posttoday

ครม.ไฟเขียวแนวทางคุมอีโบลาระบาดในไทย

14 ตุลาคม 2557

ครม.เห็นชอบการเตรียมพร้อมป้องกันและควบคุมการระบาดโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลาในไทย

ครม.เห็นชอบการเตรียมพร้อมป้องกันและควบคุมการระบาดโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลาในไทย

เมื่อวันที่ 14 ต.ค. ศ.นพ. รัชตะ รัชตะนาวิน รมว.สาธารณะสุข เผิดเผยว่า ครม.เห็นชอบในหลักการ แนวทางการเตรียมความพร้อมป้องกันและควบคุมการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสอิโบลาทุกภาคส่วนและการเตรียมระดมให้ความช่วยเหลือด้านต่างๆ แก่กลุ่มประเทศแอฟริกาพร้อมนำเหตุการณ์บุคลากรสาธารณสุขติดเชื้อจากขั้นตอนการถอดชุด เป็นกรณีศึกษาถ่ายทอดให้กับเจ้าหน้าที่ไทยเคร่งครัดขั้นตอนปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วยตามมาตราฐานที่กำหนด โดย ครม.นั้นได้เห็นชอบในหลักการตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอให้ระดมความช่วยเหลือด้านต่างๆเพิ่มเติมแก่ 3 ประเทศในอาฟริกาตะวันตกได้แก่ กินี ไลบีเรีย และเซียร์ราลีโอน ตามการขอร้องขององค์การอนามัยโลกและองค์การสหประชาชาติ

รมว.สาธารณสุข ยังกล่าวว่า แม้โอกาสที่โรคอีโบลาจะระบาดในไทยอย่างกว้างขวางนั้นจะน้อย กระทรวงสาธารณสุขและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนั้นยังคงติดตามสถานการณ์การระบาดของโรคอิโบลาอย่างใกล้ชิดและดำเนินการทั้งเรื่องการป้องกันควบคุมโรคและการรักษาอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง โดยออกประกาศให้โรคติดเชื้อไวรัสอีโบลาเป็นโรคติดต่ออันตรายตามพรบ.โรคติดต่อ พ.ศ.2523 เพื่อให้เจ้าหน้าที่ พนักงานสาธารณสุขมีอำนาจในการคัดกรองและติดตมมผู้เดินทางจากโรคระบาดดังกล่าวได้อยางมีประสิทธิภาพ จนถึงปัจจุบันนั้นคัดกรองผู้เดินทางไปแล้ว 2,126 ราย ทุกรายมีสุขภาพปกติดี

นอกจากนี้ได้ร่วมกับหน่วยงานต่างๆทั้งวิทยาลัยแพทย์และเอกชน รวมทั้งองค์กรนานาชาติ เช่น องค์การอนามัยโลก ศูนย์ป้องกันและควบคุมโรคสหรัฐอเมริกา โดยคณะกรรมการอำนวยการเตรียมความพร้อม ป้องและแก้ไขปัญหาโรคติดต่ออุบัติใหม่แห่งชาติ เห็นชอบกรอบมาตรการเตรียมความพร้อม 5 ด้านคือ

1. การจัดระบบเฝ้าระวังโรคทั้งในคนและสัตว์ 2.การดูและรักษาผู้ป่วยและป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาลมีการเตรียมห้องแยกผู้ป่วยการดูแลรักษาผู้ป่วยตามแนวทางมาตรฐาน รวมถึงการควบคุมการติดเชื้ออย่างเคร่งครัด 3.การพัฒนาระบบการตรวจชันสูตรทางห้องปฏิบัติการโดยกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์รับผิดชอบร่วมกับหน่วยงานอื่นๆรวมทั้งมหาวิทยาลัยร่วมมือเป็นเครือข่ายห้องปฏิบัติการของประเทศ ให้สามารถตรวจยืนยันเชื้อได้ภายใน 24 ชม.

4.การสื่อสารความเสี่ยง ให้ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องแก่ประชาชนในเรื่องการป้องกันโรค ตลอดจนสื่อสารถึงผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องจากการสำรวจพบว่า ประชาชนร้อยละ 80 มีความรู้ความเข้าใจในโรคไวรัสอีโบลา และ 5.การบริหารจัดการแบบบูรณาการหลายภาคส่วนโดยมีศูนย์ประสานปฏิบัติการตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน ซึ่งบูรณาการการทำงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและสามารถประสานการสั่งงานเชื่อมโยงทั้งประเทศ กรณีพบผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสอีโบลา นอกจากนี้ได้มีการเตรียมความพร้อมระบบรับส่งต่อผู้ป่วย มีการซ้อมแผนในจังหวัดที่อาจมีความเสี่ยงที่มีผู้เดินทางจากเขตติดโรคแล้ว 30 จังหวัด

ทั้งนี้ ข้อมูลจากองค์การอนามัยโลก วันที่ 8 ต.ค.รายงานผู้ป่วยรวม 8,399 คน เสียชีวิต 4,033 คน โดยประเทศกินี ไลบีเลีย และเซียร์ราลีโอนมีสถานการณ์รุนแรงที่สุด ส่วนสถานการณ์ที่ประเทศสหรัฐอเมริกาและสเปนที่มีรายงานลุคลากรสาธารณสุขติดเชื้อจากผู้ป่วยที่ผู้เชี่ยวชาญระบุว่าอาจเกิดจากจุดอ่อนของเย้าหน้าที่ในขั้นตอนการถอดอุปกรณ์การป้องกันตนเอง ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขนั้นจะนำมาเป็นกรณีศึกษาถ่ายทอดให้เจ้าหน้าสาธารณสุขของไทยอยางเข้มงวดขั้นตอนปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วยตามมาตรฐานที่กำหนด และยังเชื่อมั่นในระบบการป้องกันการติดเชื้อหากปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด

สำหรับประชาชนมีส่วนสำคัญในการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา โดยขอความร่วมมือหากไม่จำเป็นเร่งด่วนขอให้หลีกเลี่ยงการเดินทางไปยังประเทศหรือพื้นที่ที่มีการระบาดของโรคอีโบลา และหากเดินทางกลับมาหรือพบเห็นผู้ที่เดินทางกลับมาจากเขตติดโรคและป่วยภายใน 21 วัน ให้ไปที่โรงพยาบาลและแจ้งเจ้าหน้าที่สาธารณสุขให้ทราบโดยทันที ทั้งนี้โรคติดเชื้อไวรัสอีโบลาเป็นโรคที่ไม่ติดต่ออย่างง่ายและไม่ติดต่อทางเดินหายใจและทางอากาศ โดยหลักจะติดต่อจากการสัมผัสผ่านสารคัดหลั่งผู้ที่มีความเสี่ยงมากที่กลุ่มหนึ่งคือแพทย์และบุคลากรสาธารณสุข