posttoday

15 ปี DEmark Award ใบเบิกทางสู่ความสำเร็จของนักออกแบบไทยสู่สากล

19 กันยายน 2565

กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ มอบรางวัลสินค้าไทยที่มีการออกแบบดี ปี 2565 (Design Excellence Award 2022) หรือ รางวัล DEmark เพื่อเป็นเกียรติแก่ผู้ประกอบการและนักออกแบบไทยที่ประสบความสำเร็จด้านการออกแบบดีเด่น ในสาขาต่างๆ

ในปีนี้ จำนวน 90 รายการ และเปิดตัวรางวัลพิเศษ DEmark Grand Prix ในวาระครบรอบ 15 ปีของรางวัล DEmark โดยมอบรางวัลให้กับผลงานที่โด่ดเด่นด้านการออกแบบ 11 รายการ ที่สามารถสะท้อนคุณค่าในหลากหลายมิติทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม เป็นต้นแบบแห่งความสำเร็จของงานออกแบบไทยที่เป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ ยกระดับสินค้าและบริการไทยให้เป็นที่ยอมรับแพร่หลายผ่านเครื่องหมายรับรอง DEmark ใบเบิกทางสู่ธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ

นายภูสิต รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า  “โครงการ DEmark ถือเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนนโยบายของท่านรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ด้านการสนับสนุนผู้ประกอบการไทยสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าและบริการ ผ่านการใช้ความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม เพื่อสร้างขีดความสามารถทางการค้า ตลอดจนให้ความสำคัญในเรื่องการออกแบบที่มีประโยชน์ใช้สอยที่ดี มีความปลอดภัยและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อให้สามารถแข่งขันได้ในตลาดโลกด้วยความพร้อมและความมั่นใจ กรมมีความยินดีที่ได้เห็นความก้าวหน้าและความสำเร็จของผู้ประกอบการ นักออกแบบ เจ้าของผลงานที่ได้รับรางวัล DEmark 2022 และรางวัลพิเศษ DEmark Grand Prix ในปีนี้ ”

ผู้ประกอบการและนักออกแบบผู้ได้รับรางวัล DEmark 2022 ในครั้งนี้ ต่างขอบคุณผู้ที่มีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมและสร้างรางวัลนี้ให้เกิดความสำเร็จขึ้น โดยเฉพาะกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ ที่สนับสนุนโครงการ DEmark มาอย่างต่อเนื่องตลอดระยะเวลา 15 ปี  ส่วนหนึ่งของผู้ได้รับรางวัลในปีนี้ กล่าวถึง ความสำเร็จและผลงานที่ได้รับรางวัลด้วยความภาคภูมิใจ

15 ปี  DEmark Award ใบเบิกทางสู่ความสำเร็จของนักออกแบบไทยสู่สากล

“ห้องสมุดไม่ใช่สถานที่เงียบๆ อีกต่อไป”   น.ส. ทวิตีย์ วัชราภัย เทพาคำ จากบริษัท ดีพาร์ทเม้นท์ ออฟ อาร์คิเทคเจอร์ จำกัด ผู้ออกแบบ ห้องสมุดคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย   (DEmark winner 2020) หนึ่งในผู้ได้รับรางวัล DEmark Grand Prix .ในปีนี้ กล่าวถึงผลงานชิ้นนี้ว่า  “ผลงานที่ได้ออกแบบมานั้น เริ่มต้นมาจากการตั้งคำถามในนิยามของห้องสมุด ว่ามีความหมายอย่างไรได้บ้าง เพราะในยุคปัจจุบันการค้นหาข้อมูลไม่ได้มีอยู่เพียงในห้องสมุดเท่านั้น  จึงเกิดความคิดที่จะ “ขยาย” นิยามซึ่งเราสามารถทำให้เป็นแหล่งเรียนรู้ที่มีมากกว่าหนังสือ เป็นการออกแบบด้วยแนวคิดการผสมผสานประโยชน์ใช้สอย จึง re-design พื้นที่ห้องสมุดให้เป็นพื้นที่บ่มเพาะความคิดสร้างสรรค์ เพื่อให้ผู้คนได้มาพบปะแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เป็น Co-working space มานั่งทำงานกลุ่ม และใช้จัดแสดงกิจกรรมต่างๆ ซึ่งอาจเป็นสถานที่เล็คเชอร์ ติวหนังสือ  หรือชวนกันมาดูหนังก็ได้ อาจส่งผลให้เกิดแรงบันดาลใจจากการเข้ามาทำกิจกรรมในพื้นที่ เราจึงออกแบบให้ ห้องสมุดไม่ใช่สถานที่เงียบๆ อีกต่อไป  เปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต ลบความเชื่อและวัฒนธรรมของการใช้ห้องสมุดแบบเดิมๆออกไป ซึ่งก็ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากนิสิตและบุคคลทั่วไปที่เข้ามาใช้บริการ

15 ปี  DEmark Award ใบเบิกทางสู่ความสำเร็จของนักออกแบบไทยสู่สากล

“สัมผัส”  คือคำตอบ   สำหรับ น.ส. ณัชชา โรจน์วิโรจน์ เจ้าของผลิตภัณฑ์: บริษัท บลิกซ์ พ็อพ จำกัด กล่าวถึงผลงานที่ทำให้ได้รางวัล DEmark Grand Prix ในปีนี้ คือผลงาน ของเล่นสนามจินตนาการ BLIXPOP PLAYGROUND FOR ALL (DEmark winner 2018) เล่าถึงประสบการณ์ที่ตนเองเคยช่วยเป็นอาสาสมัครสอนคนตาบอด ทำให้เข้าใจถึงอารมณ์และความรู้สึกของเด็กๆ ที่สายตาบกพร่อง มองไม่เห็น อยากสนุกกับเครื่องเล่นในสนามเด็กเล่น แต่ไม่สามารถลงเล่นได้ เพราะด้วยความกว้างของพื้นที่ อาจมีอันตรายจากสิ่งที่เด็กๆ มองไม่เห็น สิ่งเหล่านี้สร้างอารมณ์เวิ้งว้างให้เกิดขึ้นกับน้องๆได้  จึงได้ออกแบบสนามเด็กเล่นที่ทุกคนเล่นได้ จุดเด่นคือเน้น “สัมผัส” ที่ใส่ความรู้สึกของสนามหญ้าและผืนดิน ในพื้นที่มีความโค้งมนและมีความปลอดภัย เรานำเอาความสนุกจาก out door  มาใส่ใน in door ช่วยสร้างประสบการณ์ความสนุกให้กับน้องๆที่มองไม่เห็น เป็นความรู้สึกภาคภูมิใจที่เราสามารถทำให้เด็กๆ มีความสุขได้

“สร้อยซ่อนข้อความ” ของขวัญที่มีเพียงชิ้นเดียวในโลก   ด้านรางวัล DEmark  ในสาขา Creative & Innovative Design ปีนี้ น.ส. นฤธนัน ปาละกวงศ์ ณ อยุธยา เจ้าของผลงาน Message Necklace  เล่าถึงจุดเด่นของงานชิ้นนี้ว่า “เป็นผลงานงานดีไซน์ที่ใส่ความคิดสร้างสรรค์ไว้ในตัวเครื่องประดับ ลูกค้าสามารถเลือกข้อความที่ต้องการลงในเครื่องประดับเพื่อสื่อความหมายให้กัน โดยจำกัดตัวอักษรไว้ไม่เกิน 40 ตัวอักษร และมีเพียงชิ้นเดียวในโลกที่ออกแบบเฉพาะสำหรับคนพิเศษ งานแต่ละชิ้นเป็นงานละเอียดที่ต้องสั่งทำและเป็นงาน Hand craft  โดยให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า การออกแบบเครื่องประดับแนวซ่อนข้อความนี้ทำมาหลายแล้วคอลเลคชั่น ทั้งสร้อยข้อมือ แหวน และในปีนี้ออกแบบมาเป็นสร้อยคอ ซึ่งเป็นแนวการออกแบบที่ได้รับความนิยมจากลูกค้าทั้งในและต่างประเทศ  เหมาะสำหรับคู่รักที่จะมอบของขวัญที่มีคุณค่าทางใจให้กัน หรือกลุ่มที่ซื้อของขวัญวันเกิดให้เด็กๆ แทนที่จะซื้อเป็นสร้อยทองธรรมดา ก็มาใส่ข้อความสลัก ชื่อ วันเดือนปี ให้เป็นที่ระลึกได้อย่างดี

สำหรับรางวัล DEmark ในสาขา Industrial & Digital Appliances มีนักออกแบบได้รางวัล 11 รายการ หนึ่งในนั้นเป็นเรื่องของการนำพาธุรกิจทะยานไปกับโลกอนาคตด้วย Brandeverse – Metaverse Technology & Platform for Brand โดย นายณัฐเศรษฐ ไตรทิพย์เจริญชัย CEO Brandverse  กล่าวถึงแรงบันดาลใจในการคิดและทำโครงการนี้ว่า  “เริ่มต้นมาจากความต้องการสร้างแพลตฟอร์มดีๆโดยฝีมือคนไทย ประกอบกับมีเรื่อง Metaverse หรือโลกเสมือนจริง ที่เป็นสิ่งใหม่สำหรับทุกคนเข้ามา ทำให้เรามีโอกาสได้ใช้เทคโนโลยีมาช่วยในการสร้างโอกาสทางธุรกิจโดย Brandverse ซึ่งปัจจุบันนี้มีหลากหลายธุรกิจที่บริหารจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพ Metaverse เป็นตัวช่วยด้านเทคโนโลยีที่จะนำพาธุรกิจเหล่านั้นสู่โลกแห่งอนาคต ซึ่งเราคาดการณ์ว่า การที่เข้ามาในธุรกิจนี้ก่อน ปรับตัวได้ก่อนกับช่องทางการทำธุรกิจในอนาคต เมื่อถึงเวลา เราจะสามารถก้าวไปได้เร็ว เพราะเราได้เตรียมการสำหรับ Boarding to the Future พร้อมบินได้เลย  โดยในปัจจุบันอาจมีอุปสรรคบ้างเนื่องจาก Metaverse เป็นเรื่องใหม่เป็นความท้าทายที่หลายคนยังไม่มีความเข้าใจ และไม่เคยมีประสบการณ์ ดังนั้นหน้าที่ของเรา คือการให้ความรู้กับตลาดอย่างต่อเนื่อง และช่วงนี้เป็น Learning Curve ของการใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ ดังนั้นความท้าทายในเบื้องต้นคือการสร้าง content หรือเนื้อหาในโลก Metaverse ให้มีความหลากหลายเนื่องจากยังไม่มีชุมชนในโลกเสมือนจริงเกิดขึ้นมากนัก เราจึงต้องพยายามสร้างให้เกิดชุมชนในโลกเสมือนจริงนี้ให้มากขึ้น เพราะ Metaverse สามารถสร้างให้เกิดธุรกิจขึ้นได้ ช่วยให้เราสามารถขายของได้ ทำกิจกรรมได้ ประชุมหรือสื่อสารกันได้ เป็นการสร้างประสบการณ์ใหม่ให้กับกิจกรรมทางการตลาดขององค์กร เพื่อความเป็นผู้นำทางธุรกิจในโลกดิจิทัล”            

ในภาพรวมแนวโน้มของสินค้าและการออกแบบไทยมุ่งพัฒนาไปในด้านการออกแบบเพื่อความยั่งยืนที่คำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม (Design for Sustainability) มีการนำเอา Soft Power ของประเทศ เช่น วัฒนธรรมและอัตลักษณ์ไทยมาสร้างจุดเด่นให้กับสินค้า รวมทั้งการนำ Smart Technology มาผสมผสานเพื่อยกระดับมาตรฐานงานออกแบบไปอีกขั้น โดยผลงานการออกแบบไทยที่น่าสนใจที่คว้ารางวัล DEmark ในปีนี้ ได้แก่ รถมอเตอร์ไซต์ EV แบรนด์ Stallions ออกแบบโดย dots studio ผลงานเก้าอี้นั่งพื้น BAI-FERN Chair    แบรนด์โยธกา ที่นำจุดเด่นเทคนิคสานสร้างคุณค่าให้เก้าอี้สำหรับนั่งพื้น ผลงานชุดสมุดและปากกาอัจฉริยะ (ZEQUENZ Smart Set) ที่สามารถส่งข้อความหรือภาพวาดจากสมุดสู่หน้าจอมือถือได้ด้วยเทคโนโลยี Ncode  ผลงานการออกแบบตกแต่งภายในร้านอาหารข้าวใหม่ปลามัน โดย หจก.กรกต อินเตอร์เนชั่นนอล ที่นำเทคนิคการผูกและมัดแบบเงื่อนชาวประมง ใช้แนวคิด BCG ผสานภูมิปัญญาการออกแบบช่วยเหลือชุมชนให้มีอาชีพ ผลงานโปสการ์ดพยัญชนะไทย โดยบริษัท อังกูร ออกแบบ สิ่งของ จำกัด การออกแบบพยัญชนะ 44 ตัว ในรูปแบบโปสการ์ดที่ส่งเสริมความเป็นไทยและส่งออกศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยในรูปของงานดีไซน์ ผลงานบรรจุภัณฑ์นม แบรนด์แดรี่โฮม ที่มีรูปทรงคล้ายเหยือกที่ตั้งได้และสามารถรินนมได้หมดจนหยดสุดท้าย เป็นต้น ทั้งนี้ผู้ที่สนใจสามารถติดตามผลงานของผู้ได้รับรางวัลในปีนี้ ทั้ง 7 ประเภทรางวัล รวม 90 ผลงาน ผ่านเว็บไซต์ demarkaward.net    

สำหรับผู้ได้รับรางวัล DEmark จะได้รับสิทธิประโยชน์มากมาย เช่น สามารถใช้โลโก้ DEmark เครื่องหมายรับรองจากภาครัฐที่ช่วยในการส่งเสริมการขายผลิตภัณฑ์ สร้างการยอมรับแก่ผู้บริโภคในด้านคุณภาพและมาตรฐานการออกแบบสินค้าในระดับสากลได้ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ได้รับการประชาสัมพันธ์ส่งเสริมการขายสินค้าทั้งในและต่างประเทศ ผ่านการโฆษณาในสื่อชั้นนำระดับโลกต่างๆ รวมทั้งนำสินค้าไปจัดแสดงนิทรรศการทั้งในและต่างประเทศ  โดยผู้ที่ได้รับรางวัล DEmark จะได้เข้ารอบ 2 ของการประกวดรางวัล G-Mark ประเทศญี่ปุ่นโดยทันที นอกจากนี้ยังได้รับการประชาสัมพันธ์ส่งเสริมภาพลักษณ์และโอกาสทางการค้าในเวทีสำคัญด้านการออกแบบระดับโลก เช่น งาน Milan Design Week อิตาลี Good Design Show ญี่ปุ่น เป็นต้น

ติดตามข่าวสารผ่านทาง Facebook page: DEmark Thailand และทาง www.demarkaward.net สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สำนักส่งเสริมนวัตกรรมและสร้างมูลค่าเพิ่มเพื่อการค้า กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรงพาณิชย์ โทร 061- 032 6594, 082-954 5965 หรือ 02-507 8278  Email: [email protected]