posttoday

จุลพันธ์ สั่งกรมสรรพสามิตแก้กฎหมาย สุราชุมชน เน้นเอื้อทุกกลุ่มอยู่ได้

30 พฤษภาคม 2567

จุลพันธ์ ยกสรรพสามิต เป็นหัวหอกขับเคลื่อนยุทธศาสตรเศรษฐกิจสีเขียว สั่งสร้างมาตรฐานราคากลางคาร์บอนเครดิต หนุนอุตสาหกรรมกรีน พร้อมแก้กฎหมายสุราชุมชน เอื้อประโยชน์ทุกกลุ่มอยู่ได้ ปังธงพัฒนาตลาด ดันเป็นซอฟต์พาวเวอร์ สร้างรายได้

นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์  รมช.คลัง กล่าวภายหลังการมอบนโยบายกรมสรรพสามิตว่า ได้มอบนโยบายกรมสรรพสามิตในหลายด้าน สิ่งแรกที่ได้คุยกันซึ่งเป็นนโยบายของรัฐบาล คือ การเดินหน้าสุราชุมชน โดยอยากให้มีการปรับแก้ไขกฎหมายทั้งหมดที่เกี่ยวข้อง เพื่อเปิดตลาดสุราไทยให้ขยายตัวเพิ่มขึ้น และมีศัพยภาพพัฒนาต่อไปได้ โดยเพิ่มผู้เล่นมากขึ้น  คือ ผู้ประกอบการระดับบน เอสเอ็มอี และวิสาหกิจชุมชนต่างๆ โดยที่ทุกกลุ่มสามารถอยู่ได้แบบวินๆทุกฝ่าย 

 

“เรามีเป้าหมาย อยากผลักดันตลาดสุราของไทยได้อีกสเตป อาจก้าวไปเป็นสินค้าซอฟพาวเวอร์ของไทย รวมสามารถส่งออกได้เป็นสินค้า เป็นซิลเวอร์เนีย เป็นของดื่มให้กับต่างชาติ ซึ่งต้องสร้าง อีโคซิสเท็มที่เหมาะสม ซึ่งกรมสรรพาสามิตต้องไปหากลไกล วิธีการที่เหมาะสมที่เอื้อตลาดสุราไทยให้ก้าวไปข้างหน้าได้ ” นายจุลพันธ์ กล่าว
 

นอกจากนี้ได้มีการหารือ ถึงการวางกรอบนโยบายในการ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ หลังจากที่ได้รับมอบการบ้านจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ ให้หาแพ็กเก็ตมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ทั้งในระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว ซึ่งได้มอบหมายให้กรมจัดเก็บรายได้ทั้ง 3 กรม ไปร่วมกันคิดร่วมกันทำก่อนนำมาเสนอต่อไป ซึ่งในส่วนของกรมสรรพาสามิตก็ได้รับโจทย์ในเรื่องของมารตการกระตุ้นระยะสั้นว่า จะสามารถทำอะไรได้บ้าง โดยเฉพาะในระยะกลาง และยาว เรื่องการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจให้สามารถแข่งขันได้ดีขึ้น และผลักดันการเติบโตของเศรษฐกิจไทยได้ดีขึ้น ซึ่งกรมสรรพาสามิตถือว่าเป็นหน่วยงานที่ตรงโจทย์มากที่สุด เพราะมีกลไกลที่สนับสนุน ซึ่งสิ่งที่กรมฯทำสําเร็จมาแล้ว เช่น ภาษีความหวาน ซึ่งมีตัวเลขที่ชี้ชัดได้ว่าหลังจากเราปรับใช้กลไกภาษีนี้เนี่ยทําให้ตัวเลขการบริโภคสินค้าที่มันมีความหวานซึ่งมีผลต่อสุขภาพของประชาชนมันปรับตัวลดลง ภาาษีในเรื่องของการสนับสนุน EV TAX ทั้ง มาตรการสนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าหรือ EV 3.0 และ มาตรการ EV 3.5 ที่ผ่านมาเราก็เห็นถึงการเติบโตในภาคธุรกิจการขายรถของรถไอ้รถEV เนี่ยที่มันเติบโตอย่างก้าวกระโดด
 

นอกจากนี้ได้มีการหารือ ถึงการวางกรอบนโยบายในการ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ หลังจากที่ได้รับมอบการบ้านจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ ให้หาแพ็กเก็ตมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ทั้งในระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว ซึ่งได้มอบหมายให้กรมจัดเก็บรายได้ทั้ง 3 กรม ไปร่วมกันคิดร่วมกันทำก่อนนำมาเสนอต่อไป ซึ่งในส่วนของกรมสรรพาสามิตก็ได้รับโจทย์ในเรื่องของมารตการกระตุ้นระยะสั้นว่า จะสามารถทำอะไรได้บ้าง โดยเฉพาะในระยะกลาง และยาว เรื่องการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจให้สามารถแข่งขันได้ดีขึ้น และผลักดันการเติบโตของเศรษฐกิจไทยได้ดีขึ้น ซึ่งกรมสรรพาสามิตถือว่าเป็นหน่วยงานที่ตรงโจทย์มากที่สุด เพราะมีกลไกลที่สนับสนุน ซึ่งสิ่งที่กรมฯทำสําเร็จมาแล้ว เช่น ภาษีความหวาน ซึ่งมีตัวเลขที่ชี้ชัดได้ว่าหลังจากเราปรับใช้กลไกภาษีนี้เนี่ยทําให้ตัวเลขการบริโภคสินค้าที่มันมีความหวานซึ่งมีผลต่อสุขภาพของประชาชนมันปรับตัวลดลง ภาาษีในเรื่องของการสนับสนุน EV TAX ทั้ง มาตรการสนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าหรือ EV 3.0 และ มาตรการ EV 3.5 ที่ผ่านมาเราก็เห็นถึงการเติบโตในภาคธุรกิจการขายรถของรถไอ้รถEV เนี่ยที่มันเติบโตอย่างก้าวกระโดด

 

สำหรับการสนับสนุนสังคม ESG ซึ่งเป็นเทรนของโลก ซึ่งถือเป็นกุญแจสำคัญในการเพิ่มขีดความแข่งขันหนึ่งสำหรับประเทศไทยต่อไปในอนาคตข้างหน้า ซึ่งก็ได้มอบหมายให้ “กรมสรรพาสามิตเป็นหัวหอก” ในการขับเคลื่อนในเรื่องนี้ โดยเริ่มต้นด้วยการสร้างมาตรฐานราคากลางคาร์บอนเครดิต เพื่อเป็นกลให้ภาคเอกชนเดินหน้าต่อไปได้ โดยต้องเป็นกลไกลที่เหมาะสมและเป็นสแตนดาร์ดที่ใช้ในต่างประเทศ คือ 1.แบบภาคสมัครใจ และ 2. ภาคบังคับ ซึ่งปัจจุบันมีการเก็บภาษีแบบภาคสมัครใจ ส่วนแบบภาคบังคังไทยยังไม่เคยมี

 

“ถ้ากรมจะเดินหน้ากลไกลภาคบังคับ เชื่อว่าจะทําให้ตลาดมีโอกาสในการเติบโตแน่นอน ภาคเอกชนเองหากรักษาวินัยมีกรอบในการผลิตอะไรต่างๆอยู่ภายใต้กรอบที่มันมีความเหมาะสมมันจะเป็นแหล่งรายได้เพิ่มเติมด้วย จากการที่เราสามารถเอาคาร์บอนเครดิตเหล่านี้มาแลกคืนเป็นผ่านกลไกลระหว่างประเทศ  โดยวางเป้าหมายว่าในช่วงของการดำเนินการ 2-3 ปีแรก คาร์บอนด์เครดิตจะต้องไม่กระทบกับราคาพลังงานที่ประชาชนบริโภค”นาย จุลพันธ์ กล่าว

 

ส่วนเรื่องการปราบปรามสินค้าเถื่อนผิดกฎหมาย พบว่า ในช่วง 8-9 เดือนที่ผ่านมาในช่วงที่รัฐบาลใหม่เข้ามาทํางาน ยอดในการจับกุมเพิ่มมากขึ้นราว 10% ซึ่งเป็นสิ่งที่ดี แต่ก็ยังมีปัญหาในเรื่องของสินค้าที่ไม่ได้อยู่ในพิกัดที่กรมไม่สามารถดําเนินการได้บางส่วน เพราะอํานาจของกรมของสรรพสามิต จะมีขอบเขตอยู่ภายใต้สิ่งที่เราเก็บภาษีได้เท่านั้น ซึ่งต้องไปหาหนทางแก้ไขกันต่อไป เพื่อที่จะทําให้กลไกเหล่านี้สามารถเดินหน้าต่อไปได้

 

ในส่วนของการปรับโครงสร้างภาษียาสูบนั้น ขณะนี้ยังไม่ได้รับการรายงาน แต่ยอมรับว่าปัจจุบันตัวเลขบุหรี่เถื่อนที่ทะลักเข้าไทยตอนนี้ ค่อนข้างสูง ประมาณ 20-25% คิดเป็นมูลค่าราว 1 หมื่นล้านบาท ต้องเร่งกำกับให้รัดกุม โดยปัญหานี้เกิดจากการปรับโครงสร้างภาษีเมื่อหลายปีก่อน ทำใหีมีช่องว่างระหว่างราคาขายระดับบนกับระดับล่าง ทำให้เกิดแรงจูงใจในการลักลอบ ตรงนี้ต้องไปดูว่าจะทำอย่างไร เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบกับอุตสาหกรรม 

 

ส่วนยอดการจัดเก็บภาษี ปีนี้น่าจะเก็บได้ไม่ตรมเป้า เพราะงบประมาณที่ล่าช้า รวมถึงการลดภาษีน้ำมันเพื่อดูแลพี่น้องประชาชน ซึ่งเป็นเรื่องที่เข้าใจได้ อย่างไรก็ตามทางกรมก็ยังจะเดินหน้าในการที่จะขับเคลื่อนการจัดเก็บที่มีประสิทธิภาพต่อไป เพื่อหวังว่าจะสามารถไปไกลที่สุดกับเป้าหมายที่ได้ตั้งไว้ โดยขณะนี้สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) อยู่ระหว่างการพิจารณาปรับเป้าหมายการจัดเก็บรายได้ในปีงบประมาณ 2567 ของกรมสรรพสามิต เพื่อให้การจัดเก็บมีประสิทธิภาพมากขึ้น ส่วนภาพรวมการจัดเก็บภาษีที่พลาดเป้านี้ก็ไม่ได้ส่งผลกระทต่อเสถียรภาพทางการคลัง