posttoday

"ดร.พิรุณ" ชี้อนาคตภัยพิบัติจากโลกร้อนจะมาแบบไม่คาดคิดอีกมาก

25 เมษายน 2567

จากความเปลี่ยนแปลงอากาศอุณภูมิโลกที่สูงขึ้นจากโลกร้อนเป็นโลกเดือด ดร.พิรุณ สัยยะจิตพาณิช อธิบดีกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม เชื่อว่าอนาคตโลกจะเจอเหตุการณ์ไม่คาดคิดอีกมาก ชี้ พรบ.การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ จะมีส่วนสำคัญต่อประเทศในอนาคต

กรุงเทพธุรกิจจัดเวที Go Green 2024 : The Ambition of Thailand เปลี่ยนความท้าทายในยุค "โลกเดือด" (Global Boiling) ให้เป็นโอกาสสำหรับประเทศไทย และนำพาประเทศให้ผ่านจุดเปลี่ยน ด้วยการปรับตัวอย่างมียุทธศาสตร์ ณ ห้องแกรนด์ บอลรูม โรงแรมแกรนด์  ไฮแอท เอราวัณ กรุงเทพ วันพฤหัสบดีที่ 25 เมษายน 2567 เวลา 08.30 - 16.30 น. 

ช่วงการบรรยายพิเศษ: Climate Change Act: The Springboard To Opportunities กฎหมายโลกร้อน: เกณฑ์ใหม่กับโอกาสประเทศไทย โดย ดร.พิรุณ สัยยะสิทธิ์พานิช อธิบดีกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
 

\"ดร.พิรุณ\" ชี้อนาคตภัยพิบัติจากโลกร้อนจะมาแบบไม่คาดคิดอีกมาก

ดร.พิรุณ สัยยะจิตพาณิช  กล่าวว่า COP 28 บอกชัดเจนว่าปัจจุบันโลกทั้งโลกที่พยายามในเวลานี้มันไม่พอ อุณหภูมิโลกอาจจะขึ้นไป 2.4 องศาเซลเซียส แต่นักวิทยาศาสตร์บอกว่า แค่ 2 องศาประการังทั้งมหาสมุทรก็หายไปแล้ว หากสูงขึ้น 1.5 องศา ประการังทั้งหมดก็เสี่ยงมากที่จะพัง 

ประเทศไทยเราก็เสี่ยง เพราะการที่จะทำให้มวลน้ำในมหาสมุทรสูงขึ้นขนาดนั้น มันต้องใช้ความร้อนมหาศาล ซึ่งมันมาจากก๊าซเรือนกระจกนั่นเอง วันนี้ทั้งโลกถ้าจะกลับไปลดอุณภูมิลงที่ 1.5 องศา ต้องลดก๊าซเรือนกระจกอย่างร้อย 43 % ภายในปี 2030 ทว่าปัจจุบันมันยังไม่ถึง 10% 

ส่วนไทยตั้งเป้าในปี 2030 จะต้องลดก๊าซเรือนกระจกที่ 30-40 % โดย 33.2 % มาจากความพยายามเองในประเทศจากทุกกลไกที่เรามี ส่วนอีก 6.8 % เราจะใช้การเงินระหว่างประเทศภายใต้สัญญาทั้งเงินกู้และเงินให้เปล่า และมีพิเศษอีก 3 % ที่จะเผื่อไว้ให้ใช้การซื้อขายคาร์บอนเครดิตข้ามประเทศ นี่คือกลไกที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศต้องทำอย่างเร่งด่วน
\"ดร.พิรุณ\" ชี้อนาคตภัยพิบัติจากโลกร้อนจะมาแบบไม่คาดคิดอีกมาก

เปิด พรบ.การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 

สำหรับวัตถุประสงค์ของกฎหมายใหม่นี้ ดร.พิรุณ กล่าวเสริมว่า สาระสำคัญคือต้องให้ประชาชนมีส่วนร่วมมากที่สุด และจะมีเคริ่องมือกลไกที่จะสร้างเม็ดเงินกลับมาใช้ในภาคอุตสาหกรรมที่ต้องการทำตรงนี้ 

ซึ่งพรบ.ดังกล่าวยังเป็นร่าง และยังต้องปรับปรุงอีกหลายครั้ง แต่การจะช่วยลดอุณหภูมิโลกเราต้องเริ่มที่เราก่อนหากเราไม่เริ่มก็ไม่มีใครช่วยเราได้

อนาคตจะมีภาษีคาร์บอน แต่ไม่ได้ออกจากกรมโลกร้อนนะครับ กรมโลกร้อนจะช่วยจัดเตรียมเรื่องของเทคนิคให้

ตอนนี้เราจะได้เห็นว่า ภาครัฐฯกำลังทำอะไร ภาครัฐพร้อมรับฟัง พร้อมขับเคลื่อนกับทุกภาคส่วนด้วยกลไกเครื่องมือใหม่ ด้วยพรบ.การเปลี่ยนแปลงสภาพถูมิอากาศ และหลังปี 2030 พรบ.ฉบับนี้จะมีความจำเป็นอย่างมากในการใช้ขับเคลื่อนความยั่งยืน

\"ดร.พิรุณ\" ชี้อนาคตภัยพิบัติจากโลกร้อนจะมาแบบไม่คาดคิดอีกมาก