posttoday

ก.เกษตรเปิดธนาคารโค กระบือแก้ควายไทยสูญพันธ์

02 กรกฎาคม 2553

กระทรวงเกษตรเตรียมใช้ธนาคารโค กระบือ พลิกวิกฤตควายไทยใกล้สูญพันธุ์ในรอบ 10 ปี ควายไทยเหลือเพียง 1 ล้านกว่าตัว 

กระทรวงเกษตรเตรียมใช้ธนาคารโค กระบือ พลิกวิกฤตควายไทยใกล้สูญพันธุ์ในรอบ 10 ปี ควายไทยเหลือเพียง 1 ล้านกว่าตัว 

นายธีระ วงศ์สมุทร รมว.กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า  กระทรวงเกษตรฯได้นำกระแสพระราชดำรัสของ   สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ที่ทรงมีความห่วงใยชาวนาไทยที่ประสบความยากจนจากการประกอบอาชีพการทำนา  อันเนื่องมาจากภาวะเศรษฐกิจที่ผันผวน  และ เพื่อลดต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น ทรงอยากให้ชาวนาไทยกลับมาใช้ควายในการทำนา   โดยได้จัดทำ   “โครงการพลิกฟื้นธนาคารควายไถนาตามพระราชดำริ” ขึ้น เพื่อเป็นการรณรงค์ส่งเสริมสนับสนุนให้ชาวนาฟื้นฟูวัฒนธรรมประเพณี และเป็นการแก้ไขปัญหาเชิงระบบทั้งในระยะสั้น ระยะปานกลาง และระยะยาวและประการสำคัญคือการอนุรักษ์พันธุ์ควายไทย เนื่องจากขณะนี้เสี่ยงสูญพันธุ์โดยเหลือในประเทศประมาณ 1 ล้านตัวจากที่เคยมี 6 ล้านตัวเมื่อ  30  ที่แล้ว 

สำเหตุสำคัญที่ลดลง  คือการเปลี่ยนจากการใช้แรรงานควายมาเป็นการใช้เครื่องจักรในการทำนา และ คนไทยกินเนื้อควายกันมาก โดยเฉพาะคนไทยในภาคเหนือและอีสานบางส่วน โดยอาหารที่โปรดปรานของคนไทยบางกลุ่ม คือตัวอ่อนที่อยู่ในท้องแม่ควาย จนปัจจุบัน ควายไทยมีเหลือประมาณ 1.3 ล้านตัว   ขณะที่ประชากรควายของประเทศเพื่อนบ้านส่วนใหญ่ คือ มาเลเซียมีประมาณ  2 แสนตัว กัมพูชา 8.4 แสนตัว ลาว 1.4 ล้านตัว พม่า 1.8 ล้านตัว เวียดนาม 2.2 ล้านตัว และอินโดนีเซีย 2.8 ล้านตัว

อย่างไรก็ตามในขณะนี้กรมปศุสัตว์ได้เตรียมพัฒนาควายพื้นเมืองให้เป็นสัตว์เศรษฐกิจเหมือนเช่นอดีตที่ผ่านมา เพื่อให้ควายเป็นสัตว์ที่ช่วยกู้วิกฤติเศรษฐกิจ  เป็นแรงงานที่ยั่งยืนของชาวชนบทและคนไทย  นอกจากนี้ได้เร่งประชาสัมพันธ์สร้างความเข้าใจที่ถูกต้องเพื่อลดการบริโภคเนื้อควายลง

สำหรับแนวทางการดำเนินงานเสริมให้เกษตรกรแต่ละชุมชนรวมกลุ่มจัดตั้งเป็นวิสาหกิจชุมชน พร้อมจัดหาควายมาให้เลี้ยง รายละ 2-3 ตัว โดยกรมปศุสัตว์จะให้ยืมควายจากธนาคาร โค-กระบือเพื่อเกษตรกรตามพระราช ดำริ (ธคก.) ขณะที่กองทุนการปฏิรูปที่ดิน เพื่อเกษตรกรรม ได้เตรียมสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ ไว้ให้เกษตรกรกู้ยืมซื้อควาย จากนั้นจะเร่งฝึก อบรมวิธี การเลี้ยงควายให้เกษตรกร และฝึกควายไถนาควบคู่กันไป เพื่อให้ใช้งานได้จริงคาดว่าจะช่วยกระตุ้นให้เกษตรกร หันมาประกอบอาชีพการทำนาโดยใช้แรงงานควาย ในระบบเกษตรผสมผสานแบบเศรษฐกิจพอเพียงครอบคลุมพื้นที่ 3,410 ไร่ สามารถลดค่าใช้จ่ายจากการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงไร่ละ 132 บาท คิดเป็นเงิน 4.5 แสนบาท/ปี ลดค่าใช้จ่ายปุ๋ยเคมีโดยสามารถผลิตปุ๋ยคอกได้ปีละ 1,236 ตัน คิดเป็นมูลค่าปีละ 1.1 ล้านบาทโดยจัดโครงการนำร่องทั่วประเทศ 12จังหวัด  และในปี 2553จะเร่งดำเนินการขยายผลโครงการอย่างต่อเนื่องต่อไป