posttoday

"ปู"รับ11ข้อเสนอแรงงานไทย

01 พฤษภาคม 2556

วันแรงงานแห่งชาติคึก! เผดิมชัย นำทำบุญลานพระบรมรูปฯ ด้าน นายกฯ เปิดงาน รับ 11 ข้อเสนอ ให้รมว.แรงงานประสาน

วันแรงงานแห่งชาติคึก! เผดิมชัย นำทำบุญลานพระบรมรูปฯ ด้าน นายกฯ เปิดงาน รับ 11 ข้อเสนอ ให้รมว.แรงงานประสาน

เช้าวันนี้ นายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วย ผู้นำองค์กรแรงงานและตัวแทนแรงงานจากภาคส่วนต่างๆ ร่วมพิธีทำบุญถวายภัตตาหารเช้าพระสงฆ์ 9 รูป ณ ลานพระบรมรูปทรงม้า กรุงเทพฯ เนื่องในโอกาสวันแรงงานแห่งชาติ 1 พ.ค.

ทั้งนี้ ภายหลังเสร็จสิ้นพิธีทำบุญดังกล่าว กลุ่มผู้ใช้แรงงานที่อยู่บริเวณลานพระบรมรูปทรงม้า ได้ตั้งขบวนเดินไปยังท้องสนามหลวง เพื่อร่วมงานวันแรงงานแห่งชาติ ซึ่งตามกำหนดการนั้น น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี จะเดินทางมาเป็นประธานเปิดงาน ในเวลาประมาณ 11.00 น.

ทั้งนี้มีรายงานว่า นายชินโชติ แสงสังข์ ประธานสภาองค์การลูกจ้างแห่งประเทศไทยจะกล่าวรายงานข้อเรียกร้องตามที่ผู้ใช้แรงงานต้องการให้รัฐบาลแก้ปัญหาโดนแร่งด่วนมีจำนวน 11 ข้อต่อนายกรัฐมนตรี ได้แก่1. ให้รัฐบาลรับรองอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ 87 และ 982. ออกกฎหมายตั้งกองทุนประกันความเสี่ยงให้แก่ลูกจ้างที่ตกงานเพราะโรงงานผิดกิจการ โดยไม่จ่ายค่าชดเชย3. ให้รัฐบาลยกเว้นการเก็บภาษีเงินได้กรณีค่าชดเชยของลูกจ้างเอกชน และเงินตอบแทนของพนักงานรัฐวิสาหกิจฯ4. ขอให้รัฐบาลเร่งแก้ไข พ.ร.บ.คุณสมบัติมาตรฐานกรรมการ และพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2550 ให้มีการมาตรฐาน    เดียวกับข้าราชการพลเรือน5. ผลักดันกฎหมายพัฒนารัฐวิสาหกิจและยุติการแปรรูปหรือยุบเลิกรัฐวิสาหกิจ 6. ให้รัฐบาลเร่งตรา พ.ร.ฎ.สถาบันความปลอดภัยฯ7. ปฏิรูประบบประกันสังคมและเพิ่มสิทธิประโยชน์ รวมทั้งยกระดับสำนักงานประกันสังคมให้เป็นองค์กรอิสระ8. จัดตั้งศูนย์เลี้ยงเด็ก และศูนย์เก็บน้ำนมแม่ในโรงงาน โดยผู้ที่เข้าร่วมโครงการ สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้9. แก้ไขพ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 59 ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างซึ่งเป็นหญิงในวันลาเพื่อ ตรวจรักษาสุขภาพก่อนคลอดบุตร และคลอดบุตรเท่ากับค่าจ้างในวันทำงานตลอดเวลาที่ลา แต่ไม่เกิน 90 วัน และให้   ลูกจ้างซึ่งเป็นชายมีสิทธิลาเพื่อดูแลภรรยาในการคลอดบุตรได้ 15 วันโดยได้รับค่าจ้าง และมาตรา 118 ให้นายจ้าง    จ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้างเป็น 2 เท่าจากเดิมที่บัญญัติไว้10. ออก พ.ร.ฎ. การจัดเก็บเงินสะสม และเงินสมทบ เพื่อเป็นกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง และ11. ตั้งคณะทำงานติดตาม และประสานงานข้อเรียกร้องวันแรงงานแห่งชาติปี พ.ศ. 2556

จากนั้น ในเวลา 11.20น. น.ส. ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กล่าวต่อผู้ใช้แรงงานโดยเน้นในเรื่องการพัฒนาสิทธิรวมทั้งเพิ่มศักยภาพและพัฒนาข้อมูลของผู้ใช้แรงงานโดยระบุว่าแรงงานทุกคนเป็นผู้มีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศมายาวนาน ซึ่งในปี 2554-2555 เศรษฐกิจซบเซาจากปัญหาอุทกภัยแต่ขณะนี้เศรษฐกิจดีขึ้น ขณะเดียวกันในช่วงต้นปียังมีความเสี่ยงเรื่องการเลิกจากซึ่งเป็นผลกระทบจากนโยบายค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท แต่รัฐบาลได้มีนโยบายบรรเทา เช่นมาตราการด้านภาษี การปรับลดเบี้ยประกันสังคมขณะที่ปัญหาด้านสุขภาพแรงงานรัฐบาลได้บูรณาการ 3 กองทุน เข้ารวมกันเพื่อความสะดวกในการรักษาพยาบาล ส่วนปัญหาแรงงานนอกระบบจะมีการจัดทำข้อมูลเพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหา ทั้งนี้แรงงานที่อยู่ต่างประเทศ รัฐบาลจะให้การช่วยเหลือในการคุ้มครองสิทธิ การทำสินเชื่อ และขอความร่วมมือระหว่างประเทศด้วย

พร้อมกันนี้น.ส.ยิ่งลักษณ์ได้รับข้อเสนอของผู้ใช้แรงงานทั้งหมดโดยมอบหมายให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานปราสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ก่อนจะกดปุ่มปิดงานวันแรงงานอย่างเป็นทางการ

สำหรับกิจกรรมในช่วงเย็น คอนเสิร์ตของศิลปินดารา จำนวนมากเพื่อสร้างความครื้นเครงให้แก่ผู้ใช้แรงงานจนถึงเวลา 22.00 น.

นอกจากนี้ คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย และสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจแห่งประเทศไทย และเครือข่ายแรงงาน ร่วมกันจัดกิจกรรม โดยเริ่มที่บริเวณด้านหน้ารัฐสภา ก่อนเคลื่อนขบวนไปจัดกิจกรรมการปราศรัยที่บริเวณประตู 5 ของทำเนียบรัฐบาล พร้อมยื่นข้อเรียกร้องต่อนายกรัฐมนตรี 12 ข้อได้แก่

1.ให้รัฐบาลรับรองอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ(ไอแอลโอ) ฉบับที่ 87 และ 98 เพื่อให้ได้รับสิทธิในการรวมตัวและเจรจาต่อรอง, 2.การตั้งกองทุนประกันความเสี่ยงให้แก่ลูกจ้างในกรณีที่สถานประกอบกิจการปิดกิจการเลิกจ้าง ไม่จ่ายค่าชดเชย ,3.การสนับสนุนและผลักดันกฎหมายพัฒนารัฐวิสาหกิจ และยุตินโยบายแปรรูป ,4.ปฏิรูประบบประกันสังคม โดยแก้ไขพ.ร.บ.ประกันสังคมให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้น ,5.การออกกฎหมายรองรับ สถาบันความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน รวมทั้งการให้งบสนับสนุน และยกเลิกนำเข้าแร่ใยหิน ,6.จัดตั้งศูนย์เลี้ยงเด็ก และศูนย์เก็บน้ำนมแม่ในสถานประกอบการ หรือใกล้กับนิคมอุตสาหกรรม โดยให้สถานประกอบการที่เข้าร่วมโครงการนำค่าใช้จ่ายนี้ไปลดหย่อนภาษีได้ 7. ยกเว้นการจัดเก็บภาษีเงินรายได้ก้อนสุดท้ายของผู้ใช้แรงงาน

8.รัฐต้องยุตินโยบายและกฎหมายที่ละเมิดสิทธิแรงงาน, 9.รัฐต้องกำหนดค่าจ้างแรงงานที่เป็นธรรมให้ครอบคลุมผู้ใช้แรงงานทุกภาคส่วน และทบทวนการคงอัตราค่าจ้าง 300 บาทไปจนถึงปี 58,10.รัฐบาลเร่งพัฒนากลไกการคุ้มครองสิทธิแรงงานและสวัสดิการสังคมที่ครอบคลุมทั้งแรงงานนอกระบบ และแรงงานข้ามชาติ 11.การแก้กฎหมายการเลือกตั้งให้แรงงานมีสิทธิ์เลือกผู้แทนในพื้นที่ที่อาศัยอยู่ ตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไปและ12. สร้างระบบสวัสดิการที่ดีเข้าถึงคนทุกกลุ่ม ควบคู่กับการควบคุมราคาสินค้า