posttoday

ต้านสร้างเขื่อน แม่วงก์-แก่งเสือเต้น

14 กรกฎาคม 2555

เครือข่ายลุ่มน้ำภาคเหนือ ออกแถลงการณ์ ต้านกบอ. สร้างเขื่อน แม่วงก์-แก่งเสือเต้น ตามแผนจัดการน้ำ

เครือข่ายลุ่มน้ำภาคเหนือ ออกแถลงการณ์ ต้านกบอ. สร้างเขื่อน แม่วงก์-แก่งเสือเต้น ตามแผนจัดการน้ำ
 
นายประสิทธิพร กาฬสีอ่อน ผู้ประสานงานเครือข่ายลุ่มน้ำยม เปิดเผยว่า เครือข่ายลุ่มน้ำภาคเหนือได้ออกแถลงการณ์ต่อต้าน การสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้นและเขื่อแม่วงก็ตามแผนการจัดการน้ำของ คณะกรรมการบริหารการจัดการน้ำและอุทกภัย(กบอ.) โดยแถลงการณ์ดังกล่าวระบุว่า กรณีที่นายปลอดประสพ สุรัสวดี รมว.กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้เสนอร่าง ทีโออาร์ 3 แสนล้าน ให้กับบริษัทเอกชน และบริษัทต่างชาติ เพื่อให้มาจัดการเรื่องน้ำของประเทศไทยทั้งระบบนั้น ถือเป็นการกระทำที่อัปยศอย่างยิ่ง ทั้งที่แนวทางและแผนงานในการแก้ปัญหาเรื่องน้ำทั้งระบบของประเทศไทยยังไม่มีความชัดเจน ในทางกลับกันรัฐบาลยังมีแผนหมกเม็ดที่จะสร้างเขื่อนขนาดใหญ่ในเขตอุทยานแห่งชาติอย่างน้อย 5 แห่ง ซึ้งต้องทำลายป่าไม้ในเขตอุทยานแห่งชาตินับแสนไร่ ซึ่งสวนทางกับการเพิ่มพื้นที่ป่าเป็นอย่างยิ่ง
 
ทั้งนี้ แนวทางการแก้ไขปัญหาเรื่องน้ำของรัฐบาลยังสับสนในตัวเอง คือ แก้ไขปัญหาน้ำท่วมด้วยการทำลายป่านับแสนไร่ อาทิ เขื่อนแม่วงก์ กว่า 1.1หมื่นไร่ เขื่อนแก่งเสือเต้นกว่า 6.5หมื่น ไร่ เขื่อนต้นน้ำปิง ที่จะต้องทำลายป่าในอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ และเขื่อนวังชมพู ในอุทยานแห่งชาติ ทุ่งสะแลงหลวง จังหวัดพิษณุโลก นอกจากนี้ยังมีแผนที่จะสร้างเขื่อนหมกเม็ดไว้ใน ทีโออาร์ อีกรวมแล้ว 21 เขื่อน การแก้ไขปัญหาเรื่องน้ำของรัฐบาลจึงเป็นการทำลายป่า ทำลายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จำนวนมาก โดยยังไม่ผ่านกระบวนการการมีส่วนร่วมและรับฟังความคิดเห็นต่อประชาชน ที่ได้ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2550 โครงการใด ๆ ของรัฐที่จะกระทบต่อประชาและสาธารณะ ในทางลบแบะทางบวกจะต้องให้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ซึ่งที่ผ่านมายังไม่ได้ดำเนินการอะไรเลยโครงการขนาดใหญ่ เขื่อนที่มีความจุน้ำเกิน 100 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือน้ำท่วมเกิน 1 หมื่นไร่ หรือพื้นที่ชลระทานมากกว่า 8 หมื่นไร่  ยังไม่ผ่านกระบวนการศึกษาผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ซึ่งถือว่าผิดขั้นตอน และผิดกฎหมายรัฐธรรมนูญ มาตรา 67 วรรค 2 อย่างชัดเจน
 
อย่างไรก็ตาม เครือข่ายลุ่มน้ำภาคเหนือ ได้ติดตามสถานการณ์ปัญหาเรื่องน้ำมาโดยตลอด เห็นว่า รัฐบาลต้องสร้างความชัดเจน โปร่งใส ให้เกิดขึ้นก่อน โดยการเปิดเผย ทีโออาร์ 3 แสนล้านต่อสาธารณะชน และรัฐบาลควรยุติแนวทางการแก้ไขปัญหาเรื่องน้ำโดยการทำลายป่า โดยใช้แนวทางการจัดการน้ำชุมชนเป็นแนวทางหลักในการแก้ไขปัญหาเรื่องน้ำของประเทศไทย

การเชื้อเชิญนักลงทุนไทย และนักลงทุนต่างชาติมาวางแผน มาลงทุนทำโครงการต่างๆ ที่รัฐบาลหมกเม็ดไว้ในร่างทีโออาร์ นั้น เปรียบได้กับการขายสมบัติแผ่นดิน ขายป่าไม้ ของคนไทยทั้งประเทศ ไห้กับบริษัทเอกชนไทย และบริษัทต่างชาติ อย่าลืมว่ารัฐบาลเป็นเพียงลูกจ้างของประชาชนที่เข้ามาบริหารประเทศเพียงชั่วคราวเท่านั้น จึงต้องฟังเสียงประชาชนเจ้าของประเทศว่ายินยอมให้รัฐบาลผลาญทรัพยากรธรรมชาติ ทำลายสิ่งแวดล้อม และสร้างหนี้ไว้ให้ลูกหลานของพวกเราหรือไม่
 เครือข่ายลุ่มน้ำภาคเหนือ ขอเรียกร้องให้ รัฐบาลยุติโครงการขนาดใหญ่ที่ส่งผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และหันมาใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ซึ่งแตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ ใช้แนวทางการจัดการน้ำชุมชน เป็นแนวทางหลักในการแก้ไขปัญหาเรื่องน้ำของประเทศไทย

เครือข่ายลุ่มน้ำภาคเหนือ ยังระบุอีกว่า ความเร่งรีบเสมือนว่าโครงการเหล่านี้ได้ดำเนินการก่อสร้างแล้วจะทำให้น้ำไม่ท่วม อยากให้รัฐบาลกลับไปทบทวน ว่าปีที่ผ่านมาน้ำท่วมก็มาจากน้ำมือการจัดการ ไม่ใช่ไม่มีเขื่อน และเขื่อนก็ทำให้น้ำท่วมหนักขึ้น เป็นเรื่องของการบริหารจัดการมากกว่า แต่รัฐบาลยังเห็นชอบที่จะให้มีการสร้างเขื่อนต่อไป ไม่ได้เอาบทเรียนปี 2554 มาทบทวน การคิดโครงการคิดจากนักสร้างเขื่อนแทบทั้งสิ้นไม่ได้หาแนวทางการจัดการน้ำที่ไม่ต้องใช้งบประมาณ และดึงทุกภาคส่วนให้มีส่วนร่วม และการจัดการต้องดำเนินการทั้งลุ่มน้ำ และเพื่อหวังกู้เงิน ดำเนินการให้เป็นไปตามระเบียบเงินกู้ จึงต้องชวนให้ต่างชาติเข้า