posttoday

'ชูรัชฏ์ ชาครกุล' บิ๊ก ลลิล พร็อพเพอร์ตี้ มองอสังหาฯหลังโควิด ผู้บริโภคกำหนดเทรนด์ที่อยู่อาศัย

13 กันยายน 2564

ผู้บริโภคมีความเป็นห่วงเรื่องสุขอนามัยมากขึ้น ด้วยอาคารชุดเหล่านี้จะมีการใช้พื้นที่่ส่วนกลางร่วมกัน (คอมมอน แอเรีย) ทำให้เห็นเทรนด์ในช่วงที่ผ่านมา คือ ลูกค้า หันกลับไปเลือกซื้อสินค้า แนวราบ

การแพร่ระบาดโควิด-19 ในช่วงปีที่ผ่านมา 'อสังหาริมทรัพย์' เป็นอีก หนึ่งเซ็คเตอร์ที่ได้รับผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลงของความต้อง การที่อยู่อาศัยเข้าใหม่ที่เข้าสู่ตลาดใหม่ในช่วงครึ่งแรกของปี 2564 ที่ ลดลงไปกว่า 32 % มีมูลค่า 118,667 ล้านบาท ลดลง 37.3% เมื่อ เทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2563 (ข้อมูลศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ (REIC))

ขณะที่ 'ชูรัชฏ์ ชาครกุล' กรรมการผู้จัดการ บริษัท ลลิล พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) อีกหนึ่งผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์รายใหญ่ ให้มุมมองสังหาริมทรัพย์ไทย หลังผ่อนคลายล็อคดาวน์ และแนวโน้มความต้องการที่อยู่อาศัยของผู้บริโภคในยุค Next Normal

'ชูรัชฏ์ ชาครกุล' บิ๊ก ลลิล พร็อพเพอร์ตี้ มองอสังหาฯหลังโควิด ผู้บริโภคกำหนดเทรนด์ที่อยู่อาศัย

"พื้นที่ส่วนตัว" ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ลูกค้าหลังโควิด 

ชูรัชฏ์ บอกว่า ผลกระทบโควิด-19 ต่อตลาดอสังหาริมทรัพย์ของไทย เห็นได้ชัดเจนในด้านไลฟ์สไตล์ลูกค้า จากผลพวงเศรษฐกิจ ทั้งการ ล็อคดาวน์ ปิดสนามบิน ไปจนถึงธุรกิจภาคบริการต่างๆ ล้วนทำให้ ฐานะการเงินผู้บริโภคอ่อนแอลง และกระทบถึงกลุ่มลูกค้าอสังหาฯ ด้วยในภาคธุรกิจบริหารเหล่านี้จะมีผู้ประกอบการเอสเอ็มอีต่างๆ มีรายได้ลดลงถึงหายไปเลย จากการที่ต้องปิดกิจการ ซึ่งรวมไปถึงผู้บริโภคทั่วไป จากสัดส่วนหนี้่ครัวเรือนล่าสุดอยู่ที่ 90% แน่นอนว่าทำ ให้ลูกค้ามีวิถีการใช้ชีวิตเปลี่ยนไป

ซึ่งการแพร่ระบาดของโควิดยังจะเห็นได้ชัดในกลุ่มสินค้าอาคารชุดที่ได้รับผลกระทบด้วยผู้บริโภคมีความเป็นห่วงเรื่องสุขอนามัยมากขึ้น ด้วย อาคารชุดเหล่านี้จะมีการใช้พื้นที่่ส่วนกลางร่วมกัน (คอมมอน แอเรีย) ทำให้เห็นเทรนด์ในช่วงที่ผ่านมา คือ ลูกค้า หันกลับไปเลือกซื้อสินค้า แนวราบ อย่างบ้านแฝด ทาวน์โฮม ที่วางแนวคิดการออกแบบฟังค์ชัน ใหม่ๆ เพื่อรองรับไลฟ์สไตล์ผู้บริโภคที่ต้องการความสะดวก มีพื้นที่การ ใช้ชีวิตมากขึ้น

ชูรัชฏ์ กล่าวว่า "ต่างจากเมื่อราว 4-5 ปีก่อนที่เป็นเทรนด์ของ แชริง อีโค โนมี ที่แบ่งปันการใช้บริการจนเกิดเป็นธุรกิจต่างๆ ทั้งที่พักอาศัย การ ขนส่งเดินทาง แต่เมื่อโควิด เข้ามาผู้คนก็เป็นห่วงเรื่องสุขอนามัยมากขึ้น เป็นปัจจัยหยนึ่งที่ทำให้่ลูกค้าปรับมาสนใจที่อยู่อาศัยแนวราบ และแน่นอนว่ากระทบกำลังซื้อในกลุ่มคอนโด ที่หายไปค่อนข้างชัดเจน โดย เฉพาะกลุ่มคอนโด ที่พึ่งพาลูกค้าต่างประเทศหลักๆ แต่ไม่สามารถ เคลื่อนย้ายหรือเดินทางได้ในขณะนี้"

'ชูรัชฏ์ ชาครกุล' บิ๊ก ลลิล พร็อพเพอร์ตี้ มองอสังหาฯหลังโควิด ผู้บริโภคกำหนดเทรนด์ที่อยู่อาศัย

'ชูรัชฏ์ ชาครกุล' บิ๊ก ลลิล พร็อพเพอร์ตี้ มองอสังหาฯหลังโควิด ผู้บริโภคกำหนดเทรนด์ที่อยู่อาศัย

ลลิลฯขยับรับความต้องการหลักผู้บริโภค 

จากแนวโน้มที่เกิดขึ้น ในส่วนของ ลลิลฯ เองก็ได้ปรับตัวหลายส่วน เพื่อรองรับในทุกสถานการณ์ที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะด้านผลิตภัณฑ์เพื่อให้ตอบโจทย์ผู้บริโภคที่เริ่มมีไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตเปลี่ยนไป จากการ เวิร์ค ฟอร์ม โฮม อยู่ทำงานที่บ้านมากขึ้น และเริ่มมีความต้องการ 'เฟล็กซิ เบิล รูม' ที่นำมาปรับใช้เพื่อรองรับความต้องการด้านต่างๆของสมาขิกครอบครัว อย่างทำเป็นห้องทำงานของคุณพ่อคุณแม่ ห้องเรียนออนไลน์ ของลูก เป็นต้น รวมถึงจุดเชื่อมต่อไวไฟ อินเทอร์เน็ตที่ต้องไม่อับสัญญาณ

นอจากนี้ ลลิลฯยังได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงานภายในองค์กร ทั้งในส่วนหน้างานและหลังบ้าน เพื่อเพิ่มความเชื่อมั่น ความปลอดภัย ด้านสุขอนามัยให้กับลูกค้า ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ที่เข้ามาเยี่ยมชมโครงการทั้งแบบออนไซต์ และ เวอร์ชวล ทัวร์ ซึ่งอย่างหลังมีสัดส่วนราว 20% ที่สนใจเยี่ยมชมโครงการฯลักษณะนี้ แล้ว 

ชูรัชฏ์ กล่าวว่าจากข้างต้นเป็นเพียงส่วนหนึ่งที่ ลลิลฯ ต้องปรับรูปแบบการ ดำเนินธุรกิจเพื่อรองรับลูกค้าในยุค Next Normal ซึ่งยังจะมีทั้งเรื่อง ของตัวองค์กร การฝึกอบรมภายในของพนักงานเกือบในทุกตำแหน่ง เพื่อให้ตอบโจทย์ความต้องการไลฟ์สไตล์ใหม่ๆ ของลูกค้ายุคใหม่ อย่างที่กล่าวไว้ข้างต้น

โดยยังจะสอดคล้องกับแผนธุรกิจในปีหน้า (2565) ของลลิลฯ ที่ทำมา อย่างต่อเนื่องจากปี2564 นี้ จากการรับฟังความต้องการของลูกค้า ที่นำมาใช้เป็นโจทย์หลัก ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์แบบบ้านต่างๆ

"ลูกค้า จะเป็นผู้ตอบเราในเรื่องนี้ ดังนั้นองค์กรจะต้องมีความยืดหยุ่นในการทำงาน และจะต้องดูว่ามีเทรนด์ใหม่อะไร เพื่อตอบโจทย์ให้ทัน ซึ่งเราต้องเปิดใจรับฟังตลอด เพื่อให้ผลิตภัณฑ์ครองใจลูกค้า ด้วยตลอดระยะเวลาที่ผ่านมากว่า 35 ปี ของลลิลฯ ถือว่ามีอดีตที่แข็งแรงมาก และจากนี้ไปได้มีการปรับตัวเพื่อก้าวไปข้างหน้า โดยไม่ทิ้งคอร์แวลู ซึ่งเป็น มอตโตของลลิลฯ คือ บ้านที่ปลูกบนความตั้งใจที่ดี ที่มาจากความใส่ใจที่จะเลือกที่อยู่อาศัยให้ลูกค้า เพื่อส่งมอบผลิตภัณฑ์บ้านในฝันให้กับลูกค้า" ชูรัชฏ์ กล่าว

35 ปี ลลิล สู่ 'ลลิล เดอะ เน็กซ์' 

ชูรัชฏ์ กล่าวว่าในโอกาสที่ลลิลฯ มีอายุครบ 35 ปีและเตรียมเดินหน้าไปสู่ ‘Lalin the NEXT’ ประกอบด้วย หนึ่ง Next Living Experience ตั้งแต่การเลือกที่ตั้งโครงการ การออกแบบ การเลือกสรรวัสดุคุณภาพในการก่อสร้าง และตอบโจทย์ในเรื่องของฟังก์ชัน เพื่อสร้างประสบการณ์ใหม่ในการอยู่อาศัย

สอง Next Dynamic Sustainable ให้ความสำคัญกับหลักการบริหารตามแบบ ESG เพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน คือ Environmental องค์กรที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม การเลือกใช้ Eco Friendly material ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อประหยัดพลังงาน Social การเป็นส่วนหนึ่งของสังคม สร้างคุณค่าเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี ในด้านต่างๆ และ Governance บริษัทที่ดำเนินธุรกิจด้วยความยุติธรรมและความโปร่งใส เพื่อให้การบริหารงานเป็นไปตามการแข่งขันในกลไกของตลาด สร้างผลประกอบการที่ดี

และสาม Next Innovative Co-Creation การให้ความสำคัญของ บุคลากร และการพัฒนาศักยภาพของสมาชิกในองค์กรให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี มีการจัดตั้ง Lalin Academy แหล่งความรู้สนับสนุนบุคลากรในการทำงาน มีการ Training อย่างต่อเนื่อง ทั้ง New Skill ,Re-Skill และUp Skill เพื่อเตรียมพร้อมรับทุกการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น เพื่อต่อยอดการทำงานในรูปแบบการตลาด offline สู่ Online เต็มรูปแบบ

ปี'64 ตลาดอสังหาฯเป็นของผู้บริโภค

ชูรัชฏ์ ประเมินตลาดอสังหาฯ ในโค้งสุดท้ายของปี'64 ที่เหลือระยะเวลาอีกราว 3 เดือน โดยมองว่าสถานการณ์โควิด อาจจะคลี่คลาย ด้วยเห็นสัญญารของคลื่น(เวฟ)ลูกที่4 เริ่มอยู่ในช่วงขาลง ทั้งจำนวนผู้ที่ติดเชื้อ การได้รับวัคซีนในพื้นที่สี่ยงสูง อย่าง กทม. ที่กระจายในวงกว้างมากขึ้นเกือบ 90%ในขณะนี้ รวมถึงในจังหวัดที่เป็นยุทธศาสตร์เพื่อให้เศรษฐกิจขับเคลื่อนได้

"ปัจจัยดังกล่าว ทำให้เห็นเทรนด์ว่าภาพรวมเศรษฐกิจน่าจะมีการฟื้นตัวได้ในช่วงไตรมาส3-4 นี้ ซึ่งก็หวังว่าไทยจะสามารถควบคุมโควิดสายพันธู์ เดลต้าได้ และหากคุมตัวเลขได้ในลักษณะนี้ไปได้ต่อเนื่อง ก็เชื่อว่าทิศทางน่าจะดีขึ้น แต่เรายังต้องระมัดระวังในการใช้ชีวิตที่ตั้งอยู่บนความไม่ประมาท และมองว่าหาในใตรมาส4นี้ จะมีวัคซีนเข้ามาได้ตามแผนที่วางไว้ มีการเร่งระดมฉีดเดือนละ 30 ล้านโดส ได้ ก็ถือว่าเป็นอีกหนึ่งโน้มที่ดีต่อภาพรวมประเทศ" ชูรัชฏ์ กล่าว

พร้อมปิดท้ายว่า "จากทิศทางดังกล่าว ยังส่งผลต่อภาพรวมอสังหาฯในปีนี้ ที่มองว่าเป็นปีที่ดีสำหรับลูกค้าที่กำลังจะตัดสินใจเลือกซื้อโครงการฯที่อยู่อาศัย ทั้งในแง่ผู้ประกอบการฯ มีการจัดทำโปรโมชันค่อนข้างดีให้กับลูกค้า รวมถึงดอกเบี้ยก็ยังเป็นใจด้วยเป็นบอตทอม และมองว่าหลังจากนี้ไปในช่วงไตรมาส3 ปีหน้า เป็นต้่นไป ดอกเบี้ยจะเอยู่ในช่วงขาขึ้น รวมถึงมาตรการรัฐที่เข้ามาสนับสนุนการลดค่าโอน-จำนอง ซื้ออบ้าน-คอนโดไม่เกิน 3 ล้าน ที่จะสิ้นสุดไตรมาส3-4 ปีนี้ ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่น่าสนใจเหมาะกับลูกค้าที่มีกำลังซื้่อ และต้องการซื้อที่อยู่อาศัยในขณะนี้" 

 

โดย ดวงใจ จิตต์มงคล