เรื่อง ธนาคารเกียรตินาคิน
ครั้งนี้จะมาขอแชร์ข้อมูลสำหรับผู้ประกอบการที่จะขอสินเชื่อครับ มีท่านใดเคยเดินไปคุยกับแบงก์เพื่อขอสินเชื่อพร้อมเสนอหลักประกันจำนวนมาก (มากกว่าวงเงินที่จะขอ) แต่แบงก์ยังปฏิเสธการให้สินเชื่อ หรือในทางกลับกันถ้าท่านสมมติตัวเองเป็นเจ้าหน้าที่สินเชื่อ
เวลามีลูกค้ามาขอสินเชื่อสัก 20 ล้านบาท แล้วเสนอหลักประกัน อาจเป็นที่ดิน หรือที่ดินพร้อมอาคาร มูลค่าอย่างน้อย 40 ล้านบาท เคสนี้ยังไงก็ผ่านแน่ๆ หรือไม่ครับ จริงๆ คือ ไม่แน่เสมอไป เราอาจจะเข้าใจแบงก์ไม่ครบทุกเรื่อง
ข้อแรก แบงก์หรือเจ้าหน้าที่วิเคราะห์สินเชื่อ ต่างต้องดูก่อนว่า ลูกค้าที่ว่าท่านนี้เป็นใคร มาจากไหน ทำธุรกิจอะไร มีประสบการณ์ในธุรกิจนั้นๆ หรือไม่
ข้อที่ 2 แบงก์ต้องดูต่อว่า เงินที่จะขอสินเชื่อครั้งนี้จะนำไปทำอะไร เหมาะสมหรือไม่ สอดคล้องกับนโยบายการให้สินเชื่อของธนาคาร สอดคล้องกับธุรกิจที่ลูกค้าดำเนินอยู่ และเรื่องที่สำคัญที่สุด คือ เงินที่ให้ไปสามารถทำให้ก่อเกิดโอกาสในการที่จะได้เงินกลับมาชำระหนี้ ที่ให้สินเชื่อไปครั้งนี้หรือไม่
ข้อที่ 3 แบงก์ต้องดูต่อไปอีกว่า ธุรกิจที่ลูกค้าจะทำนั้น มีความเป็นไปได้ ทั้งด้านการตลาด ด้านการเงิน ด้านศักยภาพในการแข่งขันกับคู่แข่งหรือไม่ ซึ่งข้อนี้สำคัญที่สุดในการอนุมัติสินเชื่อ
ถ้าธุรกิจที่ท่านจะขอสินเชื่อนั้น ดูดี สินค้าดูน่าสนใจ โอกาสในการแข่งขันสูง ไม่มีปัญหาในการจัดหาวัตถุดิบ ไม่มีปัญหาในการขออนุญาตต่อหน่วยงานราชการ ไม่มีปัญหาในการผลิต ไม่มีปัญหาในการส่งมอบ และไม่มีปัญหาด้านฤดูกาล (พวกสินค้าเกษตร) โครงสร้างต้นทุนเหมาะสม สรุปได้ว่า “ลูกค้าท่านนี้ ทำธุรกิจแบบนี้ แล้วจะมีโอกาสทำได้สำเร็จ มีความสามารถคืนเงินกู้ธนาคารได้แค่ไหน”
3 ข้อนี้ ต้องผ่านก่อน ถ้าผ่านฉลุย ก็แทบไม่ต้องคิดถึงข้อที่ 4 คือ เรื่องหลักประกัน
หลักประกัน ในมุมของการให้สินเชื่อ ครูด้านสินเชื่อเขาจะเรียกว่าคือ Second Source Of Repayment แปลว่าแผนสำรองของแหล่งที่มาของการชำระคืนเงินกู้ ซึ่งแน่นอนไม่ใช่แหล่งหลัก แบงก์เป็นธุรกิจตัวกลางในการบริหารความเสี่ยงในการบริหารทั้งเงินฝากและสินเชื่อ การปล่อยสินเชื่อแล้วมีหนี้เสียจะทำให้เกิดต้นทุนต่างๆ มากมาย รวมถึงความน่าเชื่อถือในระบบการบริหารงาน
ฉะนั้น การให้สินเชื่อบางประเภทต้องพึ่งพาหลักประกันเป็นหลัก หรือเรียกกันว่า Project Finance ก็เพราะหลักประกันจะเป็นตัวที่จะทำให้เกิดรายได้มาชำระหนี้ ไม่ว่าจะจากการขาย หรือการเช่าก็ตาม นอกจากนี้ ธนาคารจะต้องขอดูทำเล รูปแบบ ราคาขาย บางทีรวมไปถึงฝีมือทีมงาน ไม่ว่าจะขายหรือทีมงานการก่อสร้างก็ตาม
ยังมีความซับซ้อนอีกมากมายในคำว่าหลักประกันของธนาคาร ทั้งเรื่องสภาพคล่อง มูลค่าบังคับขาย น้ำหนักที่สามารถนำมาใช้ในการคำนวณสำรองการปล่อยกู้ของธนาคาร ระยะเวลาที่ใช้ และกระบวนการที่ใช้ในการนำหลักประกันมาป้องกันความเสี่ยง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อธนาคารต้องเปลี่ยนหลักบัญชีให้ทันสมัยขึ้นเรื่อยๆ ครับ
กฎกติกามารยาทบ้านลอยฟ้า
วันที่ 20 ก.พ. 2561
'พฤกษา' จัดทัพใหม่ รักษาแชมป์ทาวน์เฮาส์
วันที่ 21 ก.พ. 2561
ตลาดคอนโดแข่งเดือด สร้างจุดต่างชิงกำลังซื้อ
วันที่ 19 ก.พ. 2561
อสังหาริมทรัพย์สะท้อนเศรษฐกิจประเทศ
วันที่ 19 ก.พ. 2561
‘เอเพ็กซ์’เจาะนักลงทุน ลุยอสังหาเมืองท่องเที่ยว
วันที่ 15 ก.พ. 2561