posttoday

ครึ่งปีแรกไทยพบฝุ่นละอองขนาดเล็กเพิ่ม

28 กรกฎาคม 2558

กรมควบคุมมลพิษระบุคุณภาพอากาศไทยในครึ่งปีแรก ฝุ่นละอองขนาดเล็กเพิ่ม

กรมควบคุมมลพิษระบุคุณภาพอากาศไทยในครึ่งปีแรก ฝุ่นละอองขนาดเล็กเพิ่ม

กรมควบคุมมลพิษ(คพ.) รายงานผลการตรวจวัดคุณภาพอากาศในช่วงม.ค.-พ.ค. 2558 พบคุณภาพอากาศเกินค่ามาตรฐานและอยู่ในระดับที่มีผลกระทบต่อสุขภาพใน 23 จังหวัด จากทั้งหมด 29 จังหวัดที่มีการตรวจวัด โดยในภาพรวมเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา พื้นที่ส่วนใหญ่ปริมาณฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน ลดลง แต่ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน กลับพบในปริมาณมากขึ้น และก๊าซโอโซนยังคงเป็นปัญหาในหลายพื้นที่

ทั้งนี้ จากการตรวจวัด ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน : จากการตรวจวัดทั้งหมด 10 จุด ใน 9 จังหวัด พบว่า ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน เพิ่มขึ้นกว่าปีที่ผ่านมาในช่วงเวลาเดียวกันเป็นปริมาณมาก โดยพบว่า ปี 2557 เกินค่ามาตรฐานเฉลี่ย 32% เพิ่ ม ขึ้ น เ ป็ น 4 2% ใ น ปีนี้ โดยเฉพาะในกรุงเทพมหานคร(กทม.) เชียงใหม่ ลำปาง ระยอง และสระบุรี สำหรับจังหวัด ขอนแก่น สมุทรสาคร และสงขลา

ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน : ภาพรวมของทั้งประเทศ ในช่วงต้นปี 2558 จำนวนวันที่ฝุ่นละออง ขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน เกินค่ามาตรฐานในทุกภาคของประเทศลดลงกว่าปีที่ผ่านมา เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกับที่เคยตรวจวัดในปี 2557 เกินค่ามาตรฐานเฉลี่ย 11% กลับลดลงเหลือ 7 %ในปี 2558

อย่างไรก็ดี พบอีกว่า กทม.และปริมณฑล : โดยเฉพาะกทม. สมุทรปราการ และพระนครศรีอยุธยา จำนวนวันที่ฝุ่นละอองเกินค่ามาตรฐานลดลงอย่างเห็นได้ชัด  และได้ข้อสรุปอีกว่า ภาคเหนือ : เป็นพื้นที่ที่จะเกิดภาวะหมอกควันในช่วงต้นปีของทุกปี สำหรับปีนี้จำนวนวันที่ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน เกินค่ามาตรฐานลดลงอย่างน่าพอใจ

ขณะที่ พื้นที่อื่นๆ : จำนวนวันที่ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน เกินค่ามาตรฐานลดลงในทุกภาคของประเทศ ยกเว้นจังหวัดสระบุรี และราชบุรี ซึ่งจากการวิเคราะห์ปัจจัยที่ทำให้เกิดการลดลงของปริมาณฝุ่นละอองในพื้นที่กทม. ปริมณฑล และบริเวณใกล้เคียง พบว่า รถยนต์ดีเซลเป็นสาเหตุสำคัญของปัญหาฝุ่นขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน จากสถิติปริมาณการขายน้ำมันดีเซลในปี 2558 พบว่า น้อยลงกว่าในปี 2557 จึงส่งผลให้ฝุ่นละอองบริเวณริมถนนลดลงด้วย

ก๊าซโอโซน :  ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2558 ใน 25 จังหวัดที่มีการตรวจวัด พบ 12 จังหวัดที่ปริมาณก๊าซโอโซนเพิ่มมากขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะพื้นที่กทม. สมุทรปราการ สมุทรสาคร ราชบุรี ลำปาง ลำพูน แพร่ นครราชสีมา และ ฉะเชิงเทรา ซึ่ง เฉลี่ยเกินค่ามาตรฐาน 16% ปี 2557 เพิ่มขึ้น เป็น 26% ในปี 2558 ) และอีก 12 จังหวัด ก๊าซโอโซนมีปริมาณลดลงอย่างเห็นได้ชัดเจน เช่น ปทุมธานี นนทบุรี พระนครศรีอยุธยา นครสวรรค์ เชียงใหม่ เชียงราย และ แม่ฮ่องสอน เกินค่ามาตรฐานเฉลี่ย 24 % ปี 2557 ลดลงเหลือ15 % ในปี 2558

ทั้งนี้ คพ.จะมีการศึกษา และกำกับดูแลแหล่งกำเนิดมลพิษในพื้นที่ต่างๆอย่างใกล้ชิด และแบ่งหน้าที่การทำงานของหน่วยงานหลักและหน่วยงานสนับสนุนในการจัดการปัญหามลพิษอย่างรอบคอบ รวมทั้งจะดำเนินการตามมาตรการควบคุมปัญหามลพิษทางอากาศข้ามแดนจากแหล่งกำเนิดมลพิษต่างๆต่อไป