posttoday

รอชมดาวหางสว่าง 2 ดวงปีหน้า

22 ธันวาคม 2555

สมาคมดาราศาสตร์ไทย เผย ในปี 2556 จะมีปรากฎการณ์ดาวหางสว่างจนมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า 2 ดวง ซึ่งปกติต้องใช้เวลา 5-10 ปี นายอารี สวัสดี นายกสมาคมดาราศาสตร์ไทย เปิดเผยว่า ในปี 2556 จะมีปรากฏการณ์ดาวหาง 2 ดวง ที่นักดาราศาสตร์คาดว่าอาจจะสว่างจนสามารถเห็นได้ด้วยตาเปล่า ดวงแรกในเดือนมีนาคม 2556 คือ ดาวหางแพนสตาร์ส ซึ่งคาดว่าจะสามารถสังเกตเห็นได้ดีที่สุดช่วงเวลาหัวค่ำของวันที่ 9 - 17 มีนาคม 2556 โดยสังเกตได้ตั้งแต่หลังดวงอาทิตย์ตกไปแล้ว 30 นาที หันหน้าไปทางทิศตะวันตก อย่างไรก็ตาม การสังเกตเห็นหัวดาวหางแพนสตาร์สอาจทำได้ยาก เนื่องจากดาวหางปรากฏให้เห็นได้เฉพาะในเวลาที่ยังมีแสงยามเย็น ท้องฟ้าไม่มืดสนิท ส่วนอีกดวง คือ ดาวหางไอซอน ซึ่งเป็นดาวหางที่มีแนวโน้มจะสว่างและเห็นได้ด้วยตาเปล่า และคาดว่าจะมีความสว่างเกือบเท่าดวงจันทร์วันเพ็ญ โดยดาวหางดวงนี้จะปรากฏบนท้องฟ้าเวลาเช้ามืดในช่วงปลายปี 2556 - 2557 และจัดเป็นดาวหางที่เข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด ซึ่งคาดว่าจะเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดในช่วงวันที่ 28 - 29 พฤศจิกายน 2556 ห่างจากผิวดวงอาทิตย์เพียง 1.2 ล้านกิโลเมตร

สมาคมดาราศาสตร์ไทย เผย ในปี 2556 จะมีปรากฎการณ์ดาวหางสว่างจนมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า 2 ดวง ซึ่งปกติต้องใช้เวลา 5-10 ปี
 
นายอารี สวัสดี นายกสมาคมดาราศาสตร์ไทย เปิดเผยว่า ในปี 2556 จะมีปรากฏการณ์ดาวหาง 2 ดวง ที่นักดาราศาสตร์คาดว่าอาจจะสว่างจนสามารถเห็นได้ด้วยตาเปล่า ดวงแรกในเดือนมีนาคม 2556 คือ ดาวหางแพนสตาร์ส ซึ่งคาดว่าจะสามารถสังเกตเห็นได้ดีที่สุดช่วงเวลาหัวค่ำของวันที่ 9 - 17 มีนาคม 2556 โดยสังเกตได้ตั้งแต่หลังดวงอาทิตย์ตกไปแล้ว 30 นาที หันหน้าไปทางทิศตะวันตก อย่างไรก็ตาม การสังเกตเห็นหัวดาวหางแพนสตาร์สอาจทำได้ยาก เนื่องจากดาวหางปรากฏให้เห็นได้เฉพาะในเวลาที่ยังมีแสงยามเย็น ท้องฟ้าไม่มืดสนิท
 
ส่วนอีกดวง คือ ดาวหางไอซอน ซึ่งเป็นดาวหางที่มีแนวโน้มจะสว่างและเห็นได้ด้วยตาเปล่า และคาดว่าจะมีความสว่างเกือบเท่าดวงจันทร์วันเพ็ญ โดยดาวหางดวงนี้จะปรากฏบนท้องฟ้าเวลาเช้ามืดในช่วงปลายปี 2556 - 2557 และจัดเป็นดาวหางที่เข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด ซึ่งคาดว่าจะเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดในช่วงวันที่ 28 - 29 พฤศจิกายน 2556 ห่างจากผิวดวงอาทิตย์เพียง 1.2 ล้านกิโลเมตร

อย่างไรก็ดี ดาวหางไอซอนอาจกลายเป็นดาวหางที่สว่างที่สุดในรอบหลายสิบปี หรืออาจเป็นดาวหางที่สร้างความผิดหวังก็ได้ นักดาราศาสตร์เตือนว่าอย่าเพิ่งตั้งความหวังไว้สูงเกินไปนัก ในอดีตมีตัวอย่างของดาวหางหลายดวงที่มีแนวโน้มว่าจะสว่างเห็นได้ด้วยตาเปล่า แต่เมื่อถึงเวลา กลับสว่างน้อยกว่าที่พยากรณ์ไว้หลายเท่า

รอชมดาวหางสว่าง 2 ดวงปีหน้า

 

รอชมดาวหางสว่าง 2 ดวงปีหน้า