posttoday

"ภูมิธรรม" แนะไทยคิดนอกกรอบ ปรับทัพธุรกิจ-สร้างแต้มต่อ มุ่ง ESG

12 กุมภาพันธ์ 2567

“ภูมิธรรม” ย้ำภาคธุรกิจไทย เร่งปรับตัวให้ทันกติกาการค้าโลกใหม่ เดินหน้าธุรกิจสีเขียวสร้างความยั่งยืน หนุนโอกาสทางการค้า ดันไทยนั่งเบอร์1 ในอาเซียน

นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวปาฐกถาในงานสัมมนา “PostToday Thailand Economic Drive 2024 ฝ่ามรสุมเศรษฐกิจปี 2567” จัดโดยสำนักข่าว Posttoday ว่า สถานการณ์โลกทุกวันนี้ มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วมาก และการเปลี่ยนของโลกได้สร้างกฎระเบียบโลกใหม่ ทำให้ทุกประเทศต้องปรับเปลี่ยนตามสถานการณ์ นอกจากนี้ประชาชนผู้บริโภคในแต่ละประเทศก็เป็นตัวกำหนดความต้องการสินค้าเช่นกัน เช่น หากสินค้าที่นำเข้าเป็นสินค้าไม่มีความเป็นธรรม สร้างความเหลื่อมล้ำ สินค้าทำลายป่าก็ไม่ซื้อสินค้าเหล่านั้น เนื่องจากปัจจุบันผู้ซื้อแต่ละประเทศไทยได้ดูถึงแหล่งที่มาของแหล่งที่มาของสินค้า ซึ่งจากนี้กติกาเหล่านี้ถือเป็นความยากลำบาก และเป็นความท้าทายใหม่ทางการค้า นอกเหนือความเสี่ยงต่างๆของโลก

 

ทั้งใน ปี 2567 กระทรวงคลังคาดว่า เศรษฐกิจไทยปี 2566 จะขยายตัวอยู่ที่ 1.8% ต่อปี ชะลอลงจากปี 2565 ที่ขยายตัว 2.6% และคาดว่าปี 2567 ขยายตัวที่ 2.8% โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการส่งออกของไทยที่จะกลับมาขยายตัว รวมทั้งการบริโภคในประเทศ การลงทุน และการท่องเที่ยวที่ฟื้นตัว อย่างไรก็ตาม ยังมีความเสี่ยงด้านภูมิศาสตร์ ที่ยังต้องจับตาอย่างใกล้ชิด รวมทั้งปัญหาความผันผวนของเศรษฐกิจโลก 

 

อย่างไรก็ตาม แนะนำให้ผู้ประกอบการติดตามสถานการณ์โลกต้องติดตามอย่างสม่ำเสมอ จะเห็นได้ว่าสถานการณ์มีความเปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา เช่น อยู่ดีคืนดีรัฐเซียก็ยกทัพไปตีกับยูเครน  หรือ สงครามครามฮามาสก็เกิดขึ้น ซึ่งสร้างผลกระเทือนต่อเศรษฐกิจทั่วโลก หรือ อยู่ดีๆก็ทะเลแดงปิดไม่มีใครกล้าเข้ามา ส่งผลให้ค่าระวางเรือพุ่งสูงขึ้น ทำให้ก็เกิดปัญหาไปหมด

 

นอกจากนี้เศรษฐกิจประเทศคู่ค้าที่สำคัญของไทยชะลอตัวไปมาก ไม่ว่าประเทศสหรัฐ และญี่ปุ่น ขณะที่เศรษฐกิจจีน ยังมีปัญหาเรื่องภาคอสังริมทรัพย์ ซึ่งเศรษฐกิจไทยต้องพึ่งพาการส่งออก และภาคท่องเที่ยว ซึ่งนักท่องเที่ยวที่จะเข้ามาหรือไม่ ล้วนแต่เป็นปัจจัยที่เกิดขึ้นได้

 

นายภูมิธรรม ยังย้ำด้วยว่า วันนี้ศรษฐกิจไทยตอนนี้ยังไม่ดีขึ้น แม้ที่ผ่านมาเศรษฐกิจแนวโน้มคลายปมไปปลายอย่าง เช่น เรามีรัฐบาลจากการเลือกตั้ง ขณะที่ความขัดแย้งระหว่างสีเสื้อ ได้หยุดลงชั่วคราวหรือถาวร ถือว่าดีขึ้นเยอะ แต่ยังมีปัจจัยทางภูมิศาสตร์ และเศรษฐกิจโลกชะลอตัว และผันผวน ก็มีปัญหาที่ทำให้เราต้องคิดเยอะมากขึ้น ซึ่งการทำธุรกิจจะดูปัจจัยใดปัจจัยเดียวไม่ได้ ขณะที่กระทรวงการคลังมองแบบนี้ ธนาคารโลกก็มองอีกแบบ สะท้อนว่าทุกอย่างผันผวนได้ แสดงว่า เราจะดำเนินธุรกิจต้องเห็นครบทุกด้าน 

 

“หัวใจหลักสำคัญจะต้องขับเคลื่อนโดยดูปัจจัยรอบด้าน และเราสามารถควบคุมปัจจัยต่างๆเหล่านี้ได้ ซึ่งเราต้องคิดใหม่ๆ ถ้าคิดแบบเดินผลลัพธ์ก็จะออกมาเหมือนเดิม ถ้าวันนี้ไม่กล้าเปลี่ยนแปลงอะไร 9 ปี ที่เศรษฐกิจแย่อย่างไร ก็ยังแย่เหมือนเดิม แต่ถ้าเราคิดใหม่ แต่ก็มีโอกาสที่ผลลัพธ์จะออกมาเป็นแบบใหม่ได้ เพราะคิดที่แตกต่างไปจากสิ่งที่เป็นอยู่ ” นายภูมิธรรม กล่าว
 

นอกจากสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจต่างๆแล้ว ปัจจัยที่จะมาเปลี่ยนแปลงระเบียบโลกใหม่ที่สำคัญ คือ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เกิดภัยธรรมชาติ น้ำท่วม น้ำแล้ง หรือปรากฎการณ์เอลนีโญ ที่กำลังจะมาจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะเป็นตัวกำหนดกฎระเบียบโลกครั้งใหม่อย่างมีนัยยะสำคัญ

 

ทั้งนี้ เดือนก.ค.ปี 2566 องค์การสหประชาชาติเตือนว่า ยุคโลกร้อนกำลังสิ้นสุดลงแล้ว อาจฟังดูดี แต่ยุคโลกเดือดได้เริ่มขึ้นแล้ว แสดงว่ามีอะไรเปลี่ยนแปลงมาขนาดยูเอ็นยังออกมาเตือน ซึ่งจะเป็นตัวกำหนดอะไรหลายๆ องค์กรระดับโลกพยามเน้นย้ำเรื่องการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศโลก โดยโลกได้ตั้งเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net zero) ในปี 2593 เพื่อเป็นตัวกำหนดระเบียบการค้าโลก ทั้งการผลิต และการส่งออก ซึ่งจะเป็นปัญหาสำคัญต่อการส่งออก

 

ซึ่งการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิภาพอากาศได้กระทบต่อการเปลี่ยนแปลงทางสภาพเศรษฐกิจ และสังคมอย่างมาก ซึ่งโลกอาจคิดว่า “ความยั่งยืน หรือ ESG” จะเป็นทางออกเดียวในขณะนี้ ดังนั้นความยั่งยืนจึงกลายเป็นกติกาสากลโลกจำเป็นต่อทุกประเทศ ดังนั้นการคิด การปลูก การผลิต ส่งออก ของเราได้ตอบโจทย์ความยั่งยืนโลกได้หรือไม่ หรือยังทำเหมือนเดิม โลกก็จะเปลี่ยนจากร้อนเป็นเดือด ดังนั้นเป้าหมายในการพัฒนาปัจจุบันจึงเน้นด้วยความยั่งยืน เป็นการกรอบในการพัฒนาโลกไม่เปลี่ยนแปลงตั้งแต่ปีนี้เป็นต้นไป สิ่งที่เห็นได้ชัดระเบียบแต่ละประเทศในการค้าขาย


 
สหภาพยุโรป ได้กำหนด “นโยบายยูโรเปียน กรีน ดีล (European Green Deal)” คือ การกำหนดบังคับใช้กับสมาชิก 27 ประเทศ มีแนวปฏิบัติจัดการในเรื่องของสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง climate change ซึ่งจะกำหนดเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงให้ได้ 55% ในปี 2030 และให้กลายเป็นศูนย์ในปี 2050 เช่น ต้องปลูกต้นไม้ เพิ่มให้ได้ 1 ล้านต้น และกำหนดให้ใช้พลังงานแสงอาทิตย์เพิ่มเป็น 4 เท่า หรือ ประเทศเกาหลีใต้กำหนด มุ่งสู่สังคมคาร์บอนต่ำ หรือแนวโน้มสู่การใช้รถยนต์พลังงานไฟฟ้า และลดพลังงานไฮโดรเจนมากขึ้น ขณะที่สิงคโปร์ มีแผนสิงคโปร์สีเขียว ซึ่งทั้งหมดเป็นไปตามเทรนด์โลก ซึ่งจะกำหนดให้เป็นกติกาสากลการค้าใหม่ของโลกที่กำหนดเกฎณ์การค้าขายกับเราอย่างแน่นอน 

 

“ถ้าวันนี้เรามองเห็น และเราปรับตัว เราจะมีแต้มต่อ ถ้าไม่เข้าใจ และไม่ปรับตัวก็จะเป็นภาระ สุดท้ายก็จะมีปัญหา เช่น บอกให้ชาวไร่อ้อยเปลี่ยนจากการเผ่าอ้อนเป็นการตัดสด รัฐบาลจะช่วยดูแล ซึ่งปี หนึ่งรัฐบาลช่วยไปแล้ว 7 พันล้านบาท เพื่อให้เขาเปลี่ยนแปลงวิธีการผลิต ถ้าผลผลิตออกมาเขาก็ไม่ซื้อคุณ ถ้าปรับตั้งแต่วันนี้ หลายประเทศมีปัญหาคุณก็จะครองตลาดได้ วันนี้เราต้องดูแลการเรื่องผลิต เพื่อเตรียมตัวเข้าไปสู่ระเบียบโลกการส่งออกใหม่รองรับ ” นายภูมิธรรมกล่าว

 

สิ่งที่สำคัญกว่า ในเมื่อเราเป็นประเทศที่เผชิญกฎระเบียบโลกใหม่ เราจะใช้นโยบายความยั่งยืนให้บรรลุเป้าหมายได้อย่างไร ซึ่งรัฐบาลมีความชัดเจน ได้ประกาศเป้าหมายจะเดินไปในกรอบเป้าหมายของโลก คือ ประกาศเดินหน้าสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี 2050 หรือ ปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ภายในปี 2065 

 

“รัฐบาลภายใต้การนำของนายเศรษฐา ทวิสิน นายกรัฐมนตรี และรมว.คลัง มุ่งมั่นให้ไทยบรรลุเป้าหมาย Sustainable Development Goals (SDGs) ในทุกมิติ ถ้าปรับตัวได้เราก็จะมีโอกาสทางการค้า โดยประกาศให้เราเป็นอันดับ1 ในอาเซียให้ได้ ซึ่งจะทำให้นักลงทุนเห็นว่าไทยให้ความสนใจในเรื่องนี้ ซึ่งจะสร้างแต้มให้นักลงทุนเข้ามาลงทุนในประเทศไทยมากขึ้น” นายภูมิธรรมกล่าว

 

ในการประชุมที่ดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรต์ (UAE) COP28 ในเดือนธ.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งรัฐบาลได้กล่าวถ้อยแถลงในการประชุม 3 ประเด็นสำคัญ คือ ไทยจะปรับปรุงแผนการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ครอบคลุมทุกภาคส่วนเศรษฐกิจ โดยจะปรับเปลี่ยนระบบนิเวศเศรษฐกิจให้รองรับการเปลี่ยนแปลงที่นำนึงถึงประชาชนทุกภาคส่วน 2.เร่งผลักดันพ.ร.บ.การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ เพื่อเป็นเครื่องมือในการกำกับดูแลการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และเพิ่มขีดความสามารถการปรับตัว และ3. ไทยมีแผนการปรับตัวต่อการสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ เป็นกรอบในการสร้างภูมิคุ้มกันอย่างยั่งยืนของประชาชน ซึ่งเป็นสิ่งที่รัฐบาลไทยได้ประกาศต่อโลกไปแล้ว

 

ทั้งนี้ ย้ำว่าภาคการเกษตร เราได้ให้ความสำคัญต่อการปรับตัว นอกจากอ้อย สินค้าข้าว ก็ต้องปรับตัว เพราะเราปลูกข้ามากที่สุดซึ่งอาจเกิดปัญหา ซึ่งโรงงาน ภาคการผลิตทั้งหมด ก็ต้องกลับมาดูเรื่องพลังงานสะอาด พลังงานทดแทน พลังงานสีเขียน พลังงานยั่งยืน ถ้าเปลี่ยนจะดึงดูการขายสินค้าในโลกได้มากขึ้น ถ้าไม่เปลี่ยนก็ขายไม่ได้ ถึงที่สุดก็ไม่สามารถส่งออกได้เพราะมีมีคนซื้อ

 

ดังนั้น ไม่ต้องแปลกใจเรื่องเห็นยานยนต์ การตั้งกองทุนเพื่อความยั่งยืน เพราะแนวคิดนำไปสู่การฎิบัติเพราะแนวโน้มไปทางนี้หมด นอกจากนี้มีการจัดการแสดงสินค้าสีเขียวเพื่อความยั่งยืนมากขึ้น เราส่งเสริมให้ผู้ประกอบการไปดูเพื่อความเข้าใจและรับรู้เพื่อนำไปสู่การปรับตัว และขณะนี้กระทรวงพาณิชย์ได้ตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อพัฒนาการค้าตามระเบียบการค้าโลกใหม่ ทุกอย่างกำลังเปลี่ยน จะเห็นว่าก่อนหน้านี้เรามีห้างสรรพสินค้า ทำให้โชห่วยตายหมด และวันนี้เรามีอีคอมเมิร์ซ ห้างสรรพสินค้าก็เริ่มได้รับความเดือดร้อนแล้ว เพราะ 15 นาทีอีคอมเมิร์ซขายของได้เป็น 50 ล้าน 100 ล้านบาท ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่น่าเชื่อ

 

นายภูมิธรรมกล่าวต่อว่า เตรียมดึง น้องมาย-น้องอาโป เป็น Influencers เพื่อช่วยโปรโมตสินค้าไทยผ่านตลาดอีคอมเมิร์ซ ในงานเทศกาล Pride Month ซึ่งกลุ่มนี้มีกำลังซื้อสูง นอกจากจะดึงผู้คนทั่วโลกแล้ว ยังจะเป็นการสร้างมิติใหม่ในการค้าขายของไทยด้วย ซึ่งจากนี้ไปเตรียมจัดการส่งเสริมการขายสินค้าไทยทั่วโลก โดยจะนำ Influencers มาช่วยโปรโมตสินค้าไทยประมาณ 10 วัน อีกด้วย โดยตั้งเป้าจำหน่ายสินค้าได้อย่างน้อยราว 3,000 ล้านบาทภายในไม่กี่เดือน ถ้าโมเดนี้เกิดจะเป็นโรลโมเดลที่ให้เราสามารถก้าวเข้าสู่ตลาดอีคอมเมิร์ซใหม่