posttoday

กมธ.ที่ดินจี้ทบทวนบริหารจัดการทรัพยากรฯ

06 มีนาคม 2556

ประธานกมธ.ที่ดิน สั่ง 3 หน่วยงานทบทวน การทำงานในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ

ประธานกมธ.ที่ดิน สั่ง 3 หน่วยงานทบทวน การทำงานในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ

ที่ รัฐสภา นายนริศ ขำนุรักษ์ ประธานกรรมมาธิการที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่องโครงการสร้างเขื่อนของหน่วยงานรัฐและรัฐวิสาหกิจที่อาจส่งผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เชิญ ผู้แทนจากกรมชลประทาน คณะกรรมการบริหารจัดการน้ำและอุทกภัย (กบอ.) และ การไฟฟ้่าฝ่ายผลิต ร่วมหารือเรื่องดังกล่าว โดยคณะกรรมการธิการที่ดินฯ ได้เสนอให้ทั้งสามหน่วยงานกลับไปพิจารณาโครงการการสร้างเขื่อนเพื่อกักเก็บน้ำเบาเท่าภัยแล้ง และป้องกันน้ำท่วม สรุปได้ดังนี้

1.ขอให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตทบทวนโครงการขนาดใหญ่ และขนาดใดก็ตามในการสร้างเขื่อนของการไฟฟ้าฯ โดยจะต้องช่วยบรรเทาอุทกภัย สามารถกักเก็บน้ำได้ไว้ใช้อย่างเพียงพอ และสามารถนำมาใช้ในการผลิตไฟฟ้าได้  2.ขอให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตดำเนินการสนับสนุนให้มีการก่อสร้างวางระบบสายไว้รองรับการออกแบบระบบสูบน้ำ 3.ในการดำเนินการขอใช้งบประมาณของ กบอ. ตอ้งมีความโปรงใส ต้องให้สังคมสามารถดำเนินการตรวจสอบได้

4.โครงการปลูกป่าที่เคยดำเนินการของ กบอ. ที่ผ่านมา คณะกรรมมาธิการเสนอให้มีการทบทวน โดยให้มุ่งเน้นปลูกป่าในเขตพื้นที่ป่าเสื่อมโทรม มิใช่ดำเนิการปลูกป่าในเขตพื้นที่ป่าอนุรักษ์ เพราะจะไม่ได้ช่วยเพิ่มจำนวนพื้นที่ป่าให้มากขึ้น 5.ให้กรมชลประทานดำเนิการจ่ายน้ำให้เพียงพอต่อความตอ้งการของประชาชน รวมถึงจ่ายน้ำไปยังพื้นที่ลุ่มด้วย 6.ในการดำเนินงานทุกโครงการจะต้่องผ่าน EIA ให้เสร้จสิ้น ก่อนการดำเนินการปฏิบัติ 7.คณะกรรมาธิการเห็นว่า การดำเนินการสร้างเขื่อนในต่างประเทศนั้น รัฐบาลจะต้องคำนึงถึงผลประโยชน์ของประเทศชาติอันสูงสุด 8.ในการดำเนินการสร้างเขื่อน จะต้องมีการวางแผนในระยะยาวอย่างเป็นระบบ เพื่อช่วยสนับสนุนและส่งเสริมการอนุกรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

"ในภาพรวมของปัญหาการสร้างเขื่อนนั้น เห็นว่าควรมีการพิจารณาอย่างรอบคอบ เพื่อให้การดำเนินการเป็นไปอย่างเรียบร้อย และก่อให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชนและประเทศชาติสุงสุด ดังนั้นจึงเห็นควรให้มีการทบทวนในการดำเนินการวางแผนสร้างเขื่อนในประเทศและต่างประเทศให้มากขึ้น ทั้งยังจะต้องเร่งดำเนินการบริหารจัดการด้านการกักเก็บน้ำในพื้นที่ประสบภัยแห้งแล้งอย่างเร่งด่วน ทั้งนี้พบว่าที่ผ่านมามีปริมาณน้ำฝนในแต่ละพื้นที่ของประเทศใกล้เคียงกัน แต่กลับพบว่าบางพื้นที่มีการบริหารจัดการเรื่องการกักเก็บน้ำไ่ม่มีประสิทธิภาพ จึงเสนอให้กรมชลฯเร่งดำเนินการวางแผนกักเก็บน้ำเพื่อให้ประชาชนไม่ต้องประสบปัญหาภัยแล้งอีกต่อไป โดย" นายนริศ กล่าว