posttoday

สคบ.เผยแชร์ลูกโซ่ระบาดหนักต่างจังหวัด

16 กันยายน 2557

สคบ.ชี้แชร์ลูกโซ่เริ่มระบาดหนักต่างจังหวัด มี 3 บริษัทขายตรงเข้าข่าย จับมือดีเอสไอ เร่งตรวจสอบคาดความเสียหาย

สคบ.ชี้แชร์ลูกโซ่เริ่มระบาดหนักต่างจังหวัด มี 3 บริษัทขายตรงเข้าข่าย จับมือดีเอสไอ เร่งตรวจสอบคาดความเสียหาย

นายอำพล วงศ์ศิริ เลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.)  เปิดเผยว่าปัญหาแชร์ลูกโซ่กลับเริ่มกลับมาระบาดหนักอีกครั้ง โดย มี 3 บริษัทที่ดำเนินขายตรงที่ต้องจับตามองอย่างใกล้ชิด ว่าเข้าข่ายดำเนินการธุรกิจนอกระบบ  โดยได้ร่วมมือกับดีเอสไอหรือกรมสอบสวนคดีพิเศษเร่งติดตามตรวจสอบ ซึ่งในเบื้องต้นมีมูลค่าความเสียหายนั้นไม่ต่ำกว่าหลักพันล้านบาท แต่หากปล่อยทิ้งไว้อาจจะสร้างความเสียเป็นมูลค่าระดับหมื่นล้านบาทได้

“ธุรกิจขายตรงพันธุ์ทาง หรือแชร์ลูกโซ่ เริ่มกลับมาระบาดอีกแล้ว  เช่น ให้ผู้ร่วมธุรกิจลงเงิน 3 หมื่นบาท และบอกว่าในอีก 2-3 เดือน จะมีรายได้เข้ามา 5 แสนบาท เป็นต้น  นั้นจะที่หลอกลวงให้ประชาชนเอาเงินมาลงโดยบอกว่าจะได้ผลตอบแทนสูง  ขณะที่ทางสคบ.กับดีเอสไอ อยู่ระหว่างการติดตามตรวจสอบ โดยต้องมีการรวบรวมข้อมูลให้ชัดเจนก่อนที่จะเอาผิดเจ้าของธุรกิจรายนั้นๆ ในเวลานี้จะเป็นการแหวกหญ้าให้งูตื่นแล้วจะหนีไปก่อนที่จะติดตามมาดำเนินคดี ”นายอำพลกล่าว

สำหรับสาเหตที่ธุรกิจแชร์ลูกโซ่ นั้นส่วนหนึ่งมาจากสภาพเศรษฐกิจที่ทำให้รายได้หลักของประชาชนไม่เพียงต่อการดำรงชีวิตประจำวัน  จึงเป็นช่องทางให้กลุ่มมิจฉาชีพที่แฝงตัวทำการหลอกลวงประชาชนด้วยการให้เข้าร่วมลงทุนจำนวนน่อย แต่จะได้รับผลตอบแทนในอัตราที่สูงมาก ส่วนใหญ่จะเข้ามากับธุรกิจขายตรง มีการเก็งกำไรจากการขึ้นลงของอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา การเก็งกำไรจากการขึ้นลงของราคาสินค้าเกษตร หรือการขึ้นลงของดัชนีหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ เป็นต้น รวมไปถึงการนำระบบเหมือนธุรกิจอีคอมเมิร์สเข้ามาใช้อีกด้วย 

นายอำพล กล่าวอีกว่าแม้ว่าธุรกิจขายตรง จะมีพรบ.ขายตรงและการตลาดแบบตรง พ.ศ.2545 เข้าควบคุมแต่กฎหมายฉบับดังกล่าว ไม่ทันสมัยในด้านบทลงโทษผู้ที่กระทำความผิด โดยขณะนี้มีการเสนอให้แก้ไขเรื่องบทลงโทษ กับผู้ประกอบการที่ดำเนินธุรกิจที่ผิดไปจากแผนธุรกิจที่ได้ข้ออนุญาตไว้ เป็นต้น ซึ่งจะต้องมีการผลักดันให้แก้ไขกฎหมายผ่านสภานิติบัญญัติแห่งชาติ

อย่างไรก็ตามข้อมูลจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ระบุว่ามีบริษัทขายตรงและการตลาดแบบตรงจดทะเบียนขึ้นทะเบียนกับกรมฯ  1,000 บริษัท  โดยมีทุนจดทะเบียนรวมกัน 3,700 ล้านบาท สร้างยอดขายได้รวมกว่า 5 หมื่นล้านบาท โดยมีบริษัทขายตรง เกิดขึ้น 8 บริษัท แต่จะปิดตัวลง  1 บริษัท  ซึ่งที่ผ่านมามีการปิดตัวไปแล้ว  200 บริษัท   ขณะที่ภาพรวมบริษัทที่จดทะเบียนกว่า 5.6 แสนราย บริษัทใหม่ที่เกิดขึ้น 4 บริษัท จะปิดตัว 1 บริษัท แสดงให้เห็นว่าภาพรวมธุรกิจขายตรงนั้นปิดตัวน้อยกว่าธุรกิจประเภทอื่น   

ด้านนายสุเทพ ยืนยงค์วิทยากุล กรรมการสมาคมการขายตรงไทย กล่าวว่าต้องการให้ภาครัฐเร่งส่งเสริมธุรกิจนี้ เพราะที่ผ่านมาภาคลักษณ์ธุรกิจนั้นยังดูไม่ค่อยดีนัก   โดยต้องการผลักดันให้ออกกฎหมายลูกเรื่องบทลงโทษ ที่รุนแรงขึ้น   อีกทั้งเนื่องจากใกล้จะเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หากปล่อยให้ปัญหาเรื่องแชร์ลูกโซ่ ลุกล่ามจะกลายเป็นปัญหาใหญ่ระหว่างประเทศได้