posttoday

อนันดาฯ เปลี่ยนเรื่องร้องเรียนมาเป็นบทเรียน 'งานบริหารนิติบุคคล'

21 กันยายน 2562

ในอดีตเมื่อผู้บริโภคจะตัดสินใจซื้อโครงการที่อยู่อาศัย ปัจจัยอันดับต้นๆมาจาก ทำล และ ตัวโครงการ ขณะที่ปัจจุบัน กลุ่มลูกค้าคนรุ่นใหม่ จะมองเรื่อง ทำเล และ ดีไซน์ ส่วนราคาเป็นเรื่องรองลงมา พร้อมมองต่อไปถึง สังคมการอยู่อาศัย

ในอดีต เมื่อผู้บริโภคจะตัดสินใจซื้อโครงการที่อยู่อาศัยไม่ว่าจะเป็นบ้านหรือคอนโดมีเนียม ปัจจัยอันดับต้นๆมาจาก ทำล และ ผลิตภัณฑ์(ตัวโครงการ) ขณะที่ปัจจุบัน กลุ่มลูกค้าคนรุ่นใหม่ จะมองเรื่อง ทำเล และ ดีไซน์ หรือ การออกแบบ ส่วนราคาเป็นเรื่องรองลงมา พร้อมมองต่อไปถึงสังคมที่อยู่อาศัยที่อยู่ร่วมกันได้อย่างราบรื่น หรือที่เรียกว่า Social Living

โดยเฉพาะแนวโน้มของ Social Update จากเทคโนโลยีที่ได้เข้ามามีบทบาทในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ระหว่างผู้อยู่อาศัยมากขึ้นในอนาคต ซึ่งแน่นอนว่าเป็นปัจจัยสำคัญที่อาจส่งผลกระทบต่อแบรนด์ผลิตภัณฑ์ของผู้พัฒนาโครงการฯ แต่ละแห่ง

ขณะที่ บริษัท อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) ผู้พัฒนาตลาดคอนโดมีเนียมจำนวน 4 แบรนด์ คือ ASHTON, IDEO, Q, ALIO และ IDEO Q และโครงการแนวราบ มานานกว่า 20 ปีถึงปัจจุบัน ได้ต่อยอดแนวคิด Urban Living Solutions สู่ Happy Community เพื่อตอบโจทย์ผู้อยู่อาศัยอนันดาที่มีอยู่กว่า 45 โครงการในปัจจุบัน ได้ในระยะยาว ภายใต้กลยุทธ์ S M A R T

อนันดาฯ เปลี่ยนเรื่องร้องเรียนมาเป็นบทเรียน 'งานบริหารนิติบุคคล' จรัญ เกษร กรรมการผู้จัดการ สตราติจี พร็อพเพอร์ตี แมเนจเมนต์ บริษัทอนันดา ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด

จรัญ เกษร กรรมการผู้จัดการ สตราติจี พร็อพเพอร์ตี แมเนจเมนต์ บริษัทอนันดา ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด กล่าวว่าตลอด20ปีที่ผ่านมา ทุกโครงการฯของอนันดาฯ มีผู้อยู่อาศัยรวมกว่า 100,000 ราย โดยแต่ละ แบรนด์โครงการฯ ของอนันดา บริษัทได้ใช้พันธมิตรที่มีความชำนาญด้านการบริหารนิติบุคคลในแต่ละเซ็กเมนต์เข้ามาดูแล ด้วยมีกลุ่มเป้าหมายที่แตกต่างกันออกไป

อาทิ โครงการ ASHTON ได้เจแอลแอล เข้ามาดูแล ส่วนแบรนด์ IDEO จะเป็น แอลพีพี เป็นต้น โดยควบคู่ไปกับ เดอะเวิร์ค ซึ่งเป็นบริษัทในเครืออนันดา ที่จะเข้ามาร่วมกำหนดเคพีไอ เพื่อวัดความพึงพอใจ ของผู้อยู่อาศัยในแต่ละโครงการฯของอนันดา ภายใต้กลยุทธ์ S M A R T โดยเรียงลำดับจากความต้องการหลักของผู้อยู่อาศัย เป็นหลัก ประกอบด้วย

S : Safe and Security ด้านความปลอดภัย

M : Maintenance & Preventive ความสะดวกสบายของการอยู่อ่าศัย เช่น ลิฟต์ ไฟฟ้า น้ำปะปา ที่ต้องพร้อมให้บริการ

A : Affordable Budget งบประมาณ ค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่เหมาะสมคุ้มค่า

R : Real Happy Living ความสุขในการอยู่อาศัย ข้อตกลงการอยู่อาศัยร่วมกัน การมีกิจกรรมร่วมกัน

T : Tribe Ananda สังคมอนันดาฯ เป็นสังคมที่ให้ความสำคัญในการดูแลกัน

โดยสองเรื่องหลังสุดท้าย บริษัทยังจะนำเทคโนโลยีเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ ทั้งเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของผู้อยู่อาศัยรุ่นใหม่ และลดความผิดพลาดอันเกิดจากมนุษย์ ซึ่งในอนาคตบริษัท วางเป้าหมายว่าการบริหารนิติบุคคลภายใต้กลยุทธ์ดังกล่าว ยังจะสามารถลดต้นทุนค่าใช้จ่ายส่วนกลางให้กับผู้อยู่อาศัยด้วยเช่นกัน

ปัจจุบัน ค่าส่วนกลางโครงการฯต่างฯภายใต้บริษัทอนันดาฯ มีอัตราเริ่มต้นตั้งแต่ 40-120 บาทต่อตารางเมตร และมีราคาพื้นที่ขายโครงการฯ เริ่มต้น 60,000-70,000 ต่อตร.ม. ราคาสูงสุดอยู่ที่ประมาณ 200,000++ ต่อตร.ม.

"บริษัทรวบรวมทุกเรื่องร้องเรียนของผู้อยู่อาศัยมาโดยตลอดเกือบ 20 ปีที่ผ่านมา และมองว่าเป็นบทเรียนเพื่อนำมาปรับปรุงการให้บริการภายในพื้นที่ส่วนกลาง หรือ งานบริหารนิติบุคคลในแต่ละโครงการฯ เพื่อสร้างความพึงพอใจและความสุขให้กับผู้อยู่อาศัยได้ในทุกกลุ่ม ซึ่งปัจจุบันมีผู้อยู่อาศัยโทรมายังคอลล์ เซ็นเตอร์ เฉลี่ย 40-50 เรื่องต่อเดือน ซึ่งเรื่องร้องเรียนหลักจะเป็นเรื่องทั่วไป เช่น ระบบสาธารณูปโภค น้ำไฟ และ เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย" จรัญ กล่าว

นอกจากนี้ บริษัทยังได้ลงทุนพัฒนา Command Center ศูนย์ควบคุมสังเกตการณ์จากส่วนกลางขึ้น โดยเริ่มทดลองระบบพร้อมเก็บข้อมูลร่วมกับพันธมิตรผู้บบริหารนิติบุคคลของบริษัท มาตั้งแต่ช่วงต้น ปี2562 ที่ผ่านมา โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการทดลองปฏิบัติการพร้อมรวบรวมฟีดแบ็ค ที่เกิดขึ้น เพื่อนำไปประมวลผลวัดความพึงพอใจให้กับผู้อยู่อาศัยในแต่ละโครการฯ ได้เต็มประสิทธิภาพในอนาคต

โดยวางเป้าหมายระดับความพึงพอใจของผู้อยู่อาศัยเพิ่มขึ้นเป็๋น 83-85% ในปี2563 จากปัจจุบันอยู่ที่ 81.7% ซึ่งสูงขึ้นจากช่วงเดียวกันในปีที่ผ่านมา 2%