posttoday

ส่อง “Ziwilize” แพลตฟอร์ม Digital Ecosystem ที่พัฒนาโดยฝีมือคนไทย

24 มกราคม 2567

ส่อง “Ziwilize” แพลตฟอร์ม Digital Ecosystem ที่พัฒนาขึ้นโดยฝีมือคนไทย รวมทุกบริการไว้จุดเดียว ให้ทั้งสะดวกและประหยัดเวลา โดยมีมูลค่าทางธุรกิจราว 350 ล้านบาท ตั้งเป้าผู้ใช้งาน Active User 1 ล้านคน ในปีนี้ หวังแตะ 30 ล้านคน ใน 3-5 ปี

นายอนุชิต รัตนะวัน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ซิวิไลซ์ อิน ไทย จำกัด เปิดเผยถึงที่มาของการพัฒนา Ziwilize ว่าต้องการยกระดับศักยภาพการให้บริการ เพื่อสร้างประสบการณ์ใหม่ที่ครอบคลุมในแพลตฟอร์มเดียว โดยเป็นเครื่องมือดิจิทัลที่จะช่วยให้ชีวิตของผู้ใช้งานสะดวกขึ้นในทุกมิติ ท่ามกลางยุคโซเชียลที่เทคโนโลยีมีบทบาทสำคัญในชีวิต เพื่อให้ตอบโจทย์ทุกไลฟ์สไตล์ของคนไทยอย่างเข้าใจ ลดขั้นตอน สะดวก และประหยัดเวลาผ่านการใช้เครื่องมือดิจิทัลที่พัฒนาขึ้นมา

โดยเฉพาะในยุคที่เทคโนโลยีมีบทบาทสำคัญในชีวิต ทำให้สามารถเข้าถึงบริการและข้อมูลต่าง ๆ ได้อย่างง่ายดาย รวมถึงเป็นการพบปะเพื่อนใหม่หรือผู้มีความชื่นชอบในมุมมองเดียวกันผ่านการเชื่อมโยงในโลกออนไลน์ อีกทั้งในยุคที่ออนไลน์และออฟไลน์เกือบจะเป็นเรื่องเดียวกัน จึงมองว่าประเทศไทยยังขาด Ecosystem ในโลก Digital โดยปัจจุบันยังต้องอาศัยเทคโนโลยีจากต่างชาติเป็นหลัก 

ดังนั้น Ziwilize จึงเกิดขึ้นมา เพื่อตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ในยุคดิจิทัลเต็มรูปแบบ ซึ่งเป็นระบบนิเวศดิจิทัล  (Digital Ecosystem) ที่ครบวงจร อาทิ การแสดงความสามารถ การสร้างรายได้ การบริหารธุรกิจ การจัดการตารางเวลา และอื่น ๆ อีกมากมาย โดยมีเครื่องมือดิจิทัล ที่จะช่วยให้ชีวิตของผู้คนสะดวกขึ้นในทุกมิติ ซึ่งมองถึงกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่ต้องการแสดงความสามารถ และมองหาโอกาสในการสร้างอาชีพ รวมถึงกลุ่มธุรกิจ SMEs และ Startup ที่สามารถใช้เครื่องมือต่าง ๆ ในแพลตฟอร์มนี้ได้เพื่อประโยชน์ในการทำงาน เสมือนมีผู้ช่วยที่จะทำให้การทำงานและชีวิตมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น 

Ziwilize

สำหรับแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย Ziwilize รวบรวมฟีเจอร์ให้ใช้งาน ทั้ง Show Up Inspire ที่เปิดพื้นที่ให้ผู้คนได้แสดงความสามารถและโชว์ความคิดสร้างสรรค์ โดยผู้ใช้สามารถสร้างคอนเทนต์ในรูปแบบต่าง ๆ ได้หลากหลาย และมีจุดเด่นที่ฟังก์ชัน Give Forward ที่ให้ผู้ใช้สามารถสนับสนุนผู้สร้างคอนเทนต์ที่ตนชื่นชอบได้โดยตรง ไม่จำเป็นต้องรอให้มีผู้ติดตามจำนวนมาก หรือรอส่วนแบ่งจากโฆษณา ซึ่งเป็นวิธีการที่ง่ายและสะดวกในการสนับสนุนผู้สร้างคอนเทนต์ที่สร้างสรรค์ผลงานที่มีคุณภาพ นอกจากนี้ยังมีเครื่องมือต่าง ๆ เพื่อช่วยทำให้ชีวิตของผู้ใช้งานสะดวกมากยิ่งขึ้น ผ่านการมองลึกถึงพฤติกรรมการใช้งานด้วยความเข้าใจของคนไทยด้วยกันเอง อาทิ

ระบบขายด่วน  : ช่วยให้ผู้ใช้สามารถขายสินค้าหรือบริการของตนเองได้อย่างรวดเร็วและง่ายดาย

ระบบประมูล  : ช่วยให้ผู้ใช้สามารถเข้าร่วมการประมูลสินค้าหรือบริการต่างๆ ได้อย่างสะดวก

ระบบจอง  : ช่วยให้ผู้ใช้สามารถจองสินค้าหรือบริการต่างๆ ได้ล่วงหน้า

ระบบตรวจสอบสลิปโอนเงิน  : ช่วยให้ผู้ใช้สามารถตรวจสอบความถูกต้องของสลิปโอนเงินได้อย่างรวดเร็วและง่ายดาย

ระบบ Work Anywhere  : ช่วยให้ผู้ใช้สามารถทำงานจากที่ไหนก็ได้ในโลกที่มีเพียงอินเทอร์เน็ต

ระบบตารางรายสัปดาห์ Weekly Blocking time  : ช่วยให้ผู้ใช้สามารถจัดการตารางเวลาได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

ระบบ Business Model Canvas  : ช่วยให้ผู้ใช้สามารถสร้างแผนธุรกิจได้อย่างง่ายดาย

ระบบประเมินราคาต่าง ๆ  : ช่วยให้ผู้ใช้สามารถประเมินราคาสินค้าหรือบริการต่างๆ ได้อย่างแม่นยำ

ระบบขอความช่วยเหลือ  : ช่วยให้ผู้ใช้สามารถขอความช่วยเหลือจากผู้ใช้คนอื่นๆ ได้อย่างง่ายดาย

ระบบ Love Crazy  : ช่วยให้ผู้ใช้สามารถค้นหาความรักได้อย่างสะดวก

นายอนุชิตกล่าวอีกว่า นอกจากนี้ยังมีฟีเจอร์ต่าง ๆ ที่ถูกพัฒนาขึ้นมา เพื่อช่วยทำให้ผู้ใช้งานได้รับความสะดวกอย่างรอบด้าน และใช้ชีวิตได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยจะมีการพัฒนาเครื่องมือต่าง ๆ เพิ่มขึ้น เพื่อให้ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ในยุคดิจิตอลเต็มรูปแบบ