ่การบินไทยแล้ว เพื่อให้ชี้แจงรายละอียดและผลกระทบจากการจัดตั้งไทย ไทเกอร์ แอร์เวยส์รวม 7 ประเด็น หากยังไม่ได้รับคำตอบภายใน 10 วัน จะเร่งรัดไปอีกครั้ง โดยกระทรวงคมนาคมเห็นว่าขั้นตอนการร่วมทุนจัดตั้งไทย ไทเกอร์ แอร์เวย์สแตกต่างจากการจัดตั้งนกแอร์ ซึ่งการบินไทยร่วมทุนด้วยเช่นกัน โดยการบินไทยยังไม่เคยเสนอรายละเอียดแผนการร่วมทุนมายังกระทรวงคมนาคม สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช.) และครม.ทั้งที่แนวทางการจัดตั้งควรเป็นรูปแบบเดียวกัน

"กระทรวงคมนาคมไม่ได้ต้องการให้ระงับการจัดตั้งไทย ไทเกอร์ แอร์เวย์ส แต่ต้องการให้ถูกต้องทุกขั้นตอน หากขั้นตอนไม่ถูกต้อง ผู้บริหารการบินไทยจะทำอย่างไร ส่วนตัวเห็นว่าการบินไทยควรพิจารณานโยบายการจัดตั้งนกแอร์ให้ชัดเจนว่าเป็นไปตามวัตถุประสงค์แล้วหรือไม่ โดยเฉพาะประเด็นการเพิ่มสัดส่วนหุ้นในนกแอร์เป็น49% ผมมองว่าการบินไทยมีนกแอร์เป็นสายการบินต้นทุนต่ำเพียงรายเดียวก็เพียงพอแล้ว เพราะการร่วมทุนกับสายการบินไทเกอร์ แอร์เวย์ส จะทำให้ผลกำไรที่เกิดขึ้นถูกแบ่งออกไปนอกประเทศด้วย และหากเกิดความเสียหายกระทรวงคมนาคมต้องมีส่วนรับผิดชอบด้วยเช่นกัน"นายสุพจน์ กล่าว